สารัตถธรรมที่ปรากฏในพิธีกรรมการอุปสมบททางพระพุทธศาสนา

Main Article Content

พระครูประสุตโพธิคุณ (จิภาณุ สุวรรณรงค์)

บทคัดย่อ

 บทความวิชาการนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อตอบข้อสงสัยที่ว่า การอุปสมบทเป็นเรื่องเกี่ยวกับพิธีกรรม ทำอย่างไรพิธีกรรมการอุปสมบทจึงจะเกิดประโยชน์อย่างแท้จริง เป็นการค้นหาสารัตถธรรมจากพิธีกรรมการอุปสมบท การอุปสมบทเป็นการให้ผู้มีจิตศรัทธาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาเข้ามาสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตด้วยการเปลี่ยนแปลงจากเพศฆราวาสมาสู่  เพศบรรพชิต ซึ่งนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงหน้าที่ของเพศพระภิกษุ ด้วยการประพฤติปฏิบัติอย่างมั่นคงในองค์แห่งภิกษุใหม่ 5 ประการ อันประกอบด้วย 1) การสำรวมในพระปาติโมกข์ รักษาศีลเคร่งครัด ทั้งในส่วนเว้นข้อห้าม และทำตามข้ออนุญาต 2) สำรวมอินทรีย์ 3) พูดคุยมีขอบเขต 4) ปลีกกายอยู่สงบ และ 5) ปลูกฝังความเห็นชอบ เพื่อการบ่มเพาะอุปนิสัยให้เป็นผู้มีความสุขุม เยือกเย็น มีวิจารณญาณในการตัดสินใจ มีความเข้าใจสารัตถธรรมในหลักคารวตา 6 อันประกอบด้วย 1) สัตถุคารวตา ความเคารพในพระศาสดา 2) ธัมมคารวตา ความเคารพในพระธรรม 3) สังฆคารวตา ความเคารพในพระสงฆ์ 4) สิกขาคารวตา ความเคารพในการศึกษา 5) อัปปมาทคารวตา ความเคารพในความไม่ประมาท และ 6) ปฏิสันถารคารวตา ความเคารพในปฏิสันถาร หลักความกตัญญูกตเวทีต่อบิดามารดา ผู้มีอุปการคุณ อีกทั้ง ช่วยขัดเกลาผู้บวชให้เป็นผู้มีสัมมาทิฐิเป็นฐานในการดำเนินชีวิตตามครรลองครองธรรมด้วยการฝึกอบรมความประพฤติทางกาย วาจาและจิตใจให้มีความเข้มแข็ง มั่นคง เป็นสุข และให้มีความรู้ความเข้าใจสิ่งทั้งหลายตามความเป็นจริงด้วยหลักไตรสิกขา อันประกอบด้วยศีล สมาธิ ปัญญา เพื่อเป็นการปลูกฝังความเป็นผู้นำทั้งระดับบุคคล ครอบครัว สังคมและประเทศชาติ

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

พระไพศาล วิสาโล. (2546). พุทธศาสนาไทยในอนาคต: แนวโน้มและทางออกจากวิกฤติ. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิสดศรี - สฤษดิ์วงษ์.

พระธรรมโกศาจารย์ (ปัญญานันทภิกขุ). (2543). คำสอนในพระพุทธศาสนา. นนทบุรี: กองทุนปัญญานันทธรรม.

. (2555). เมื่อเราบวช. ชลบุรี: ประยูรวงศ์พริ้นติ้ง จำกัด.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). (2551). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์. (พิมพ์ครั้งที่ 11). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์จันทร์เพ็ญ.

. (2556). สอนนาค - สอนฑิต. (พิมพ์ครั้งที่ 25). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ผลิธัมม์.

พุทธทาสภิกขุ. (2543). บวชทำไม. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: สุขภาพใจ.

. (2546). มนุสสธรรม. ไชยา: ธรรมทานมูลนิธิ.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2500). มหาจุฬาเตปิฏกํ. วินย.1. พระนคร: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

. (2500). มหาจุฬาเตปิฏกํ. วินย.4. พระนคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

. (2500). มหาจุฬาเตปิฏกํ. สุตฺตนฺต. 21. พระนคร: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

. (2500). มหาจุฬาเตปิฏกํ. สุตฺตนฺต. 22. พระนคร: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

. (2500). มหาจุฬาเตปิฏกํ. สุตฺตนฺต. 23. พระนคร: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.