การพัฒนาแนวทางการบริหารความเสี่ยงด้านการบริหารงบประมาณ ในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 25

Main Article Content

มัทนียา เพ็ชรนอก
ธรินธร นามวรรณ

บทคัดย่อ

           บทความฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ ความต้องการจำเป็น และพัฒนาแนวทางการบริหารความเสี่ยงด้านการบริหารงบประมาณในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 25 แบ่งเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ความต้องการจำเป็นของการบริหารความเสี่ยงด้านการบริหารงบประมาณ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้อำนวยการหรือรองผู้อำนวยการสถานศึกษา ครูหัวหน้ากลุ่มงานบริหารงบประมาณ งานพัสดุ งานการเงิน งานบัญชี จำนวน 201 คน โดยวิธีการเทียบตารางเครจซี่และมอร์แกน ใช้เทคนิคการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ ระยะที่ 2 พัฒนาแนวทางการบริหารความเสี่ยงด้านการบริหารงบประมาณ คือ 1) ศึกษาการบริหารความเสี่ยงในโรงเรียนที่มีแนวปฏิบัติที่ดี 2) ร่างแนวทางและประเมินแนวทางโดยผู้ทรงคุณวุฒิ เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์และแบบประเมินค่าความเชื่อมั่นสภาพปัจจุบันเท่ากับ 0.996 สภาพที่พึงประสงค์เท่ากับ 0.997 สถิติที่ใช้ คือ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและค่าความต้องการจำเป็น


          ผลการวิจัยพบว่า: สภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารความเสี่ยงด้านการบริหารงบประมาณในโรงเรียนมัธยมศึกษา โดยรวมอยู่ในระดับมาก ทุกด้านอยู่ในระดับมาก ความต้องการจำเป็นในการบริหารความเสี่ยง ลำดับแรกคือ งานพัสดุ รองลงมา คือ งานบัญชี งานแผนงานและงานการเงิน การพัฒนาแนวทางการบริหารความเสี่ยงด้านการบริหารงบประมาณ มี 5 ขั้น คือ การกำหนดวัตถุประสงค์ความเสี่ยง การระบุความเสี่ยง การประเมินความเสี่ยง การจัดการและการจัดทำแผนบริหารความเสี่ยง การรายงานติดตามผล การประเมินแนวทางการบริหารความเสี่ยงด้านการบริหารงบประมาณในโรงเรียนมัธยมศึกษา โดยรวมมีความเหมาะสมและมีความเป็นไปได้อยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ช่อผกา บรรทะโก. (2557). การบริหารความเสี่ยงด้านการเงินของสถานศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานในเขต อำเภอธาตุพนม. ใน วิทยานิพนธ์คหกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยนครพนม.

บุญชม ศรีสะอาด. (2556). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น.

พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี. (2546). ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 120 ตอนที่ 100 ก หน้า 1 – 16 (9 ตุลาคม 2546).

พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ (ฉบับที่ 2). (2545). ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 119 ตอนที่ 123 ก หน้า 16 – 21 (19 ธันวาคม 2545).

พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชแผ่นดิน (ฉบับที่ 5). (2545). ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 119 ตอนที่ 99 ก หน้า 1 – 2 (2 ตุลาคม 2545).

พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ. (2546). ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 120 ตอนที่ 62 ก หน้า 1 – 30 (6 กรกฎาคม 2546).

พวงผกา พรมราช. (2559). การพัฒนาแนวทางการจัดการความเสี่ยงด้านการบริหารงบประมาณในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 24. ใน วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

พุฒิสรรค์ ศรีรัตนประชากูล. (2559). ศึกษาสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารความเสี่ยงตามความคิดเห็นของครูและผู้บริหารโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 26. ใน วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 25. (2562). แผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2561. เรียกใช้เมื่อ 1 ตุลาคม 2562 จาก http://www.kksec. go.th/new/view_download.php/แผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2561/

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2556). คู่มือการบริหารโรงเรียน ในโครงการพัฒนาการบริหารรูปแบบนิติบุคคล. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบข้าราชการ (สำนักงาน ก.พ.ร.). (2552). คู่มือคำอธิบายตัวชี้วัดการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 สำหรับส่วนราชการระดับกรม (ฉบับสมบูรณ์). กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบข้าราชการ (สำนักงาน ก.พ.ร.).

สำนักงานตรวจสอบภายใน. (2553). คู่มือการจัดทำระบบการบริหารความเสี่ยง. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

สุวิมล ว่องวาณิช. (2558). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร: ทวีพริ้นท์ จำกัด.

อมร มะลาศรี. (2554). การพัฒนารูปแบบการประเมินความเสี่ยงทางการศึกษาสำหรับมหาวิทยาลัยราชภัฏ. ใน วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิจัยและประเมินผลการศึกษา. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

อุษณา ภัทรมนตรี. (2552). การตรวจสอบภายในสมัยใหม่ แนวคิดและกรณีศึกษา. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์จามจุรีโปรดักท์.