ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าของผู้บริโภคจากร้านค้าปลีกสมัยใหม่ ในเขตกรุงเทพมหานคร

Main Article Content

วลัยลักษณ์ เพ็ชรแสน
นวพร ขู้เปี้ยเต้ง

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) มีวัตถุประสงค์ในการวิจัยเพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าของผู้บริโภคจากร้านค้าปลีกสมัยใหม่ ในเขตกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างในการศึกษา คือผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 400 ราย ผู้วิจัยได้กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยการใช้สูตร Taro Yamane  ที่ระดับความเชื่อมั่น 95% การเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการใช้แบบสอบถาม และวิเคราะห์ผลโดยใช้สถิติ ที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ การวิเคราะห์ความสัมพันธ์เบื้องต้นด้วยค่าสถิติสหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson Product Moment Correlation) และการวิเคราะห์ความเป็นอิสระของตัวแปรสาเหตุด้วยค่าสถิติ Variance Inflation Factor (VIF) ทดสอบความเป็นอิสระของตัวแปรสาเหตุ และทดสอบสมมติฐานโดยการวิเคราะห์การถดถอยแบบพหุคูณ


          ผลการวิจัยพบว่า: ร้านค้าปลีกสมัยใหม่ที่มีผู้บริโภคใช้บริการมากที่สุด ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 45.25 คือ เซเว่น อีเลฟเว่น (7 - Eleven) และจากการทดสอบสมมติฐานพบว่าปัจจัยด้านสังคม วัฒนธรรม เศรษฐกิจ และนโยบายของภาครัฐมีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าของผู้บริโภคจากร้านค้าปลีกสมัยใหม่ ในเขตกรุงเทพมหานคร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และยังเป็นปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อมากที่สุด ( gif.latex?\beta= 0.438) ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าของผู้บริโภคจากร้านค้าปลีกสมัยใหม่ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 อีกปัจจัย คือ ปัจจัยด้านสินค้า ขณะที่ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าของผู้บริโภคจากร้านค้าปลีกสมัยใหม่ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 คือ ปัจจัยด้านทำเลที่ตั้งร้าน และปัจจัยด้านการให้บริการลูกค้า

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จิรภัทร ทวีวัฒน์. (2558). การศึกษาพฤติกรรมการซื้อสินค้าในร้านสะดวกซื้อของผู้บริโภค ในเขตพื้นที่อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร, 7(1), 54-63.

ชวัลนุช สินธรโสภณ. (2553). ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการเลือกซื้อสินค้าที่ร้านสะดวกซื้อเซเว่นอีเลฟเว่น ในเขตกรุงเทพมหานคร. ใน วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการประกอบการ. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ธันยานี เคนคำภา. (2559). กลยุทธก์ารค้าปลีก (ร้านสะดวกซื้อ) ที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการซื้อสินค้าของผู้บริโภคใน ร้าน Banthon Oriental Supermarket in Bath, United Kingdom. ใน สารนิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาบริหารธุรกิจ. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

ธีรเดช สนองทวีพร. (2561). ปัจจัยส่วนประสมการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าในร้านค้าปลีกสมัยใหม่ขนาดใหญ่ของผู้บริโภคในเขตอำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี. วารสารวิชาการ สถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ, 4(1), 342-354.

ประชาชาติธุรกิจ. (2562). Online Lifestyle เพิ่มโอกาสสร้างรายได้ให้ธุรกิจ. เรียกใช้เมื่อ 24 มกราคม 2563 จาก https://www.prachachat.net/columns/news-394276

พิษณุ อิ่มวิญญาณ. (2554). การจัดร้านค้าปลีกที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการซื้อสินค้าของผู้บริโภค: กรณีศึกษาร้านสะดวกซื้อในเขตกรุงเทพมหานคร. ใน วิทยานิพนธ์บริหารมหาบัณฑิต สาขาวิชาการตลาด. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

มะลิวัลย์ แสงสวัสดิ์. (2558). ปัจจัยความเชื่อมั่นและความภักดี ที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจใช้บริการ ห้างสรรพสินค้า กรณีศึกษาห้างสรรพสินค้าชั้นนำในกรุงเทพมหานคร. ใน สารนิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาบริหารธุรกิจ, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

สำนักงานสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2562). ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2561 – 2580). เรียกใช้เมื่อ 25 กันยายน 2562 จาก http://nscr.nesdb.go.th/ยุทธศาสตร์ชาติ/.

สินิทรา สุขสวัสดิ์ และทิพย์รัตน์ เลาหวิเชียร. (2561). อิทธิพลของส่วนประสมการค้าปลีกที่ส่งผลต่อความจงรักภักดีของลูกค้าร้านค้าปลีก ประเภทไฮเปอร์มาร์เก็ตในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารปัญญาภิวัฒน์, 10(ฉบับพิเศษ), 1-12.

Nunnally, J. C. (1978). Psychometric Theory. New York: McGraw-Hill.

Rorinelli, R. J. & Hambleton, R. K. (1977). On the use of content specialists in the assessment of criterion referenced test item validity. Dutch Journal of Educational Research, 2(1), 49-60.

Yamane, T. (1973). Statistic: An Introductory Analysis. New York: Harper and Row.