การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำทางวิชาการสำหรับครูโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายโสธร เขต 2

Main Article Content

กัญญาพัชร คำสะอาด
ธัชชัย จิตรนันท์

บทคัดย่อ

          บทความนี้มีจุดมุ่งหมาย 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ของภาวะผู้นำทางวิชาการสำหรับครูในโรงเรียนขนาดเล็ก 2) เพื่อพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำทางวิชาการสำหรับครูในโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายโสธร เขต 2 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครู จำนวน 270 คน ใช้เทคนิคการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสอบถาม แบบสอบสัมภาษณ์ และแบบประเมิน สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่    ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และดัชนีความต้องการจำเป็น


          ผลการวิจัยพบว่า: สภาพปัจจุบันของภาวะผู้นำทางวิชาการสำหรับครูโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายโสธร เขต 2 โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ( gif.latex?\bar{x} = 3.36) สภาพที่พึงประสงค์ของภาวะผู้นำทางวิชาการสำหรับครูโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายโสธร เขต 2 โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( gif.latex?\bar{x} = 4.74) ลำดับความต้องการจำเป็นในการพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำทางวิชาการสำหรับครูโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายโสธร เขต 2 โดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านการเป็นผู้นำและแบบอย่างทางการสอน ด้านการพัฒนานักเรียน และด้านการพัฒนาตนเองและเพื่อนร่วมงาน และด้านการมีส่วนร่วมในการพัฒนา ตามลำดับ โปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำทางวิชาการสำหรับครูโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายโสธร เขต 2 ประกอบด้วยองค์ประกอบ ดังนี้ 1) วัตถุประสงค์ของโปรแกรม 2) เนื้อหา 3) กิจกรรม 4) เครื่องมือ 5) การวัดและประเมินผล เนื้อหาของโปรแกรม ได้แก่ โมดูลที่ 1 การเป็นผู้นำและแบบอย่างทางการสอน โมดูลที่ 2 การมีส่วนร่วมในการพัฒนา โมดูลที่ 3 การพัฒนาตนเองและเพื่อนร่วมงาน โมดูลที่ 4 การพัฒนานักเรียน วิธีการพัฒนา คือ การศึกษาด้วยตนเอง การฝึกอบรม และการศึกษาดูงาน ผลการประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของโปรแกรม โดยผู้ทรงคุณวุฒิ 5 คน โดยรวม มีความเหมาะสมและมีความเป็นไปได้อยู่ในระดับมาก

Article Details

How to Cite
คำสะอาด ก., & จิตรนันท์ ธ. (2020). การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำทางวิชาการสำหรับครูโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายโสธร เขต 2. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 7(6), 390–402. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JMND/article/view/244564
บท
บทความวิจัย

References

ไกศิษฏ์ เปลรินทร์. (2554). การพัฒนาตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำทางวิชาการสำหรับผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. ใน ดุษฎีนิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2547). พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พุทธศักราช 2547. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงศึกษาธิการ.

จินตนา ศรีสารคาม. (2554). การวิจัยและพัฒนาโปรแกรมพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. ใน ดุษฎีนิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิตนิพนธ์ สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ปริญญา มีสุข. (2552). ผลของการออกแบบโปรแกรมการพัฒนาทางวิชาชีพแบบมีส่วนร่วมของครู. ใน วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วันทนา จําปาศรี. (2558). การพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคาย เขต 2. ใน วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

วิโรจน์ สารรัตนะ. (2548). ผู้บริหารโรงเรียน: สามมิติการพัฒนาวิชาชีพสู่ความเป็นผู้บริหารที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพมหานคร: ทิพย์วิสิทธ์.

วิจารณ์ พานิช. (2556). ครูเพื่อศิษย์สร้างห้องเรียนกลับทาง. สงขลา: บริษัท เอส.อาร์.พริ้นติ้ง แมสโปรดักส์ จำกัด.

สำนักวิชาการสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. (2558). แผนยุทธศาสตร์พัฒนาโรงเรียนขนาดเล็ก พ.ศ.2558-2561. เรียกใช้เมื่อ 23 พฤศจิกายน 2562 จาก https://library2.parliament.go.th/ebook/content-issue/2558/hi2558-106.pdf

สุริยา ฆ้องเสนาะ. (2558). สมศ. ชี้ครูขาดแคลน 9 พัน ร.ร. ตกประเมินเสนอควบโรงเรียนขนาดเล็ก-ใช้ทรัพยากรร่วมกัน. เรียกใช้เมื่อ 23 พฤศจิกายน 2562 จาก https://www.parliament.go.th/ewtadmin/ewt/parcy_train/ewt_dl_link.php?nid=31816

Chen, A. & Liu, X. (2009). Task Values: Cost and Choice Decisions in College Physical Education. Journal of Teaching in Physical Education, 28(2), 192-213.

Duke, J. T. (1994). Conflict and Power in Social Life. Provo Utha: Brighman Yong University Press.

Ivancevich, J. M. & Matteson, T. M. (2002). Organization Behavior and Management. (6thed). Houston: McGraw-Hill.

Neuman, M. & Simmons, W. (2000). Leadership for student learning. Phi Delta Kappan, 82(2000), 8-12.