ผลการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์ที่ส่งเสริมการรู้เรื่องคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เรื่อง ภาคตัดกรวย

Main Article Content

ภัทราพร สุดรักษ์
มนตรี ทองมูล

บทคัดย่อ

          บทความฉบับนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ มีจุดประสงค์เพื่อพัฒนาความสามารถในการรู้เรื่องคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เรื่องภาคตัดกรวย โดยใช้การจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์ ให้มีคะแนนผ่านเกณฑ์ร้อยละ 60 ของคะแนนเต็ม กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้จากนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/3 โรงเรียนบรบือ อำเภอบรบือ จังหวัดมหาสารคาม ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 นักเรียนกลุ่มที่มีปัญหาความสามารถในการรู้เรื่องคณิตศาสตร์ จำนวน 28 คน ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจงเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์ จำนวน 3 แผน แผนการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์ร่วมกับเทคนิค KWDL จำนวน 4 แผน แผนการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์ร่วมกับเทคนิค KWDL โดยเน้นการจัดกิจกรรมกลุ่ม จำนวน 3 แผน แบบทดสอบวัดความสามารถในการรู้เรื่องคณิตศาสตร์ จำนวน 3 ชุด และแบบสังเกตพฤติกรรมการรู้เรื่องคณิตศาสตร์ตามระดับการรู้เรื่องคณิตศาสตร์ โดยสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


          ผลการวิจัยพบว่า: ความสามารถในการรู้เรื่องคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 หลังจากได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในวงจรปฏิบัติการที่ 1 นักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยคิดเป็นร้อยละ 59.04 ในวงจรปฏิบัติการที่ 2 นักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยคิดเป็นร้อยละ 68.30 และในวงจรปฏิบัติการที่ 3 นักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยคิดเป็นร้อยละ 78.13 ซึ่งนักเรียนทุกคนมีคะแนนผ่านเกณฑ์ร้อยละ 60 ของคะแนนเต็มในวงจรปฏิบัติการที่ 3 และยังพบว่าคะแนนความสามารถในการรู้เรื่องคณิตศาสตร์ของนักเรียนในแต่ละวงจรปฏิบัติการนั้นมีคะแนนเพิ่มขึ้นในแต่ละวงจรปฏิบัติการ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เวชฤทธิ์ อังกนะภัทรขจร. (2555). การประยุกต์ใช้แนวคิด Teach Less, Learn More (TLLM) สู่การจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียนคณิตศาสตร์. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 23(1), 1-11.

ปรีชา เนาว์เย็นผล. (2537). หน่วยที่ 12 การแก้ปัญหาคณิตศาสตร์ ประมวลสาระชุดวิชาสัตถะและวิทยวิธีทางคณิตศาสตร์ หน่วยที่ 12 – 15. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ปรียา สิถิระบุตร. (2557). การพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาเรื่อง การคูณ การหาร สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิค KWDL ร่วมกับการวาดรูปบาร์. ใน วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิจัยและประเมินผลการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฎอุบลราชธานี.

รัศมี สุจินพรหม. (2543). ผลของการใช้แผนการจัดกิจกรรมให้นักเรียนสร้างองค์ความรู้ที่มีต่อการพัฒนากระบวนการคิดและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านบุทม จังหวัดสุรินทร์. ใน วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาศึกษาศาสตร์. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

วัลลภา อารีรัตน์. (2532). การสอนคณิตศาสตร์ระดับประถมศึกษา. ขอนแก่น: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

วิชาการโรงเรียนบรบือ. (2562). สถิติผลคะแนนสอบ O – Net ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6. มหาสารคาม: โรงเรียนบรบือ.

วีระยุทธ์ ชาตะกาญจน์. (2558). การวิจัยเชิงปฏิบัติการ Action Research. วารสารราชภัฏสุราษฎร์ธานี, 2(1), 29-49.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โครงการ PISA ประเทศไทย. (2557). รายงานการ ประเมินผลการเรียนนานาชาติ PISA 2006 ความรู้และสมรรถนะทางวิทยาศาสตร์สำหรับโลกวันพรุ่งนี้. กรุงเทพมหานคร: สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.

สุดา เขียงคำ. (2546). การพัฒนากิจกรรมการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เรื่อง เศษส่วน ตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์. ใน วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาหลักสูตรและการสอน. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

Brooks, J. G. & Brooks, M. G. (1993). The case for Constructivist Classrooms. New York: Association for Supervision and Curriculum Development.

Bussiere, P. et al. (2001). Measuring up: Performance of Canada’syouth in Reading. Mathematics and Science: OECD PISA Study – First Results for Canadians Aged_15. Ottawa, On: Statistics Canada.

De Lange, J. (2003). Mathematics for Literacy. In Quantitative Literacy: Why Numeracy Matters for School and Colleges. Madison.

OECD. (1999). Measuring Student Knowledge and Skills: A New Framework for Assessment. Paris: Author.

Underhill, R. G. (1991). Two layers of constructivist curricular interaction. In E. von Glasersfeld (ed.), Radical constructivism in mathematics education. (pp. 229 – 248). Dordrecht, The Natherlands: Kluwer Academic.

Von Hagen, J. et al. (2002). Quality and Success of Budgetary Consolidation in Buti, M. et al. (eds.). The Behaviour of Fiscal Authorities – Stabilization, Growth and Institutions. London: Palgrave.