การพัฒนาแนวทางเสริมสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายโสธร เขต 1

Main Article Content

หนึ่งฤทัย สายเมฆ
ธัธชัย จิตร์นันท์

บทคัดย่อ

          บทความฉบับนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์และความต้องการจำเป็นในการเสริมสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครู 2) พัฒนาแนวทางในการเสริมสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครู การวิจัยแบ่งออกเป็น 2 ระยะ ระยะที่ 1 กลุ่มตัวอย่าง คือ ครู จำนวน 296 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามสภาพปัจจุบัน มีค่าอำนาจจำแนกรายข้อระหว่าง 0.38 – 0.88 และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ เท่ากับ 0.96 แบบสอบถามสภาพที่พึงประสงค์ มีค่าอำนาจจำแนกรายข้อระหว่าง 0.32 – 0.88 และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ เท่ากับ 0.95 สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ และการวิเคราะห์หาค่าดัชนีความต้องการจำเป็น ระยะที่ 2 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน จำนวน 19 คน เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง จากการศึกษาโรงเรียนที่มีแนวปฏิบัติดี จำนวน 3 โรงเรียน วิเคราะห์ข้อมูลในแบบพรรณนาวิเคราะห์ ประเมินแนวทางโดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือแบบประเมินความเหมาะสม ความเป็นไปได้ของแนวทาง สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


          ผลการวิจัยพบว่า: 1) สภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการเสริมสร้างแรงจูงใจการปฏิบัติงาน โดยรวมมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก และค่าดัชนีความต้องการจำเป็นโดยรวมอยู่ในระดับมาก 2) การพัฒนาแนวทางเสริมสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครู ซึ่งประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ 1) องค์ประกอบด้านความสำเร็จในงาน 2) ด้านองค์ประกอบการมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อเพื่อน 3) ด้านองค์ประกอบการมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อผู้บังคับบัญชา 4) ด้านองค์ประกอบการยอมรับนับถือ 5) ด้านองค์ประกอบเงินเดือนและค่าตอบแทนสวัสดิการ ผลการประเมินแนวทางโดยผู้ทรงคุณวุฒิ พบว่ามีความเหมาะสมโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุดและมีความเป็นไปได้โดยรวมอยู่ในระดับมาก

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จตุพร ชมพู. (2552). วามต้องการและแนวทางในการเสริมสร้างแรงจูงใจในการ ปฏิบัติงานของครูในเครือโรงเรียนศุทธรัตน์จังหวัดชลบุรี. ใน วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยบูรพา.

ฐากูร ปาละนันทน์. (2554). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรสังกัดวิทยาลัย ชุมชน สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. ใน วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาการอุดมศึกษา. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ณัฐณิชา หิมทอง และปิยากร หวังมหาพร. (2562). ความสัมพันธ์ของแรงจูงใจในการทำงานกับ ความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากรสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารสหวิทยาการวิจัย, 8(2),144-152.

นริศ สังสนา. (2558). การเสริมสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครู ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 2. ใน วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

นันทนพ เข็มเพชร. (2560). แรงจูงใจในการทำงานของพนักงานสายสนับสนุนในกลุ่ม Generation Y กรณีศึกษามหาวิทยาลัยมหาสารคาม. ใน วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ยุพิน บุญสินชัย. (2556). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพนักงานส่วนตำบลในเขตพื้นที่ อำเภอโพนทอง จังหวัดร้อยเอ็ด. ใน วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานโยบายสาธารณะ. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2562). นโยบายสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

เอกมร โลหะญาณจารี. (2547). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขเขตธนบุรี. ใน วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาสังคมศาสตร์เพท่อการพัฒนา. มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา.

Seniwoliba, A. J. (2013). Teacher motivation and job satisfaction in senior high schools in the Tamale metropolis of Ghana. Merit Research Journal of Education and Review, 1(9), 181-196.

Vroom, V. H. (1996). Work and Motivation in Classic Readings in Organizational Behavior. (2nd ed.). Belmont: Wadsworth.