การบริหารจัดการสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของสถานศึกษา ศูนย์เครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษาหนองบุญมาก 2 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา นครราชสีมา เขต 2

Main Article Content

อภิบาล สุวรรณโคตร์
สมหญิง จันทรุไทย

บทคัดย่อ

          บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบความคิดเห็นของครูที่มีต่อการบริหารจัดการสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของสถานศึกษา ศูนย์เครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษา หนองบุญมาก 2 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 2 ใน 3 ด้าน คือ ด้านสภาพแวดล้อมทางกายภาพ ด้านสภาพแวดล้อมทางวิชาการ และด้านสภาพแวดล้อมทางการบริหารจัดการ ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ครูในศูนย์เครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษาหนองบุญมาก 2 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 2 จำนวน 96 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้โดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย จำนวน 76 คน โดยการกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างตามตารางของเครจซี่และมอร์แกน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .92 การเก็บรวบรวมข้อมูลผู้วิจัยนำแบบสอบถามให้กลุ่มตัวอย่างตอบแบบสอบถามพร้อมนัดหมายวันรวบรวมข้อมูลกลับคืนด้วยตนเอง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบ ค่าที (t – test)


          ผลการวิจัยพบว่า: 1) ความคิดเห็นของครูที่มีต่อการบริหารจัดการสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของสถานศึกษา ศูนย์เครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษาหนองบุญมาก 2 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 2 โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับค่าเฉลี่ยมากไปหาน้อย ได้แก่ สภาพแวดล้อมทางวิชาการ สภาพแวดล้อมทางการบริหารจัดการ และสภาพแวดล้อมทางกายภาพ 2) ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นของครูที่มีต่อการบริหารจัดการสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของสถานศึกษา ศูนย์เครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษาหนองบุญมาก 2 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 2 จำแนกตามวุฒิการศึกษา ประสบการณ์สอน และระดับชั้นที่สอน โดยรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เบญญาภา คงมาลัย. (2551). ความคิดเห็นของหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ต่อการจัดสภาพแวดล้อมทางการศึกษาของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุพรรณบุรี เขต 1. ใน วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น.

เลิศศักดิ์ คำปลิว. (2551). การจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของโรงเรียนขนาดเล็ก สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามหาสารคาม เขต 1. ใน วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

กฤษมันต์ วัฒนาณรงค์. (2558). สิ่งแวดล้อมทางการศึกษา. เรียกใช้เมื่อ 18 มกราคม 2558 จาก http:/www.thairat.co.th/content/232635

นรา สมประสงค์. (2546). การบริหารสภาพแวดล้อมในสถานศึกษา. ใน ประมวลสาระ ชุดวิชาการสถานศึกษา หน่วยที่ 9 สาขาวิชาศึกษาศาสตร์. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

บุญชม ศรีสะอาด. (2556). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น.

บุณยอร คุณทน. (2556). ความพึงพอใจของครูผู้สอนต่อการจัดสภาพแวดล้อมในสถานศึกษา ในเขตอำเภอนาจะหลวย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 5. ใน สารนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ.

พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542. (2542). ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 116 ตอนที่ 74 ก หน้า 2 (19 สิงหาคม 2542).

ศศิธร ขันติธรางกูร. (2551). การจัดการชั้นเรียนของครูมืออาชีพ. วารสารครุศาสตร์, 1(2), 1-88.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 พ.ศ. 2560 – 2564. เรียกใช้เมื่อ 19 กันยายน 2562 จาก http://www.nesdb.go.th

อดิศักดิ์ กลิ่นจันทร์. (2555). การศึกษาความคิดเห็นของครูต่อการจัดสภาพแวดล้อมในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 2. ใน สารนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ.

อารียา สตารัตน์. (2556). การจัดสภาพแวดล้อมในสถานศึกษาของโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร สำนักงานเขตราชเทวี. ใน สารนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

Cronbach, L. J. (1990). Essentials of psychological testing. (3rd ed.). NY: Harper & Collins.

Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Journal Education and Psychology Measurement, 3(30), 607-610.