การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะครู ด้านการจัดการเรียนรู้ แบบมอนเทสซอริ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ชัยภูมิ เขต 1

Main Article Content

ปิยนันท์ หาญสมัคร
กาญจน์ เรืองมนตรี

บทคัดย่อ

          บทความฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์และความต้องการจำเป็นของครูในการจัดการเรียนรู้แบบมอนเทสซอริ ในสถานศึกษา 2) พัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะครูด้านการจัดการเรียนรู้แบบมอนเทสซอริ ในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 1 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูและบุคลากรทางการศึกษา ในโรงเรียนที่จัดการเรียนรู้แบบมอนเทสซอริ ระดับชั้นปฐมวัย โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 1 จำนวน 213 คน ปีการศึกษา 2562   ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ (Stratified Random Sampling) เครื่องมือประกอบด้วยแบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ และแบบประเมินโปรแกรม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ระยะที่ 2 การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะครูด้านการจัดการเรียนรู้แบบมอนเทสซอริ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 1 ผลการวิจัยปรากฏดังนี้ 1) สภาพปัจจุบันในการจัดการเรียนรู้แบบมอนเทสซอริของครู สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 1โดยรวมอยู่ในระดับ มาก ตัวบ่งชี้ความรู้เกี่ยวกับทฤษฎีการจัดการเรียนรู้แบบมอนเทสซอริ มีค่ามากที่สุด 2) สภาพที่พึงประสงค์ในการจัดการเรียนรู้แบบมอนเทสซอริของครู สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 1 โดยรวมอยู่ในระดับ มากที่สุด ตัวบ่งชี้ความรู้เกี่ยวกับคุณลักษณะของครูมอนเทสซอริ มีค่ามากที่สุด 3) โปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะครูด้านการจัดการเรียนรู้แบบมอนเทสซอริ ในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 1 มีผลการประเมินความเหมาะสมโดยรวมอยู่ในระดับมาก ความเป็นไปได้อยู่ในระดับมาก ความถูกต้องอยู่ในระดับมากที่สุด และความเป็นประโยชน์อยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). พระราชบัญญัติการศึกษาเเห่งชาติ พุทธศักราช 2542 เเก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พุทธศักราช 2545. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

จีระพันธุ์ พูลพัฒน์. (2549). การจัดการเรียนการสอนสำหรับเด็กปฐมวัยตามแนวคิดของมอนเทสซอรี่. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ฐิตารีย์ สุขบุตร. (2562). การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะการทำงานเป็นทีมของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอำนาจเจริญ. ใน วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ทักษิณ เกษต้น . (2561). การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะด้านการจัดการเรียนรู้ของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 20. ใน วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

นันทกา วารินิน. (2557). รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของครูสำหรับโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 2. ใน ดุษฎีนิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

บุญชม ศรีสะอาด และคณะ. (2553). หลักการวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น.

ปรารถนา เพชรฤทธิ์. (2559). การพัฒนาโปรแกรมพัฒนาครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ในโรงเรียนมัธยมศึกษาโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน. ใน ดุษฎีนิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

พิมพิกา จันทไทย. (2558). การพัฒนาโปรแกรมการพัฒนาทีมงานครูที่มีประสิทธิผลสำหรับโรงเรียนเทศบาล. ใน ดุษฎีนิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

วิจารณ์ พานิช. (2557). การสร้างการเรียนรู้สู่ศตวรรษที่ 21. กรุงเทพมหานคร: ส.เจริญการพิมพ์ จำกัด.

สุภาวดี หาญเมธี. (2560). EF ทักษะสมองเพื่อการจัดการชีวิตให้สำเร็จ (Executive Functions). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์อักษรสัมพันธ์ (1987) จำกัด.

เอกนฤน บางท่าไม้. (2561). การพัฒนารูปแบบกิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้ปัญหาเป็นฐานเพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาในรายวิชาการถ่ายภาพดิจิทัส สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร. Veridian E – Journal,Silpakorn University, 11(1), 30–51.