ผลของรูปแบบการเรียนรู้ด้วยวิธีการสะท้อนคิดต่อการตระหนักรู้ ในตนเองในนักศึกษาพยาบาล

Main Article Content

ภาวดี เหมทานนท์
อมาวสี อัมพันศิริรัตน์

บทคัดย่อ

          บทความวิจัยเรื่องรูปแบบการเรียนรู้ด้วยวิธีการสะท้อนคิดต่อการตระหนักรู้ในตนเองของนักศึกษาพยาบาล มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบระดับการตระหนักรู้ในตนเองของนักศึกษาพยาบาล ก่อนและหลังการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการเรียนการสอนแบบสะท้อนคิด 2) ศึกษาผลการสะท้อนคิดการตระหนักรู้ในตนเอง กลุ่มประชากรคือ นักศึกษาพยาบาลศาสตร์ชั้นปีที่ 2 ปีการศึกษา 2562 ที่เรียนการปรึกษาทางสุขภาพ จำนวน 90 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) รูปแบบการเรียนรู้ด้วยวิธีการสะท้อนคิด 2) แบบประเมินการตระหนักรู้ในตนเอง ซึ่งมีค่า CVI เท่ากับ 0.80 และค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค เท่ากับ 0.86 3) แนวคำถามสำหรับการสะท้อนคิด ซึ่งผู้วิจัยใช้แนวคิดการสะท้อนคิดของ Gibbs เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการจัดการเรียนการสอนตามรูปแบบในภาคการเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 วิเคราะห์ด้วยสถิติเชิงพรรณนา และการวิเคราะห์เนื้อหา


          ผลการวิจัยพบว่า: 1) ค่าเฉลี่ยของการตระหนักรู้ในตนเองหลังการใช้รูปแบบการเรียนรู้แบบสะท้อนคิดก่อนและหลังการใช้รูปแบบการเรียนรู้แบบสะท้อนคิดอยู่ในระดับสูง (µ = 4.13, gif.latex?\sigma = .29; µ = 4.27, gif.latex?%5Csigma = .30 ตามลำดับ) โดยหลังการใช้รูปแบบการเรียนรู้แบบสะท้อนคิดสูงกว่าก่อนใช้รูปแบบการเรียนรู้แบบสะท้อนคิด (Mean difference = 0.14) และ 2) ผลการสะท้อนคิดการพัฒนาการตระหนักรู้ในตนเอง พบว่า นักศึกษาพยาบาลสามารถพัฒนาการตระหนักรู้ในตนเองในด้าน การตระหนักถึงบทบาทต่าง ๆ ของการปรึกษา การพัฒนาความคิด ความรู้สึกในทางบวกต่อตนเอง การตระหนักถึงข้อดีของตนเอง การตระหนักถึงข้อด้อยของตนเอง และแนวทางการพัฒนาตนเอง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

วิเชียร เกตุสิงห์. (2538). ค่าเฉลี่ยและการแปลความหมาย. ข่าวสารวิจัยทางการศึกษา, 18 (3), 8 -11.

Arnold, E. C. & Boggs, K. U. (2015). Interpersonal Relationships: Professional Communication Skills for Nurses. (7th ed.). Missouri: Elsevier Health Sciences.

Bulman, C. & Schutz, S. (2008). Reflective Practice in Nursing. (5th ed.). USA: John Wiley & Sons.

Eckroth-Bucher, M. (2010). Self-Awareness: A Review and Analysis of a Basic Nursing Concept. Advances in Nursing Science, 33(4), 297-309.

Gessler, R. & Ferron, L. (2012). Making the Workplace Healthier, One Self-Aware Nurse at a Time. American Nurse Today. 41-43.

Gibbs, G. (1998). Learning by Doing: A guide to Teaching Learning Methods. London: FEU.

Jack, K. & Smith, A. (2007). Promoting Self - Awareness in Nurses to Improve Nursing Practice. Nursing Standard, 21(32), 47-52.

Palmiere, C. (2012). Self - Awareness: An Important Factor in Personality Development. Retrieved August 30, 2019, from http://hrbycatherine.com /2012/09/selfawareness-an-important-factor-in-personalitydevelopment/

Scheick, D. M. (2011). Developing Self-Aware Mindfulness to Manage Counter Transference in the Nurse-Client Relationship: An Evaluation and Developmental Study. Journal of Professional Nursing, 27(2), 114–123.

Sherwood, G. D. & Deutsch, S. H. (2014). Reflective Practice: Transforming Education and Improving Outcomes. Indianapolis: Sigma Theta Tau International.

Teekman, B. (2000). Exploring Reflective Thinking in Nursing Practice. Journal of Advanced Nursing, 31(5), 1125-1135.

Van Sant, J. E. & Patterson, B. J. (2013). Getting in and Getting out Whole: Nurse-Patient Connections in the Psychiatric Setting. Issues Journal of Mental Health, 34(1), 36-45.