การพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็กในครอบครัวอุปถัมภ์ถาวร กรณีศึกษา มูลนิธิครอบครัวเฟลิกซ์สุราษฎร์ธานี

Main Article Content

มานะ รุจิระยรรยง

บทคัดย่อ

          บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) คุณภาพชีวิตของเด็กในความดูแลของครอบครัวอุปถัมภ์ถาวร 2) การพัฒนาคุณภาพชีวิตของเด็กในความดูแลของครอบครัวอุปถัมภ์ถาวร การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มประชากรตัวอย่างจากสมาชิกในมูลนิธิครอบครัวเฟลิกซ์สุราษฎร์ธานี จำนวน 7 คน คือ ผู้บริหาร 1 คน พ่อแม่อุปถัมภ์ 3 คน และบุตรอุปถัมภ์ 3 คน โดยใช้ข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึกและการสังเกต   มาวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อสนับสนุนการวิจัยในครั้งนี้ ผลการศึกษาพบว่า เด็กทุกคนที่อาศัยอยู่ในมูลนิธิครอบครัวเฟลิกซ์สุราษฎร์ธานี มีคุณภาพชีวิตในระดับดีมาก มีพัฒนาการที่ดี ทั้งด้านร่างกาย ด้านจิตใจ ด้านสังคมและด้านจิตวิญญาณ มูลนิธิให้ความสำคัญมากกับสุขภาพที่ดีของเด็ก เด็กอาศัยอยู่ในสถานที่ที่เหมาะสม มีสิ่งแวดล้อมที่ดี มูลนิธิมีการวางแผนและ              มีทิศทางที่ถูกต้องในการจัดเตรียมการศึกษาตามมาตรฐานผ่านการตัดสินใจของครอบครัวอุปถัมภ์ถาวรให้กับเด็กทุกคนอย่างเท่าเทียมตามศักยภาพของเด็กแต่ละคน มีการจัดการระดมทุนและสรรหางบประมาณทั้งในและต่างประเทศเพื่อสนับสนุนให้กับเด็กเป็นรายคนผ่านระบบผู้อุปการะ มีบ้านพักที่ดีมากให้อยู่อาศัยโดยไม่มีค่าใช้จ่ายใดใด พ่อแม่อุปถัมภ์ทุกคนตั้งใจทำงานอย่างเต็มความสามารถและด้วยความเสียสละทุ่มเทชีวิตเพื่อเลี้ยงดูบุตรอุปถัมภ์เป็นเสมือนบุตรของตนเอง การนำจริยธรรมคริสเตียนตามพระคริสตธรรมคัมภีร์มาเป็นหลักการในการพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็ก ทำให้เด็กมีความมั่นใจและเป็นแบบอย่างต่อผู้อื่นได้ดี เชื่อฟังบิดามารดา สุภาพอ่อนน้อมและมีความโอบอ้อมอารี

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

คริสเตียนนิวส์. (2560). มูลนิธิครอบครัวเฟลิกซ์เมืองไทย จังหวัดสุราษฎร์ธานี. เรียกใช้เมื่อ 15 พฤษภาคม 2562 จาก https://www.facebook.com/cnsthai

ทิชา ณ นคร และจินตนา นนทะเปารยะ. (2544). ก้าวไปด้วยกัน. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพมหานคร: สหทัยมูลนิธิ.

ทิพย์กวิน ไชยถาวร. (2546). ความสามารถในการปรับตัวของเด็กกำพร้าในครอบครัวอุปถัมภ์ที่มีสัมพันธภาพในครอบครัวแตกต่างกัน: ศึกษาเฉพาะกรณีครอบครัวอุปถัมภ์ ในความดูแลของสำนักงานพัฒนาสังคมและสวัสดิการจังหวัดลำพูน. ใน วิทยานิพนธ์คหกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาคหกรรมศาสตร์. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ปลูก พรมรัตน์. (2545). คุณภาพชีวิตในโรงเรียนของนักเรียน สังกัดกรมสามัญศึกษา ในเขตจังหวัดกาฬสินธุ์. ใน วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ศรีทับทิม พานิชพันธ์. (2528). การให้บริการสวัสดิการสังคมที่มุ่งสู่การพัฒนาสังคม: ศึกษาเฉพาะกรณีงานฝากเลี้ยงตามบ้าน. ใน วิทยานิพนธ์สังคมสงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสังคมสงเคราะห์ศาสตร์. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ศิริ ฮามสุโพธิ์. (2543). ประชากรกับการพัฒนาคุณภาพชีวิต. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพมหานคร: โอ.เอส.พริ้นติ้ง เฮ้าส์.

สมาคมพระคริสตธรรมไทย. (2548). พระคัมภีร์ไบเบิ้ล ฉบับ 1971. (พิมพ์ครั้งที่ 15). กรุงเทพมหานคร: โธมัส เนลสัน จำกัด.

สำราญ จูช่วย. (2554). การพัฒนาคุณภาพชีวิตและสังคม. ใน ตำราเรียนคณะศิลปศาสตร์สาขาวิชาศึกษาทั่วไป. วิทยาลัยราชพฤกษ์.

อภิญญา เวชยชัย. (2527). การศึกษาแนวคิดและการปฏิบัติงานในการให้บริการครอบครัวอุปการะ. ใน วิทยานิพนธ์สังคมสงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาสังคมสงเคราะห์ศาสตร์. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.