พุทธจิตวิทยาสำหรับคนชายขอบ

Main Article Content

พระครูสังฆรักษ์ทวี อภโย

บทคัดย่อ

บทความฉบับนี้เป็นบทความวิชาการที่มุ่งประเด็นการนำเสนอเนื้อหาสำคัญของพุทธจิตวิทยาสำหรับคนชายขอบให้มีการพัฒนาทั้งกาย จิต ปัญญา และสังคม ภายใต้หลักธรรม 5 ประการ คือ หลักทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์ หลักพละ 5 หลักสัปปุริสธรรม 7 หลักปาริสุทธิศีล 4 และหลักมรรคมีองค์ 8 เพื่อนำไปพัฒนาความเป็นอยู่ของกลุ่มคนชายขอบ ในการดำเนินชีวิตภายใต้สังคมกระแสหลัก ซึ่งกลุ่มคนเหล่านี้มีปัญหาในการดำเนินชีวิต ปัญหาทั้งทางกาย ทางจิต ทางปัญญา และทางสังคม จึงต้องนำหลักพุทธจิตวิทยาเข้าไปประยุกต์ใช้การพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดียิ่งขึ้น เพราะว่า การศึกษาวิเคราะห์จิตที่สัมพันธ์กันกับทุกข์ (ปัญหา) อันเป็นสภาพที่แท้จริงของชีวิต เข้าใจสาเหตุของทุกข์ (ปัญหา) เข้าใจถึงเป้าหมายที่แท้จริงของชีวิตคือนิโรธ(ความดับทุกข์ ดับปัญหา) รู้วิธีการปฏิบัติเพื่อเผชิญปัญหาโดยไม่ถูกบีบคั้นจากทุกข์ (ปัญหา) ไม่เกิดความท้อแท้ สิ้นหวัง ให้สู้และเผชิญกับทุกข์ (ปัญหา) อย่างมั่นคงตามหลักพุทธธรรม การที่นำหลักพุทธจิตวิทยาเข้ามาเยี่ยวยาจิตใจให้กับคนชายขอบนั้นเป็นการบำบัดทางจิตอย่างหนึ่ง เนื่องจากความเป็นชายขอบนั้น ทำให้บุคคลหรือกลุ่มคนที่สังคมไม่สนใจเหลียวแล ถูกทิ้งขว้างแปลกแยกจากสังคมกระแสหลัก เช่น ชาวเขา ชนกลุ่มน้อย ผู้หญิงขายบริการ กลุ่มรักเพศเดียวกัน หรือคนพิการ นอกจากนี้ คนชายขอบยังรวมถึงผู้ที่ถูกปฏิเสธโดยสังคมส่วนใหญ่ เช่น ในห้องเรียน ถ้าบังเอิญเราเรียนไม่เก่ง แต่เพื่อนร่วมชั้นเรียนเป็นคนเรียนเก่งแทบทั้งหมดดังนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งในการที่นำหลักธรรมเหล่านี้เข้าไปพัฒนาให้เกิดความสุขและความสมบูรณ์ในชีวิต

Article Details

How to Cite
อภโย พ. . (2020). พุทธจิตวิทยาสำหรับคนชายขอบ. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 7(8), 15–29. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JMND/article/view/246248
บท
บทความวิชาการ

References

ถิรนัย อาป้อง. (2555). อยู่ชายขอบ: ตัวตนและการต่อสู้ของคนชายขอบในสังคมไทย. เรียกใช้เมื่อ 8 กรกฎาคม 2562 จาก http: //chornorpor.blogspot.com/2011/ 09/1.html.

พระเทพวิสุทธิกวี (พิจิตร ฐิตวณฺโณ). (2543). พิมพ์ลักษณ์. กรุงเทพมหานคร: มหามกุฏราชวิทยาลัย.

พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). (2528). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลศัพท์. กรุงเทพมหานคร: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). (2548). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. เรียกใช้เมื่อ 8 กรกฎาคม 2562 จาก http: //www.84000.org/tipitaka/dic/ d_item.php?i=287.

พันธุ์ทิพย์ กาญจนะจิตรา สายสุนทร. (2555). คนชายขอบ (Marginal People) ในความหมายของ ICCPR Country Report. เรียกใช้เมื่อ 8 กรกฎาคม 2562 จาก https: //www.gotoknow.org/posts/204923

มหาจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

วิชุดา สร้อยสุด. (2556). บทความเชิงวิชาการ เรื่อง คนชายขอบ. เรียกใช้เมื่อ 12 กรกฎาคม 2562 จาก http: //sd–group1.blogspot.com/2013/01/53242551.html.

สุริชัย หวันแก้ว. (2546). กระบวนการกลายเป็นคนชายขอบ. กรุงเทพมหานคร: คณะกรรมการสภาวิจัยแห่งชาติ สาขาสังคมวิทยา สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ.

jane. (2556). สิทธิของคนชายขอบ. เรียกใช้เมื่อ 12 กรกฎาคม 2562 จาก http: //angkanajany.blogspot.com/2013/09/blog–post_23.html