การสร้าง “สติ” ในการเปลี่ยนความคิดและพฤติกรรม นักโทษในต่างประเทศ

Main Article Content

ธานี วรภัทร์

บทคัดย่อ

“สติ” เป็นหลักธรรมในพุทธศาสนาที่ได้พิสูจน์แล้วว่า สามารถนำมาใช้แก้ไขความคิด จิตใจ ปัญญาและพฤติกรรม ให้กับนักโทษได้ เนื่องจากจากธรรมชาติของมนุษย์การกระทำ    ทุกอย่างเริ่มที่ “ความคิด” การตัดสินใจก่ออาชญากรรมเป็นผลมาจากความคิดและความรู้ที่เรียกว่า “ปัญญา” ของคนที่เชื่อว่าการกระทำนั้นให้ประโยชน์ต่อตนเองและเชื่อว่ามีโอกาสที่จะรอดพ้นจากกฎหมายได้ ความคิดของเขาจึงนำไปสู่ความเป็น “อาชญากร” ซึ่งเป็นความคิดที่ขาดสติปัญญาในทางบวก ส่วนของ “ความคิด” และ “ความรู้เท่าทัน” สำหรับ “นักโทษ” คือบุคคลที่กระบวนการยุติธรรมทางอาญาได้พิสูจน์ความจริงแล้วว่าเป็นผู้กระทำความผิดจริง     ถ้าได้มีโอกาสเข้ากระบวนการสร้าง “สติ” ก็จะสามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงความคิด จิตใจ ทัศนคติและพฤติกรรม ให้เป็นบุคคลที่เป็นพลเมืองดีของสังคมได้อีกครั้งหนึ่ง จากการศึกษาพบว่าในสหรัฐอเมริกา แคนาดาและญี่ปุ่น จะใช้วิธีการฝึก “สติ” กับนักโทษทำให้มีสมาธิ        ได้ทบทวนตนเอง พิจารณาตนเอง การปรับความคิด จิตใจ พฤติกรรม ในกิจกรรมการเตรียมความพร้อมก่อนปล่อยนักโทษเพื่อ “คืนคนดีสู่สังคม” หลักธรรมในพุทธศาสนาที่มีการนำมาใช้ได้แก่ สติ สัมปชัญญะ หิริ โอตตัปปะ ศีล อริยสัจ 4 และมรรค 8 เป็นต้น และใช้กระบวนการตามหลักพุทธศาสนาให้มี “จิตใจ ชุดความคิด พฤติกรรม” ที่เป็นพลเมืองดีของสังคมได้อีกครั้ง ทำให้เขาสามารถดำรงชีวิตใหม่ได้ดีกว่าที่เคยเป็นมาและไม่กระทำความผิดซ้ำอีก ตามข้อเท็จจริงดังกล่าวจึงมีข้อเสนอแนะให้นำหลักธรรมพุทธศาสนาโดยเฉพาะหลัก “สติ” และ “กระบวนการสร้างสติ” มาใช้กับนักโทษในประเทศไทย กล่าวคือ จัดทำหลักสูตรอบรมและมีการติดตามประเมินผล สร้างตัวชี้วัด กำหนดคุณสมบัติวิทยากรเพื่อสร้างมาตรฐานการสร้างกระบวนการเรียนรู้และการนำไปใช้ให้บรรลุวัตถุประสงค์ในการแก้ไขฟื้นฟูนักโทษได้จริง และบรรลุเป้าหมายของการพัฒนานักโทษอย่างยั่งยืน

Article Details

How to Cite
วรภัทร์ ธ. . (2020). การสร้าง “สติ” ในการเปลี่ยนความคิดและพฤติกรรม นักโทษในต่างประเทศ. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 7(8), 30–45. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JMND/article/view/246250
บท
บทความวิชาการ

References

ธานี วรภัทร์. (2560). หลักธรรมกับผู้กระทำผิด. ใน รายงานการวิจัย. สำนักพระดำริพระเจ้าหลานเธอพระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา กระทรวงยุติธรรม.

พระเมธีวราภรณ์ (ประยูร ธมฺมจิตฺโต). (2541). สติในชีวิตประจำวัน คติธรรมสอนใจเพื่อใช้เตือนตน. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิพุทธธรรม.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตโต). (2535). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์. (พิมพ์ครั้งที่ 14). นนทบุรี: ธนธัชการพิมพ์.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตโต). (2549). พุทธธรรมฉบับปรับปรุงและขยายความ. (พิมพ์ครั้งที่ 13). กรุงเทพมหานคร: สหธรรมิก.

Bishop, S. R. et al. (2004). Mindfulness:A proposed operational definition Clinical Psychology. Science & Practice , 11(3), 230–241.

Lozoff, B. & Fleet, M. (2017). Dharma in Hell: The Prison Writings of Fleet Maull. South Deerfield: U.S.A.

G. Alan Marlatt. (2002). Buddhist Philosophy and the Treatment of Addictive Behavior. Cognitive and Behavioral Practice, 9(1), 44–50.

Kobai, S. W. (2017). Sitting inside Buddhist Practice in America’s Prisons. South Deerfield: U.S.A.

Paramabandhu, G. (2014). Buddhist Approaches to Addiction Recovery. Religions, 5(4), 985 – 1000.

Swarna, W. & Shaun, B. (2016). Mindfulness for Addiction Recovery: A Cognitive Disciplinary Preventive Approach to Avoid Relapse into Substance Abuse. Retrieved April 1, 2020, from https://www.semanticscholar.org/ paper/Mindfulness – for – Addiction – Recovery%3A–A–Cognitive–to–Weerasinghe–Bartone/2d9bbf66bffa7a7d4 0dd28f4149e2a4ce1528b8b

William, L. W. (2012). Buddhism and Addiction Recovery:An Interview with Kevin Griffin. Retrieved April 1, 2020, from http://www.williamwhite papers .com/pr/Buddhism%20%26%20Recovery%20Interview%20Kevin%20Griffin.pdf