การบังคับใช้กฎหมายกับหลักสิทธิมนุษยชนของข้าราชการตำรวจ สถานีตำรวจภูธรเมืองสุราษฎร์ธานี

Main Article Content

วิชาญ เครือรัตน์

บทคัดย่อ

          บทความฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะ ปัญหา และเสนอแนะแนวทางการแก้ไขปัญหาการบังคับใช้กฎหมายกับหลักสิทธิมนุษยชนของข้าราชการตำรวจ สถานีตำรวจภูธรเมืองสุราษฎร์ธานี โดยมีการวิจัย 3 ขั้นตอน ผลการวิจัย ขั้นที่ 1 ศึกษาเอกสารทางวิชาการ กำหนดเป็นกรอบแนวความคิดในการวิจัย ขั้นที่ 2 ศึกษาลักษณะ ปัญหาและข้อเสนอแนะแนวทางแก้ไข จากภาคสนาม เชิงปริมาณ จากประชาชน จำนวน 399 คน และข้าราชการตำรวจ จำนวน 156 คน พบว่า ผู้ให้ข้อมูลส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุ 41 – 59 ปี จบการศึกษาระดับอนุปริญญาตรี 218 คน และระยะเวลาที่อาศัยในพื้นที่ มากกว่า 1 ปี 368 คน จากกลุ่มข้าราชการตำรวจ พบว่า การแต่งเครื่องแบบถูกต้องตามระเบียบอยู่ในระดับสูง ภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง เชิงคุณภาพ จากประชาชนและข้าราชการตำรวจ จำนวน 15 คน ผลการวิจัย พบว่า ด้านการจับกุม ตำรวจปฏิบัติตามกฎหมาย ยึดหลักสิทธิมนุษยชน คำนึงถึงคุณค่าของคนในฐานะเป็นมนุษย์ มีความเท่าเทียมกัน ตรวจสอบได้ ใช้หลักนิติธรรม, ด้านการค้น ไม่ให้กระทบต่อสิทธิและเสรีภาพของประชาชน ไม่มีการทารุณกรรม แสดงความบริสุทธิ์ใจก่อนลงมือค้น คำนึงถึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ และเท่าเทียมกัน ยึดหลักสากลและหลักนิติธรรม, ด้านการควบคุม เคารพสิทธิและเสรีภาพ มีความเท่าเทียมกัน ตรวจสอบได้และใช้หลักนิติธรรม, ด้านการใช้กำลัง อาวุธ และอุปกรณ์อื่น ๆ จะใช้เมื่อมีความจำเป็น ยึดหลักจากเบาไปหาหนัก ให้ความเท่าเทียมกัน ขั้นที่ 3 พบว่า เจ้าหน้าที่ตำรวจต้องสร้างความเชื่อถือศรัทธา และความสัมพันธ์ที่ดีกับประชาชน ส่งเสริมให้ความรู้สาขานิติศาสตร์ในทุกหลักสูตร ผู้บังคับบัญชาไม่เลือกปฏิบัติ ไม่ยึดกับระบบอุปถัมภ์ และไม่หวั่นเกรงต่อผู้มีอิทธิพล

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กลุ่มงานข้อมูลสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานจังหวัดสุโขทัย. (2552). ปฏิญญาสากลว่าด้วยเรื่องสิทธิมนุษยชน. (พิมพ์ครั้งที่ 3). สุโขทัย: สารคดี.

ชาคริต ขันนาโพธิ์. (2556). ทัศนคติต่อการบังคับใช้พระราชบัญญัติจราจรทางบกในจังหวัดมหาสารคาม: กรณีศึกษานิสิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 3(5), 106-118.

พิเชษฐ พิณทอง. (2554). การใช้อำนาจเกินหน้าที่ของตำรวจ: ผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชน. วารสารกระบวนการยุติธรรม, 4(1), 33-46.

เพ็ญนภา จันทร์แดง. (2552). การแทรกแซงสื่อมวลชนเพื่อผลทางการเมือง: ศึกษาเปรียบเทียบรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร กับรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ. วารสารศรีปทุม ปริทัศน์ ฉบับมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 9(2), 89-90.

วันชัย ศรีนวลนัด. (2552). ความสำคัญของสิทธิมนุษยชนกับนักกฎหมาย. ใน เอกสารการบรรยายให้ความรู้ผู้เข้ารับการอบรมหลักสูตรการพัฒนานักกฎหมายภาครัฐระดับกลางรุ่นที่ 9. สถาบันพระปกเกล้าร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา.

สถาบันพระปกเกล้า. (2548). ข้อเสนอแนะในการแก้ไขปรับปรุงการบริหารงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจในการดำเนินคดีอาญาในชั้นสอบสวน. กรุงเทพมหานคร: สถาบันพระปกเกล้า.

สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ. (2558). คู่มือการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจตามหลักสิทธิมนุษยชน. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร: ห้างหุ้นส่วนจำกัดธันวาธุรกิจ.

สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ. (2562). สถิติเรื่องร้องเรียน. เรียกใช้เมื่อ 11 พฤศจิกายน 2562 จาก http://www.nhrc.or.th/NHRCT-Work/Statistical- information/Statistical-information-on-complaints/Monthly(Year-Now)-(2).aspx

Cronbach, L.J. (1970). Essential of psychology testing. (3 rd ed.) New York : University of Chicago.

Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607–610.

Likert, R. A. (1961). New Patterns of Management. New York: McGraw-Hill Book Company Inc.