พุทธธรรมกับการพัฒนาจิตอาสานักเรียนในศตวรรษที่ 21

Main Article Content

พิทย์ธิดา พิทยสกุล
รัชนี จรุงศิรวัฒน์
ละเอียด จงกลนี

บทคัดย่อ

          บทความวิชาการนี้ ผู้เขียนจะนำเสนอพุทธธรรมกับการพัฒนาจิตอาสาของนักเรียนในศตวรรษที่ 21 ที่ได้จากการศึกษาสังเคราะห์วรรณกรรมไทย งานวิจัย อีกทั้งนโยบายด้านการศึกษาของไทยที่มีเนื้อหาสะท้อนถึง ความสำคัญและแนวทางในการพัฒนาจิตอาสาของนักเรียนในศตวรรษที่ 21 ซึ่งเป็นทั้งผู้ได้รับผลกระทบและความหวังของสังคมในช่วงที่ประเทศไทยก้าวเข้าสู่ประเทศพัฒนา วิถีชีวิตคนไทยในศตวรรษที่ 21 มีการเปลี่ยนแปลง ที่รวดเร็วและสลับซับซ้อนมากกว่าอดีต การเคลื่อนตัวเข้าสู่ยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม ครั้งที่ 4 หรือ Industry 4.0 ท่ามกลางกระแสทุนนิยมและการแข่งขันทางเศรษฐกิจ ส่งผลให้คนในสังคมมีค่านิยมทางวัตถุ มุ่งแสวงหาผลประโยชน์ให้กับตนเอง เกิดการเอารัดเอาเปรียบกัน ขาดการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมอย่างจริงจังและต่อเนื่อง ทำให้เกิดภาวะขาดสมดุลทั้งทางจิตใจและวัตถุ เป็นที่ยอมรับว่าการสร้างคนเริ่มจากการพัฒนาจิต ธรรมทั้งหลายมีใจเป็นประธานมีใจเป็นใหญ่ การปลูกฝังส่งเสริมแก่เยาวชนวัยเรียนในศตวรรษที่ 21 ให้มีจิตอาสา มีจิตแห่งการให้ความดีงามทั้งปวงแก่เพื่อนมนุษย์โดยเต็มใจจึงมีความสำคัญเป็นอันดับแรก ๆ ซึ่งต้องอาศัยความร่วมแรงร่วมใจจากสถาบันครอบครัว สถาบันการศึกษาและภาคีเครือข่ายทุกระดับเพื่อนำมาสู่เยาวชนที่มีจิตใจ ที่ดีงาม เมื่อนักเรียนจบการศึกษาจะมีคุณลักษณะจิตอาสาติดตัวแบบคงทน มีวัฒนธรรมการช่วยเหลือผู้อื่นในสังคม เกิดชุมชนที่เข้มแข็งและสร้างสรรค์เพื่อให้เกิดประโยชน์สุขแก่สังคมที่ก้าวสู่ประเทศพัฒนาต่อไป ทั้งนี้ B – LAS Model ซึ่งประกอบไปด้วย B – Buddhist, L – Learning, A – Acting, S – Sharing คือยุทธศาสตร์ที่ผู้เขียนจะนำเสนอเพื่อการพัฒนาจิตอาสาสำหรับนักเรียนในศตวรรษที่ 21 ต่อไป

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

ดวงเดือน พันธมนาวิน และคณะ. (2549). ทฤษฏีต้นไม้จริยธรรม: การวิจัยประยุกต์. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ธรรมนันทิกา แจ้งสว่าง. (2547). ผลการใช้โปรแกรมพัฒนาจิตสาธารณะด้วยบทบาทสมมุติกับตัวแบบของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. ใน วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ประยุกต์. มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒประสานมิตร.

นันทวัฒน์ ชุนชี. (2546). การใช้ตัวแบบสัญลักษณ์ผ่านหนังสือเรียนเล่มเล็กเชิงวรรณกรรมเพื่อพัฒนาจิตสาธารณะในนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2. ใน วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ประยุกต์. มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรจประสานมิตร.

บุญทัน ภูบาล. (2549). การใช้วีดีทัศน์ละครหุ่น เชิดเป็นตัวแบบเพื่อพัฒนาจิตสาธารณะของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2. ใน วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาการวิจัยและสถิติทางการศึกษา. มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ.

พระไพศาล วิสาโล. (2559). เครือข่ายจิตอาสา คู่มือจิตอาสาโครงการจิตอาสาเพื่อในหลวง. กรุงเทพมหานคร: สหธรรมมิก.

สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี. (2560). วารสารไทยคู่ฟ้าออนไลน์ เล่มที่ 33 มกราคม – มีนาคม 2560. เรียกใช้เมื่อ 11 มีนาคม 2563 จาก www.thagov.go.th

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. (2542). เอกสารชุดการส่งเสริมประสิทธิภาพและจริยธรรมในองค์กร. กรุงเทพมหานคร: สำนักงาน ก.พ.

สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2553). แนวทางการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนตามหลักสูตรแกนกลาง. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ.

สุคนธรส หุตะวัฒนะ. (2550). ผลของการใช้โปรแกรมพัฒนาจิตสาธารณะด้วยเทคนิค เสนอตัวแบบผ่านการ์ตูนร่วมกับการชี้แนะทางวาจาที่มีต่อจิตสาธารณะของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. ใน วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ประยุกต์. มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรจน์ประสานมิตร.

สุพักตร์ พิบูลย์. (2544). กลยุทธ์การวิจัยเพื่อพัฒนางาน วิจัยเพื่อพัฒนาองค์กร. นนทบุรี: จตุพรดีไซน์.

สุวิทย์ เมษินทรีย์. (2559). ประเทศไทย 4.0. เรียกใช้เมื่อ 12 มีนาคม 2563 จาก http://planning2.mju.ac.th/government/20111119104835_planning/Doc_25590823143652_358135.pdf

อัญชลี ยิ่งรักพันธุ์. (2560). ผลการใช้สถานการณ์จำลองสถานการณ์จำลองผสานกับเทคนิค การประเมินผลจากสภาพจริงเพื่อพัฒนาจิตสาธารณะของนักเรียน ชั้นประถมศึกษา ปีที่ 5. ใน วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาการวัดผลการศึกษา. มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์ทรวิโรจน์.