การพัฒนาแนวทางการจัดการศึกษาเรียนรวมสำหรับสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 1
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์การจัดการศึกษาเรียนรวมสำหรับสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 1 2) พัฒนาแนวทางการจัดการศึกษาเรียนรวมสำหรับสถานศึกษา สังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 1 กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 391 คน ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 100 คน และครูผู้สอน จำนวน 291 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ (Stratified Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) แบบประเมินความเหมาะสมขององค์ประกอบและตัวชี้วัดการจัดการศึกษาเรียนรวม 2) แบบสอบถามเกี่ยวกับสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการจัดการศึกษาเรียนรวมสำหรับสถานศึกษา 3) แบบสัมภาษณ์สถานศึกษาที่มีวิธีการปฏิบัติที่ดี (Best Practice) ด้านการจัดการศึกษาเรียนรวม 4) แบบบันทึกการสนทนากลุ่ม (Focus Group) 5) แบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของแนวทางการจัดการศึกษาเรียนรวมสำหรับสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 1 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัจจุบันการจัดการศึกษาเรียนรวม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 1 โดยรวมอยู่ในระดับน้อยและสภาพที่พึงประสงค์การจัดการศึกษาเรียนรวมสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 1 โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 2) การพัฒนาแนวทางการจัดการศึกษาเรียนรวมสำหรับสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 1 ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) องค์ประกอบด้านคุณภาพผู้เรียน 2) องค์ประกอบด้านการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน 3) องค์ประกอบด้านการมีส่วนร่วมในการเรียนรวม 4) องค์ประกอบด้านกระบวนการบริหารและการจัดการ และผลการประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของแนวทางการจัดการศึกษาเรียนรวมสำหรับสถานศึกษา พบว่า มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุดและมีความเป็นไปได้อยู่ในระดับมากที่สุด
Article Details
References
ชนิดาภา โสหา. (2560). การพัฒนารูปแบบการจัดการศึกษาแบบเรียนรวมของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 25. ใน วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ชำนาญ ศรีวงษ์. (2560). รูปแบบการบริหารการศึกษาแบบมีส่วนร่วมในโรงเรียนแกนนำเรียนรวม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 1 – 5 โดยประยุกต์ใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง. ใน ดุษฎีนิพนธิ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารจัดการการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพมหานคร: สุรีวิทยาสาส์น.
รดา ธรรมพูนพิสัย. (2556). สภาพปัญหาและแนวทางการจัดการเรียนร่วมในโรงเรียนแกนนําจัดการเรียนร่วมสังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาส. ใน รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา.
ราชบัณฑิตยสถาน. (2555). พจนานุกรมศัพท์ศึกษาศาสตร์ (ฉบับราชบัณฑิตยสถาน). กรุงเทพมหานคร: ราชบัณฑิตยสถาน.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 1. (2562). ข้อมูลสารสนเทศทางการศึกษาประจำปีการศึกษา 2562. เลย: กลุ่มนโยบายและแผนงาน/งานสารสนเทศ.
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา. (2556). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545. เรียกใช้เมื่อ 20 พฤษภาคม 2561 จาก http://web.krisdika.go.th/lawHeadContent.jsp?fromPage=lawHeadContent&formatFile.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2560). แนวทางการประเมินคุณภาพตามมาตรฐานการเรียนรวมเพื่อการประกันคุณภาพภายใน. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.
อนุชิต บุญมาก. (2560). การพัฒนาแนวทางการจัดการเรียนร่วมสำหรับสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 1. ใน วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.