การพัฒนาความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจโดยใช้สื่อวัฒนธรรมท้องถิ่นตามแนวการอ่านแบบเสริมต่อการเรียนรู้ ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี

Main Article Content

พนาน้อย รอดชู

บทคัดย่อ

          บทความฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจระหว่าง ก่อนเรียนกับหลังเรียน 2) เพื่อศึกษาแรงจูงใจของนักศึกษาที่มีต่อการเรียนการสอนอ่านภาษาอังกฤษโดยใช้สื่อสื่อวัฒนธรรมท้องถิ่นตามแนวการอ่านแบบเสริมต่อการเรียนรู้ เป็นการวิจัยเชิงทดลอง ที่มีกลุ่มทดลองกลุ่มเดียวแบบมีการทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียนกลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาคณะครุศาสตร์ จำนวน 30 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย (Simple random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบทดสอบวัดความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจและแบบสอบถามแรงจูงใจ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบทีแบบไม่อิสระ (t - test for dependent) ผลการวิจัย พบว่านักศึกษามีความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และนักศึกษาที่เรียนด้วยสื่อวัฒนธรรมท้องถิ่นตามแนวการสอนอ่านแบบเสริมต่อการเรียนรู้ มีแรงจูงใจในการเรียนอยู่ในระดับมากทั้งรายด้านและภาพรวมได้แก่ด้านประโยชน์ของการอ่านภาษาอังกฤษ ( gif.latex?\bar{x} = 4.3, S.D = .0.51) ด้านความสนใจ ความตั้งใจและความเอาใจใส่ในการเรียน ( gif.latex?\bar{x} = 4.49, S.D = .0.52) ด้านความมุ่งหวังที่จะประสบความสำเร็จ ( gif.latex?\bar{x} = 4.42, S.D = .0.60) เนื้อหาของการใช้สื่อสื่อวัฒนธรรมท้องถิ่น ประกอบด้วย บทอ่านที่มีเนื้อหา หรือเรื่องราวเกี่ยวกับสื่อวัฒนธรรมท้องถิ่นที่ผู้เรียนเกี่ยวข้อง เนื้อหาประกอบด้วยหัวข้อคือ 1) อาหารประจำท้องถิ่น (Local Foods) 2) ภูมิปัญญาท้องถิ่น (Local Wisdom) 3) สถานที่สำคัญที่น่าสนใจ (Places of interest) 4) วิถีชีวิต (Way of Life) 5) บุคคลสำคัญ (Significant people) 6) เทศกาล (Festival) 7) การแต่งกาย (Costume) 8) ศิลปะการแสดงประจำท้องถิ่น (Southern Show)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เสาวลักษณ์ รัตนวิชช์. (2556). การสอนแบบมุ่งประสบการณ์ภาษา: กลยุทธิ์สู่ความสำเร็จในการพัฒนาการเรียนรู้หนังสือเพื่อปวงชน. กรุงเทพมหานคร: บริษัทสหธรรมิกจำกัด.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2511). การปฎิรูปการเรียนรู้ของกระทรวงศึกษาธิการ. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

พรสุดา นาวารักษ์. (2562). การพัฒนาทักษะการพูดภาษาอังกฤษโดยบูรณาการการสอนภาษาเพื่อการสื่อสารร่วมกับวิดีโอสตรีมมิ่งของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. ใน วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการสอนภาษาอังกฤษเพื่อวิชาการและงานอาชีพ. มหาวิทยาลัยราชภัฎสุราษฎร์ธานี.

ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ. (2538). เทคนิคการวิจัยทางการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์สุวีริยาส์น.

ศรัญญา วาหะรักษ์. (2558). การนำเสนอวัฒนธรรมในหนังสือเรียนภาษาอังกฤษชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายและการรับรู้ของครู. ใน วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษเป็นภาษานาชาติ. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

ศักดิ์ชาย แซ่ลิ้ม. (2562). การพัฒนาทักษะการพูดภาษาอังกฤษโดยบูรณาการการสอนภาษาเพื่อการสื่อสารร่วมกับวิดีโอสตรีมมิ่งของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. ใน วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการสอนภาษาอังกฤษเพื่อวิชาการและงานอาชีพ. มหาวิทยาลัยราชภัฎสุราษฎร์ธานี.

สำนักงานคณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2559). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 - 2579. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

สุวีรยา ทองประดิษฐ์. (2560). กลวิธีการอ่านที่จำเป็น ปัญหา ความต้องการ และความสนใจในการฝึกทักษะการอ่านภาษาอังกฤษโดยใช้เนื้อหาบริบทท้องถิ่น. ใน วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษเป็นภาษานาชาติ. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

Kreishan R. A. & Saidat, A. M. (2011). The effect of religious and culture schemata o Jordanian students, comphrension of English texts. International Journal of Academic Research, 3(4), 339-347.

Lapp, D. & Flood, J. (1986). Teaching Students to Read. New York: Newbury House.

Vygotsky, L.S. (1978). Mind in Society : the Development of Higher Psychological Process. Boston: Harvard University Press.