การพัฒนาแนวทางการดำเนินงานตามระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา มหาสารคาม เขต 3

Main Article Content

นพเกล้า ทองธรรมมา
สุวัฒน์ จุลสุวรรณ

บทคัดย่อ

          บทความฉบับนี้เป็นการวิจัยและพัฒนาแนวทางการดำเนินงานตามระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน แบ่งเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่1 ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นการดำเนินงานตามระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคามเขต 3  กลุ่มตัวอย่างได้แก่ครูประจำชั้นจำนวน 313 คนเครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสอบถาม ระยะที่ 2 ศึกษาแนวทางในการพัฒนาการดำเนินตามระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโดยการสัมภาษณ์จากโรงเรียนที่มีวิธีการปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice) เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ และแบบประเมินความเหมาะสม


          ผลการวิจัยพบว่า: สภาพปัจจุบันโดยภาพรวมอยู่ในระดับ มากเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากทั้ง 5 ด้าน สภาพที่พึงประสงค์โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุดเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน อยู่ในระดับมาก ที่สุด ทั้ง 5 ด้านผลการวิเคราะห์ความต้องการจำเป็นเกี่ยวกับการดำเนินงานตามระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน พบว่า ความต้องการจำเป็นในด้านการคัดกรองนักเรียนอยู่ในระดับสูงสุดลำดับที่ 2 คือ ด้านการส่งเสริมนักเรียนลำดับที่ 3 มี 2 ด้าน โดยค่าเฉลี่ยเท่ากัน ได้แก่ ด้านการรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล และด้านการส่งต่อนักเรียน ลำดับสุดท้าย คือ ด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหา  จากผลการศึกษาการพัฒนาแนวทางการดำเนินงานตามระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนได้แนวทางในการพัฒนาการดำเนินงานตามระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนได้ทั้งหมด 5 องค์ประกอบ 34 แนวทางดังนี้ 1) ด้านการรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล จำนวน 6 แนวทาง 2) ด้านการคัดกรองนักเรียนจำนวน 7 แนวทาง 3) ด้านการส่งเสริมและพัฒนานักเรียนจำนวน 7 แนวทาง 4) ด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหาจำนวน 8 แนวทาง 5) ด้านการส่งต่อนักเรียนจำนวน 6 แนวทาง 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เสถียร ทามัง. (2551). การดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนเทศบาลวัดศรีปิงเมือง จังหวัดเชียงใหม่. ใน วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

กรมสุขภาพจิต. (2545). คู่มือที่ปรึกษาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน. กรุงเทพมหานคร: ยูเรนัสอิมเมจกรุ๊ป.

นันทรัตน์ เกื้อหนุน. (2553). การดำเนินงานตามระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ของสถานศึกษาที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของนักเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 1. ใน วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี.

บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น.

พรชนก รัศมีรัตน์. (2552). ปัญหาและแนวทางแก้ไขปัญหากระบวนการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครราชสีมา เขต 4. ใน วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น.

วีระศักดิ์ จันทะรัตน์. (2553). การนำเสนอรูปแบบการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานช่วงชั้นที่ 3 และช่วงชั้นที่ 4 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาศรีสะเกษเขต 1. ใน วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.

สมคะเน พิสัยพันธ์. (2555). การพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนที่ชุมชนมีส่วนร่วมสำหรับโรงเรียนขนาดเล็ก. ใน วิทยานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาการศึกษา. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่2) พ.ศ. 2545. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.

สุทธิรัตน์ หัตถกิจ. (2552). ปัญหาและแนวทางแก้ไขการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสระแก้วเขต 1. ใน วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยบูรพา.

Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Journal Education and Psychology Measurement, 3(30), 607-610.