การพัฒนาแนวทางการเสริมสร้างสมรรถนะด้านการพัฒนาตนเองของครู สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 1

Main Article Content

พีรวัสดิ์ เพ็ชรทอง
กาญจน์ เรืองมนตรี

บทคัดย่อ

         บทความฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์สมรรถนะด้านการพัฒนาตนเองของครู 2) พัฒนาแนวทางการเสริมสร้างสมรรถนะด้านการพัฒนาตนเองของครู กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ข้าราชการครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 1 จำนวน 333 คน ใช้แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าดัชนีความต้องการจำเป็น ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัจจุบันสมรรถนะด้านการพัฒนาตนเองของครู     ทั้ง 4 ด้าน อยู่ในระดับมาก และสภาพที่พึงประสงค์สมรรถนะด้านการพัฒนาตนเองของครู    อยู่ในระดับมากที่สุดทั้ง 4 ด้าน คือ การศึกษาค้นคว้า ติดตามความรู้และข่าวสารใหม่ ๆ ทางวิชาการ การสร้างองค์ความรู้และนวัตกรรมในการพัฒนาองค์กรวิชาชีพ การสำรวจและประเมินตนเองของครู และการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและสร้างเครือข่าย 2) แนวทางการเสริมสร้างสมรรถนะด้านการพัฒนาตนเองของครู ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ 12 ตัวชี้วัด คือ องค์ประกอบที่ 1 การศึกษาค้นคว้า ติดตามความรู้และข่าวสารใหม่ ๆ ทางวิชาการ ตัวชี้วัดได้แก่ 1) การศึกษาดูงาน 2) แลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางด้านวิชาการ 3) ติดตามข่าวสารทางด้านวิชาการ องค์ประกอบที่ 2 การสร้างองค์ความรู้และนวัตกรรมในการพัฒนาองค์กรวิชาชีพ ตัวชี้วัดได้แก่ 1) รวบรวมจัดหมวดหมู่ความรู้ 2) เผยแพร่นวัตกรรม 3) สร้างองค์ความรู้และนวัตกรรม องค์ประกอบที่ 3 การสำรวจและประเมินตนเองของครู ตัวชี้วัดได้แก่ 1) สอบถามคุณสมบัติตนเองที่ควรปรับปรุงและพัฒนา 2) ให้บุคคลอื่นในองค์การสำรวจตนเอง 3) ทราบข้อบกพร่องและแนวทางในการแก้ไขตนเอง องค์ประกอบที่ 4 การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและสร้างเครือข่าย ตัวชี้วัดได้แก่ 1) ศึกษาเอกสาร 2) เป็นสมาชิกเข้าร่วมกิจกรรมขององค์กร 3) เป็นผู้ดำเนินการของกิจกรรม

Article Details

How to Cite
เพ็ชรทอง พ. ., & เรืองมนตรี ก. . (2020). การพัฒนาแนวทางการเสริมสร้างสมรรถนะด้านการพัฒนาตนเองของครู สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 1. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 7(8), 204–217. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JMND/article/view/246257
บท
บทความวิจัย

References

จามีกร นิภากุล. (2562). แนวทางการพัฒนาสมรรถนะข้าราชการสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ. ใน รายงานการวิจัย. สำนักอำนวยการสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ.

จิระวรรณ จันทร์ปรางค์. (2550). ความต้องการการพัฒนาตนเองของอาจารย์มหาวิทยาลัยรังสิต จังหวัดปทุมธานี. ใน รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ณัฐธิดา จิตสิงห์. (2554). การประเมินความต้องการจำเป็นในการพัฒนาตนเองของครูผู้ช่วยในสถานศึกษา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธานี. ใน วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.

บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพมหานคร: สุรีวิทยาสาส์น.

ปพนสรรค์ โพธิพิทักษ์. (2556). ปัจจัยและรูปแบบการบริหารเวลาของรองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา. วารสารวิชาการ Veridian E – Journal, 6(3), 775–793.

ภักดี รัชตวิภาสนันท์. (2548). เหตุการณ์คลื่นยักษ์ถล่ม สู่ชั้นเรียนวิทยาศาสตร์. นิตยสาร สสวท., 33(134), 20–24.

เลขา ปิยะอัจฉริยะ. (2551). โครงการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการเพิ่มประสิทธิภาพขององค์กรทางการศึกษาด้วยการจัดการความรู้. ใน รายงานการวิจัย. สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2544). การจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตรขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา. (2553). คู่มือการปฎิบัติงานของอนุกรรมการใน อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษา และ อ.ก.ค.ศ.ที่ ก.ค.ศ. ตั้งในส่วนราชการ. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2552). ข้อเสนอแนะการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง (พ.ศ. 2552 – 2561). กรุงเทพมหานคร: พริกหวานกราฟิค.