การพัฒนาแนวทางการระดมทุนสำหรับสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 27

Main Article Content

บุญส่ง จอมหงษ์
กาญจน์ เรืองมนตรี

บทคัดย่อ

          บทความฉบับนี้มีความมุ่งหมาย 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์และความต้องการจำเป็นการระดมทุนของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 27 2) เพื่อพัฒนาแนวทางการระดมทุนของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 27 การวิจัยแบ่งออกเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์การระดมทุนสำหรับสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 27 ระยะที่ 2 การพัฒนาแนวทางการระดมทุนสำหรับสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 27 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยระยะที่ 1 ได้แก่ ผู้บริหารและครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 27 จำนวน 387 คน โดยการสุ่มเชิงช่วงชั้นอย่างมีสัดส่วน ระยะที่ 2 สัมภาษณ์ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 3 คน ที่ประสบความสำเร็จในการระดมทุน และประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของแนวทางการระดมทุน โดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 9 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ แบบสัมภาษณ์ และแบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของแนวทางการระดมทุนสำหรับสถานศึกษา สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และดัชนีความต้องการจำเป็น


          ผลการวิจัยพบว่า: 1) สภาพปัจจุบันของการระดมทุนสำหรับสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 27 โดยรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก สภาพที่พึงประสงค์โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ความต้องการจำเป็น ข้อที่มีค่ามากที่สุดคือ การวางแผนการระดมทุน 2) แนวทางการระดมทุนสำหรับสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 27 มีทั้งหมด 4 องค์ประกอบ 15 แนวทาง แนวทาง ผลการประเมิน พบว่า องค์ประกอบของแนวทางมีความเหมาะสมและความเป็นไปได้อยู่ในระดับมาก

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กนกอร ยศไพบูลย์. (2546). ภาวะผู้นำทางการศึกษา. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพมหานคร: สุวีริยสาส์น.

ปรีดา ลำมะนา. (2553). รูปแบบการระดมทุนของโรงเรียนมัธยมศึกษาในประเทศไทย. ใน ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิจัยและประเมินผลการศึกษา. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 27. (2562). ข้อมูลสารสนเทศทางการศึกษาปีการศึกษา 2561. ร้อยเอ็ด: กลุ่มนโยบายและแผน สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกระทรวงศึกษาธิการ.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2544). การจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตรขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์กรมหาชน). (2547). รายงานการประเมิน คุณภาพภายนอกสถานศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์กรมหาชน).

สำนักนโยบายและแผนการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2562). นโยบายสํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานปีงบประมาณ พ.ศ. 2562. เรียกใช้เมื่อ 2562 พฤศจิกายน 2562 จาก http://plan.bopp – obec.info/

Brakeley, A. G. (1980). Tested Ways to Successful Fund Raising. New York: AMACOM.

Seiler, L. T. (2002). Developing and Articulating a Case for Support, Hank Rosso’s Achieving Excellence in Fund Raising. (2nd ed.). San Francisco: Jossey – Bass.

Stan, L. (2003). Fundraising help for School Principals and other School Leaders. Retrieved December 12, 2019, from http://www.arc.gov/index.do? nodeId=1729

Terry, S., & Schaff, D. (1999). The Fundraising Planner: A Working Model for Raising the Dollars You Need. San Francisco: Jossey – Bass.