การเมืองกับการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน

Main Article Content

อภิญญา ฉัตรช่อฟ้า

บทคัดย่อ

          การเมืองเป็นเรื่องของความรู้สึกนึกคิดที่อยู่ในจิตใจของบุคคล และความรู้สึกนึกคิดนี้เป็นแนวทางหรือรูปแบบหรือมาตรฐานของแต่ละบุคคลที่จะใช้ในการประเมินเหตุการณ์หรือการรับรู้ทางการเมืองของบุคคลนั้น และการมีส่วนร่วมทางการเมืองที่มีส่วนสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาระบอบประชาธิปไตย รวมทั้งสิทธิและหน้าที่ของประชาชนในการเข้ามา มีส่วนร่วมทางการเมืองตามช่องทางและกระบวนการต่าง ๆ ตามที่กฎหมายรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันกำหนดไว้ ซึ่งหากประชาชนมีความเข้าใจในกระบวนการมีส่วนร่วมทางการเมือง พร้อมทั้งตื่นตัวเข้ามามีส่วนร่วมทางการเมืองมากขึ้นก็จะส่งผลต่อการพัฒนาระบอบประชาธิปไตย ซึ่งในประเทศไทยที่มีการเมืองการปกครองระบอบประชาธิปไตยที่สมบูรณ์ได้ยอมรับกันทั่วไปว่า การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนเป็นองค์ประกอบสำคัญอย่างยิ่งในระบอบประชาธิปไตย ทั้งนี้เพราะการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยตามคำนิยามของอับราฮัม ลินคอล์น อดีตประธานาธิบดีของประเทศสหรัฐอเมริกานั้น หมายถึง การปกครองของประชาชน โดยประชาชนและเพื่อประชาชน ซึ่งอำนาจสูงสุดหรืออำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนโดยประชาชนทำหน้าที่ในการปกครองตนเองโดยตรง แต่ในทางปฏิบัตินั้น ไม่สามารถกระทำได้ จึงเกิดรูปแบบประชาธิปไตยแบบตัวแทน (Representative Government) โดยประชาชนเลือกผู้แทนเข้าไปทำหน้าที่แทนตนในการกำหนดผู้ปกครอง (รัฐบาล) นโยบายและวิธีการปฏิบัติตามนโยบายแต่การเมืองการปกครองระบอบประชาธิปไตยจะดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพได้นั้น แก่นแท้ของประชาธิปไตยมิใช่ “ความเป็นตัวแทน” หาแต่อยู่ที่ “การมีส่วนร่วมทางการเมือง” ของประชาชนอย่างแท้จริง

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

เจมส์ แอล. เครย์ตัน. (2551). คู่มือการมีส่วนร่วมของประชาชน การตัดสินใจที่ดีกว่าโดยให้ชุมชนมีส่วนร่วม. แปลโดย ศ.นพ.วันชัย วัฒนศัพท์. ดร.ถวิลวดี บุรีกุล. ผศ.ดร.เมธิศา พงษ์ศักดิ์ศรี. ขอนแก่น: โรงพิมพ์ศิริภัณฑ์ ออฟเซ็ท.

ถวิลวดี บุรีกุล. (2552). พลวัตรการมีส่วนร่วมของประชาชน: จากอดีตจนถึงรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพมหานคร: บริษัท เอ.พี.กราฟิค ดีไซน์และการพิมพ์ จำกัด.

ทิพวรรณ หล่อสุวรรณรัตน์. (2546). ทฤษฎีองค์การสมัยใหม่ (Modern organization theory). (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์พิมพ์อักษร.

บวรศักดิ์ อุวรรณโณ และถวิลวดี บุรีกุล. (2548). ประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม Participatory Democracy. กรุงเทพมหานคร: สถาบันพระปกเกล้า.

บุญทัน ดอกไธสง. (2552). ประชาธิปไตยรากหญ้า. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ปัญญาชน.

มงคลเลิศ ด่านธานินทร์. (2551). หลักคิดชาตินิยมและมรดกทางวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาสังคมทันสมัย. กรุงเทพมหานคร: สถาบันวิถีทรรศน์.

ยุทธพร อิสรชัย. (2563). ถอดรหัสการเมืองไทย หลังวิกฤติโควิด. เรียกใช้เมื่อ 2563 พฤษภาคม 20 จาก ไทยรัฐออนไลน์: https://www.thairath.co.th/news/politic/1846003

วัชรา ไชยสาร. (2545). การมีส่วนร่วมในทางการเมืองกับการเมืองภาคประชาชน. รัฐสภาสาร, 53(5), 44-100.

สถาบันพระปกเกล้า. (2545). การกระจายอำนาจและการปกครองท้องถิ่นในประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร: ธรรมดาเพรส จำกัด.

สนธิ์ บางยี่ขัน. (2537). การเมืองการปกครองท้องถิ่นไทย. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพมหานคร: แสงจันทร์การพิมพ์.

สุริยันต์ สุวรรณราช. (2542). การพัฒนาการบริหารและการจัดการธุรกิจชุมชน: ศึกษากรณีธุรกิจยางพาราของชุมชนตำบลตะโหมด อำเภอตะโหมด จังหวัดพัทลุง. ใน รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

Daft, R. L. (2001). Organization theory and design. (7th ed). Mason, OH: South – Western.

David, E. (1971). A Framework for Political Analysis. Englewood Cliffs, N. J.: Prentice – Hall, Inc.

. (1971). The Political System: an Inquiry into the State of Political Science. (2nd ed). New York: Knopf.

Huntington, S. P. & Nelson, M. (1976). No easy choice: Political participation in developing countries. Cambridge: Harvard University Press.

Lester, W. M. (1968). Political Participation: How and Why do people get involved in political. Chicago: Rand McNally.

Lewis, D. (2002). The Place of organizational politics in strategic change. Strategic Change, 11, 25-34.

Marketeeronline. (2563). สถิติประชากรเน็ตโลก. เรียกใช้เมื่อ 20 พฤษภาคม 2563 จาก https://marketeeronline.co/ archives/143674