การพัฒนาสมรรถนะครูด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุกในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 2

Main Article Content

ยุภาลัย มะลิซ้อน
กาญจน์ เรืองมนตรี

บทคัดย่อ

          บทความฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน และสภาพที่พึงประสงค์ขอการจัดการเรียนรู้เชิงรุกในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคามเขต 2 2) พัฒนาสมรรถนะครูด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุกในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 2 แบ่งเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การศึกษาสภาพปัจจุบัน และสภาพที่พึงประสงค์ของการจัดการเรียนรู้เชิงรุก กลุ่มตัวอย่าง 322 คน ผู้เชี่ยวชาญ 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามสภาพปัจจุบัน และสภาพที่พึงประสงค์ของการจัดการเรียนรู้เชิงรุก ระยะที่ 2 การพัฒนาสมรรถนะครู  ด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุก เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ 2 วงรอบ คือ วงรอบที่ 1 ใช้กลยุทธ์การประชุมเชิงปฏิบัติการและการนิเทศภายใน วงรอบที่ 2 ใช้กลยุทธ์การนิเทศแบบพี่เลี้ยง มีกลุ่มผู้ร่วมศึกษาค้นคว้า 6 คน กลุ่มผู้ให้ข้อมูล 24 คน ผู้เชี่ยวชาญ 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบทดสอบ แบบสัมภาษณ์ แบบประเมิน และแบบสังเกต ผลการวิจัยพบว่า สภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการจัดการเรียนรู้เชิงรุกในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 2 พบว่า สภาพปัจจุบันโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ตามสภาพจริง สภาพที่พึงประสงค์โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ  การออกแบบการเรียนรู้ การพัฒนาสมรรถนะครูด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุก พบว่า ครูมีความรู้ ความเข้าใจด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุก มีความสามารถในการเขียนแผนการเรียนรู้ และสามารถการจัดการเรียนรู้ตามแผนการเรียนรู้เชิงรุกได้ในระดับมาก

Article Details

How to Cite
มะลิซ้อน ย. . ., & เรืองมนตรี ก. . (2020). การพัฒนาสมรรถนะครูด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุกในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 2. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 7(8), 230–243. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JMND/article/view/246263
บท
บทความวิจัย

References

กชภัทร์ สงวนเครือ. (2562). โปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะครูในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกตามแนวทางสะเต็มศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. ใน ดุษฎีนิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาการศึกษา. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

กรองทอง จิรเดชากุล. (2550). คู่มือการนิเทศภายในโรงเรียน. กรุงเทพมหานคร: ธารอักษร.

จันทรานี สงวนนาม. (2544). การฝึกอบรมบุคลากรทางการศึกษา. มหาสารคาม: สาขาวิชาบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

เฉลิมพล สุปัญญาบุตร. (2562). การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะครูด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 24. ใน วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาการศึกษา. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ไชยยศ เรืองสุวรรณ. (2553). Active Learning. กรุงเทพมหานคร: โอเดียนสโตร์.

ทิศนา แขมมณี. (2556). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นนทลี พรธาดาวิทย์. (2559). การจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning. กรุงเทพมหานคร: ทริปเพิ้ลเอ็ดดูเคชั่น.

บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพมหานคร: สุรีวิทยาสาส์น.

วันชัย ธรรมวิเศษ. (2547). การพัฒนาครูด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โรงเรียนบ้านสามหนอง อำเภอโซ่พิสัย จังหวัดหนองคาย. ใน สารนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาการศึกษา. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สถาพร พฤฑฒิกุล. (2555). คุณภาพผู้เรียนเกิดจากกระบวนการเรียนรู้ QUALITY OF STUDENTS DERIVED FROM ACTIVE LEARNING ROCESS. วารสารการบริหารการศึกษามหาวิทยาลัยบูรพา, 3(2), 1–13.

สมเกียรติ ศรีจักรวาล. (2542). การวางแผนและการจัดประชุมทางวิชาการ. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 2. (2562). รายงานผลการปฏิบัติงานการนิเทศการศึกษา ปีการศึกษา 2561. มหาสารคาม: กลุ่มนิเทศติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษา.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545. กรุงเทพมหานคร: พริกหวานกราฟฟิค.

สุนทร ปัญจิต. (2548). การพัฒนาครูด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โรงเรียนนานกชุมวิทยาคม อำเภอวังสามหมอ จังหวัดอุดรธานี. ใน สารนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาการศึกษา. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

องอาจ นัยพัฒน์. (2553). การออกแบบการวิจัย: วิธีเชิงปริมาณ เชิงคุณภาพ และผสมผสานวิธีการ. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อัญชลี ธรรมะวิธีกุล. (2552). เทคนิคการนิเทศการสอนงาน (Coaching). กรุงเทพมหานคร: อักษรบริการ.

อาคม พงษ์อุดม. (2548). การพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โรงเรียนอุดรธานีพิทยาคม อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี. ใน สารนิพนธ์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาการศึกษา. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

อิทธิพล วังคำแหง. (2548). การพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โรงเรียนพิบูลย์รักษ์พิทยา อำเภอพิบูลย์รักษ์ จังหวัดอุดรธานี. ใน สารนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาการศึกษา. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.