รูปแบบการเสริมพลังอำนาจชุมชนในการป้องกันโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ตำบลสามสวน อำเภอบ้านแท่น จังหวัดชัยภูมิ

Main Article Content

ฐิติพร บำรุงราษฎร์
สงครามชัยย์ ลีทองดีศกุล

บทคัดย่อ

          โรคไข้เลือดออกเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญ มีรายงานการระบาดโรคในทุกภาคของประเทศไทย การวิจัยเชิงปฏิบัติการครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษารูปแบบการเสริมสร้างพลังอำนาจชุมชนในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ในตำบลสามสวน อำเภอบ้านแท่น จังหวัดชัยภูมิ กลุ่มเป้าหมาย คือแกนนำประชาชน จำนวน 63 คน เก็บข้อมูลทั้งเชิงปริมาณ เชิงคุณภาพโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป สถิติเชิงพรรณนาที่ใช้ ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสูงสุด ค่าต่ำสุด สถิติเชิงอนุมานคือ paired t – test และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา


          ผลการวิจัยพบว่า: ขั้นตอนในการพัฒนารูปแบบครั้งนี้มี 8 ขั้นตอน 1) ศึกษาบริบทพื้นที่ 2) ประชุม 3) ทดสอบก่อนดำเนินการ 4) ปฏิบัติตามแผน 5) นิเทศ ติดตาม สนับสนุน 6) ประชุมเวทีแลกเปลี่ยน 7) ประชุมกลุ่มย่อย สัมภาษณ์แบบเจาะลึก 8) ทดสอบหลังดำเนินการ โดยผลการดำเนินงานตามกระบวนการ ส่งผลให้กลุ่มเป้าหมายมีการเปลี่ยนแปลงความรู้ การมีส่วนร่วม และความพึงพอใจเกี่ยวกับการป้องกันโรคไข้เลือดออกดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p – value < 0.05) โดยสรุป ปัจจัยแห่งความสำเร็จในการเสริมสร้างพลังอำนาจของชุมชนครั้งนี้ เรียกว่า Suan Model ดังนี้ 1) การบริการเชิงรุกในพื้นที่ (Service delivery; S) 2) มีการสร้างเอกภาพ (Unity; U) 3) ให้การยอมรับของแกนนำ (Acceptance; A) 4) มีเครือข่ายในชุมชนที่เข้มแข็ง (Network; N) โดยมีข้อเสนอแนะให้มีการประสานรูปแบบที่ค้นพบกับบริบทในพื้นที่ให้การดำเนินกิจกรรมที่เป็นอยู่ การส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่องโดยให้ชุมชนเป็นผู้ดำเนินการหลักและเสริมโดยเจ้าหน้าที่ในพื้นที่

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

โรงพยาบาลบ้านแท่น. (2562). สถานการณ์ผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก. เรียกใช้เมื่อ 20 กันยายน 2562 จาก http://www.banthaenhospital.org/

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสามสวน. (2562). ข้อมูลสถานการณ์ผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสามสวน. เรียกใช้เมื่อ 20 กันยายน 2562 จาก http://www.Samsuanpppf.hjg.org

สำนักโรคติดต่อนำโดยแมลง กรมควบคุมโรค. (2554). รายงานการประเมินผล: การเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกภาพรวมระดับประเทศ. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพมหานคร: สำนักโรคติดต่อนำโดยแมลง กรมควบคุมโรค.

สำนักงานควบคุมโรคติดต่อ. (2562). ไข้เลือดออกในประเทศไทยปี 2562. เรียกใช้เมื่อ 26 สิงหาคม 2562 จาก http://www.thaivbd.org/n/histories?module

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดชัยภูมิ. (2562). สรุปรายงานการระบาดโรคไข้เลือดออกของจังหวัดชัยภูมิ. เรียกใช้เมื่อ 15 กันยายน 2562 จาก http://203.157.182.10/index/

สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค. (2555). มาตรฐานและแนวทางปฏิบัติงานทีมตระหนักรู้สถานการณ์ (SAT) และทีมปฏิบัติการสอบสวนควบคุมโรค (JIT). เรียกใช้เมื่อ 1 กันยายน 2562 จาก https://ddc.moph.go.th/

Cohen, L. & Manion, L. (1989). Research Method inEducation. (3rd Ed). London: Routledge.

Holloway, I. W. (2010). Qualitative research in nursing and health care. (3rd ed). India: Laserwords Privates.