ผลกระทบของกระแสเงินสดและคุณภาพงานสอบบัญชีที่มีผลต่อการจัดการกำไรผ่านรายการคงค้างของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ แห่งประเทศไทย: กรณีศึกษา กลุ่มอุตสาหกรรมธุรกิจ อสังหาริมทรัพย์และก่อสร้าง

Main Article Content

ยุวดี วงค์แวงน้อย

บทคัดย่อ

          บทความวิจัยเรื่องผลกระทบของกระแสเงินสดและคุณภาพงานสอบบัญชีที่มีต่อการจัดการกำไรผ่านรายการคงค้างของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย: กรณีศึกษา กลุ่มอุตสาหกรรมธุรกิจอสังหาริมทรัพย์และก่อสร้าง นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบของกระแสเงินสดและคุณภาพงานสอบบัญชีที่มีผลต่อการจัดการกำไรผ่านรายการคงค้างของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กลุ่มอุตสาหกรรมธุรกิจอสังหาริมทรัพย์และก่อสร้าง โดยทำการเก็บรวบรวมข้อมูลจากข้อมูลทางการเงิน รายงานประจำปี แบบแสดงรายการข้อมูลประจำปี (แบบ 56 – 1) ระหว่างปี พ.ศ. 2557 ถึงปี พ.ศ. 2561 กลุ่มตัวอย่าง คือ บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กลุ่มอุตสาหกรรมธุรกิจอสังหาริมทรัพย์และก่อสร้าง จำนวน 63 บริษัท วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าสูงสุด ค่าต่ำสุด ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ การวิเคราะห์หาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน (Pearson’s Correlation Coefficient) และการวิเคราะห์หาค่าความถดถอยเชิงพหุคูณ (Multiple Regression Analysis)


          ผลการวิจัยพบว่า: กระแสเงินสด ได้แก่ กิจกรรมการดำเนินงาน กิจกรรมการลงทุน และกิจกรรมการจัดหาเงิน มีผลกระทบทางบวกต่อการจัดการกำไรผ่านรายการคงค้างจากการดำเนินธุรกิจ และรายการคงค้างตามดุลพินิจของผู้บริหาร ของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กลุ่มอุตสาหกรรมธุรกิจอสังหาริมทรัพย์และก่อสร้าง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ส่วน คุณภาพการตรวจสอบบัญชี ได้แก่ ขนาดของสำนักงานสอบบัญชี ค่าธรรมเนียมสอบบัญชี และระยะเวลาการใช้บริการ มีผลกระทบทางบวกต่อการจัดการกำไรผ่านรายการคงค้างจากการดำเนินธุรกิจ และรายการคงค้างตามดุลพินิจของผู้บริหารของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กลุ่มอุตสาหกรรมธุรกิจอสังหาริมทรัพย์และก่อสร้าง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ชญานุช คลังวิเชียร. (2553). การวิเคราะห์คุณภาพกำไรของกลุ่มธุรกิจอุตสาหกรรมยานยนต์ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. ใน สารนิพนธิ์บัญชีมหาบัณฑิต สาขาบัญชี. มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

ช่อทิพ โกกิม. (2547). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความแตกต่างของคุณภาพกำไรของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. ใน วิทยานิพนธ์บัญชีมหาบัณฑิต สาขาบัญชี. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยบูรพา.

ณัฐณิชา ฟูเฟื่องสมบัติ. (2559). คุณภาพงานสอบบัญชีและการตกแต่งกำไร. ใน สารนิพนธิ์บัญชีมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบัญชีธุรกิจแบบบูรณาการ. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET). (2563). กลุ่มอุตสาหกรรมธุรกิจอสังหาริมทรัพย์และก่อสร้าง. เรียกใช้เมื่อ 15 มีนาคม 2563 จาก https://www.set.or.th

พัชรสุดา ปัญญาชื่นสกุลสุข. (2551). ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อรายการคงค้างและกระแสเงินสดจากกิจกรรมดำเนินงานในการอธิบายราคาหลักทรัพย์: กรณีศึกษาบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. ใน วิทยานิพนธ์บัญชีมหาบัณฑิต สาขาบัญชี. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

มณฑา สุทธิพงค์. (2553). กำไรสุทธิ กระแสเงินสดจากการดำเนินงานและรายการคงค้างทางบัญชี ในการพยากรณ์กระแสเงินสดจากการดำเนินงานในอนาคต. ใน วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาบริหารธุรกิจ. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

สรรพงศ์ ลิมป์ธำรงกุล. (2547). คุณภาพกำไรของธุรกิจ. กรุงเทพมหานคร: ธรรมนิติเพรส.

สำนักงานคณะกรรมกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (SETSMART). (2563). กลุ่มอุตสาหกรรมธุรกิจอสังหาริมทรัพย์และก่อสร้าง. เรียกใช้เมื่อ 15 มีนาคม 2563 จาก https://www.setsmart.com

อภิเดช แววสุวรรณ. (2550). ความสัมพันธ์ระหว่างกระแสเงินสดจากกิจกรรมจัดหาเงินกับผลตอบแทนหลักทรัพย์และผลการดำเนินงานในอนาคตของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. ใน วิทยานิพนธ์บัญชีมหาบัณฑิต สาขาการบัญชี. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Chan D. K. (2009). Patients motivation and adherence to post surgery rehabilitation exercise recommendations: The influence of physiotherapist’ autonomy – supportive behaviors. Archives of Physical Medicine and Rehabilitation, 90(12), 1977-1982.

Collins W. & Hribar P. (1999). Earnings – based and accrual – based market anomalics: One effect or two. Journal of Accounting and Economics, 29(1), 101-123.

DeAngelo L. E. (1981). Audit size and audit quality. Journal of Accounting and Economics, 3(12), 183-199.