ความเสมอภาคทางสิทธิมนุษยชนกับสิทธิการได้รับค่าตอบแทน ของผู้เสียหายในคดีอาญา

Main Article Content

วิชาญ เครือรัตน์

บทคัดย่อ

           บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อต้องการสะท้อนถึงการใช้ความเสมอภาคทางสิทธิมนุษยชนกับสิทธิการได้รับค่าตอบแทนของผู้เสียหายในคดีอาญา ในการปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ของรัฐ จากการวิเคราะห์ พบว่า สิทธิมนุษยชน เป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของมนุษย์ที่มีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์เท่าเทียมกัน โดยไม่คำนึงถึงความแตกต่างในเรื่องเชื้อชาติ สีผิว เพศ อายุ ภาษา ศาสนา สถานภาพ ทางกาย สุขภาพ รวมทั้งความเชื่อทางศาสนา หรือความคิดเห็นในเรื่องต่าง ๆ ที่เป็นการเลือกปฏิบัติ การชดเชยความเสียหายให้แก่ผู้เสียหายและเหยื่ออาชญากรรม ตามพระราชบัญญัติค่าตอบแทนผู้เสียหายและค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จำเลยในคดีอาญา พ.ศ. 2544 และฉบับที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2559 เป็นการสร้างมาตรการเพื่อคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของบุคคล และช่วยเหลือผู้เสียหายและเหยื่ออาชญากรรมอย่างเหมาะสมและเท่าเทียมกัน ดังนั้น เจ้าหน้าที่ของรัฐที่อยู่ในกระบวนการยุติธรรม จึงต้องมุ่งลดความเหลื่อมล้ำของสังคม และต้องปฏิบัติผูกพันต่อหลักความเสมอภาค เมื่อรัฐได้จ่ายค่าตอบแทนผู้เสียหายให้แก่ผู้มีสิทธิได้รับค่าตอบแทนแล้วนั้น แต่ยังมีประชาชนบางกลุ่มไม่สามารถที่จะเข้าถึง ทำให้เป็นประเด็นว่าความเสมอภาคเท่าเทียมกันตามหลักสิทธิมนุษยชน เกิดความเหลื่อมล้ำ ในลักษณะเป็นการปฏิบัติที่ไม่เท่าเทียมกันทางสิทธิมนุษยชน อย่างเช่น ประชาชนที่มีความขัดสนด้านเงินทอง ไม่มีโอกาสได้รับการศึกษา ไม่รู้กฎหมาย และสิทธิตามกฎหมาย จึงมักตกเป็นเหยื่อของการถูกเอาเปรียบ หลอกลวง หรือละเมิดสิทธิ จากคนที่มีสภาพเหนือกว่า ดังนั้นการจะนำไปสู่ความเท่าเทียมกันอย่างแท้จริง จะต้องมีหลักปฏิบัติที่เสริมสร้างให้ผู้ที่เสียเปรียบได้มีโอกาสที่จะได้รับความช่วยเหลือด้วย

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรมและศูนย์วิจัยและพัฒนาอาชญาวิทยาและกระบวนการยุติธรรม. (2552). คู่มือเพื่อดำเนินงานแผนสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ฉบับที่ 2 พ.ศ.2552 – 2556) สำหรับองค์กรเครือข่ายสิทธิมนุษยชน. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ณรงค์ ใจหาญ. (2552). หลักกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา. (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพมหานคร: วิญญูชน.

ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์. (2535). เหยื่ออาชญากรรม. ใน รายงานการวิจัย. สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

ผจงจิตต์ อธิคมนันทะ. (2525). สังคมวิทยาว่าด้วยอาชญากรรมและการลงโทษ. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

พระราชบัญญัติค่าตอบแทนผู้เสียหายและค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จำเลยในคดีอาญา (ฉบับที่ 2). (2559). ราชกิจจานุเบกษา เล่ม133 ตอนที่ 74 ก หน้า 1 (22 สิงหาคม 2559).

พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ. (2560). ราชกิจจานุเบกษา เล่ม134 ตอนที่ 123 ก หน้า 2 (12 ธันวาคม 2560).

มานิตย์ จุมปา. (2546). คำอธิบายรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540. (พิมพ์ครั้งที่ 5 แก้ไขเพิ่มเติม). กรุงเทพมหานคร: นิติธรรม.

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย. (2550). ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 124 ตอนที่ 47 ก หน้า 4 (24 สิงหาคม 2550).

. (2560). ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 134 ตอนที่ 40 ก หน้า 8 (6 เมษายน 2560).

วันชัย ศรีนวลนัด. (2552). ความสำคัญของสิทธิมนุษยชนกับนักกฎหมาย. กรุงเทพมหานคร: สถาบันพระปกเกล้า.

วีระวุธ ชัยชนะมงคล. (2531). ระบบควบคุมกระบวนการสอบสวนคดีอาญา: ทัศนะของพนักงานสอบสวน ศึกษาเฉพาะกรณีกอง

บังคับการตำรวจนครบาลพระนครเหนือ กองบัญชาการตำรวจนครบาล. ใน วิทยานิพนธ์สังคมสงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิต สาขาสังคมสงเคราะห์ศาสตร์. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

วีระศักดิ์ แสงสารพันธ์. (2544). ผู้เสียหายในคดีอาญา การศึกษาสิทธิและการคุ้มครองสิทธิของผู้เสียหายในกระบวนการยุติธรรมทางอาญาของไทย. ใน วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต สาขานิติศาสตร์. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

อัญชลี ฉายสุวรรณ. (2534). การทดแทนผู้เสียหายในคดีอาญาหรือเหยื่ออาชญากรรมโดยรัฐ. ใน วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานิติศาสตร์. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Henry, C. (1979). Black, Black’s law Dictionary. Boston: West Publishing.

Siegel, L. (2000). Criminology. University of Michigan: Wadsworth/Thomson Learning.