การบริหารระบบสารสนเทศเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนการสอนของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 2

Main Article Content

ศิวกร หนูนะ
อโนทัย ประสาน
ปรีชา สามัคคี

บทคัดย่อ

           บทความฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษา เปรียบเทียบ และนำเสนอแนวทางในการบริหารระบบสารสนเทศเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนการสอนของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 2 เป็นงานวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหาร และครูผู้ปฏิบัติงานด้านระบบสารสนเทศ จำนวน 246 คน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป โดยการแจกแจงหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐาน คือ วิเคราะห์โดยการทดสอบค่าที (Independent t - test) และวิเคราะห์โดยการทดสอบค่าเอฟ (F - test One Way Analysis) ผลการวิจัยพบว่า 1) การบริหารระบบสารสนเทศเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนการสอนของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 2 โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาในรายด้าน พบว่า การนำข้อมูลไปใช้ มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด 2) การเปรียบเทียบการบริหารระบบสารสนเทศเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนการสอนของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 2 จำแนกตาม ตำแหน่งและระดับการศึกษา โดยรวมและรายด้านมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แต่เมื่อจำแนกตาม ขนาดสถานศึกษา พบว่าไม่แตกต่างกัน 3) แนวทางในการบริหารระบบสารสนเทศเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนการสอนของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 2 ได้เสนอแนวทางคือ สถานศึกษาควรมีการเก็บรวบรวมข้อมูลที่เป็นปัจจุบัน มีการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล มีเครื่องมือที่ใช้ในการประมวลผลข้อมูลและแจ้งผลหลังการประมวลผลข้อมูล และมีการจัดเก็บข้อมูลเป็นหมวดหมู่ การวิเคราะห์ข้อมูลและการนำข้อมูลไปใช้ได้ตรงตามวัตถุประสงค์

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร. (2554). กรอบนโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร 2554. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร.

กิตติศักดิ์ คำผัด. (2553). ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการงานครูที่ปรึกษา กรณีศึกษาวิทยาลัยเทคนิคแพร่. ใน วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ. มหาวิทยาลัยนเรศวร.

จิราวรรณ คุ้มปลี. (2558). การศึกษาปัญหาและแนวทางการพัฒนาการจัดระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารโรงเรียน อำเภอคลองใหญ่ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตราด. ใน วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยบูรพา.

ณรงค์ แก้วกัญญา. (2555). การพัฒนาระบบสารสนเทศงานกิจการนักเรียน โรงเรียนโนนไทย คุรุอุปถัมภ์ อำเภอโนนไทย จังหวัดนครราชสีมา. ใน วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ธนพล สีสุข. (2559). การศึกษาสภาพและปัญหาการจัดการระบบสารสนเทศของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอ่างทอง. ใน วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.

นพพร ย่องใย. (2550). การศึกษาปัญหาและแนวทางการพัฒนาการใช้สารสนเทศทางวิชาการในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นจังหวัดฉะเชิงเทรา. ใน วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยบูรพา.

ปดิวรดา ถาดไธสง. (2559). การบริหารระบบสารสนเทศเพื่อการดำเนินงานของการศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์ เขต 4. ใน วิทยานิพนธ์ครุศาสตร มหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.

พิชิต ฤทธิ์จรูญ. (2554). การวิจัยประเมินผลการจัดการศึกษาขององค์การบริหารส่วนตำบล. วารสารวิชาการบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์, 6(17), 31-42.

ศิรินภา แก้วกำมา. (2557). ปัญหาและแนวทางการพัฒนาการจัดระบบสารสนเทศในโรงเรียนประถมศึกษาในอำเภอสีคิ้ว สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 4. ใน วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยบูรพา.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจังหวัดสุราษฎร์ธานี เขต 2. (2562). แผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ 2562. เรียกใช้เมื่อ 20 มิถุนายน 2562 จาก www.surat2.go.th /data/plan_62.pdf

สุนันทา หาผลดี. (2557). แนวทางการจัดระบบสารสนเทศเพ่อืการบริหารของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 31. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวทิยาลัยราชภัฏสกลนคร, 11(54), 201-211.

Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.

Likert, R. (1967). The human organization. New York: McGraw–Hill.