ระบบอุปถัมภ์กับอำนาจการต่อรองของพรรคการเมือง

Main Article Content

พระครูวาทีธรรมวิภัช .
พระครูวิจิตรรัตนวัตร .
พระครูรัตนสุตากร .
ไพรัตน์ ฉิมหาด

บทคัดย่อ

          การเมืองไทยในปัจจุบันนั้น ระบบอุปถัมภ์ยังคงมีอิทธิพลอยู่ไม่น้อย เพียงแต่เปลี่ยนวิธีการไปตามกาลเวลาและรูปแบบของของสังคมที่แปรเปลี่ยนตามเศรษฐกิจและสังคม โดยเฉพาะการนำระบบอุปถัมภ์มาใช้เป็นกลไกในการแสวงหาอำนาจทางการเมืองภายใต้ระบอบประชาธิปไตย จนเกิดเป็นวัฒนธรรมประชาธิปไตยแบบอุปถัมภ์ ระบบอุปถัมภ์กับอำนาจการต่อรองของพรรคการเมืองจะเป็นลักษณะอย่างไรนั่น ผู้เขียนได้ทำการศึกษาจากหนังสือ วารสาร รายงานวิจัย ซึ่งบทความนี้จะเสนอความสัมพันธ์เชิงอุปถัมภ์ทั้งในระดับบนและระดับล่าง หรือนักการเมืองที่ต้องการขึ้นมามีอำนาจ ผ่านกระบวนการเลือกตั้งที่ไม่เพียงต้องมีความสัมพันธ์ในเชิงอุปถัมภ์กับประชาชนในเขตเลือกตั้งเท่านั้น แต่อาจหมายรวมถึงการกระทำต่าง ๆ ซึ่งเป็นสิ่งที่ผิดศีลธรรม มีความขัดแย้งหรือไม่สอดคล้องตามกฎและกติกาของสังคมประชาธิปไตย เช่น การซื้อเสียง การคอรัปชั่น ฯลฯ การที่ระบบอุปถัมภ์เป็นลักษณะของความสัมพันธ์ที่เกื้อหนุนหรือแลกเปลี่ยน ผลประโยชน์ระหว่างกันจึงก่อให้เกิดการแบ่งกลุ่มหรือแบ่งแยกเป็นพวกพ้องกันอย่างชัดเจน การเอื้อประโยชน์ให้กับคนใกล้ชิด การตอบแทนซึ่งกันและกัน การมุ่งแสวงหาผลประโยชน์ให้กับตนเองหรือพวกพ้องมากกว่าการดำเนินการใด ๆ ที่จะเป็นประโยชน์ต่อสังคมส่วนรวม โดยสิ่งดังกล่าวนี้แสดงให้เห็นถึงการขาดความรับผิดชอบต่อสังคมและจิตสำนึกที่ดีในฐานะพลเมืองคนหนึ่งของประเทศ และตราบใดที่ระบบอุปถัมภ์ยังคงมีบทบาทอยู่ในการเมืองก็ย่อมส่งผลต่อการพัฒนาท้องถิ่นและประเทศชาติ อีกทั้งยังเป็นการส่งเสริมวัฒนธรรมแบบอำนาจนิยมให้เบ่งบานในสังคมการเมืองไทยต่อไป ซึ่งนับเป็นสิ่งที่ขัดกับวิถีทางการปกครองในระบอบประชาธิปไตยโดยสิ้นเชิง ทั้งนี้การเจรจาต่อรองในทางการเมืองนั้นอาจต้องใช้กลยุทธ์เป็นกรณีพิเศษมากกว่าการเจรจาต่อรองโดยทั่วไป เพราะการเมืองเป็นเรื่องของอำนาจและผลประโยชน์ ทั้งทางตรงและทางอ้อม

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

กิตติทัศน์ ผกาทอง. (2561). การเจรจาต่อรองทางการเมือง. เรียกใช้เมื่อ 9 เมาษายน 2563 จาก https://www.matichon.co.th/article/news_983127

จักษ์ พันธ์ชูเพชร. (2549). การเมืองการปกครองไทย. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์พั้นช์กรุ๊ป.

ฉัตรชัย สุระภา. (2554). ระบบอุปถัมภ์ในการเมืองท้องถิ่น: ศึกษาเฉพาะกรณีองค์การบริหารส่วนตำบลธัญญา อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์. ใน วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขารัฐศาตร์. มหาวิทยาลัยสารคาม.

วิศิษฐ ทวีเศรษฐ และคณะ. (2554). การเมืองและการปกครองไทย. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

สีดาา สอนศรี และคณะ. (2552). เอเชียตะวันออกเฉียงใต้: การเมือง เศรษฐกิจและการต่างประเทศหลังวิกฤติ เศรษฐกิจ (พ.ศ.2540 - 2550). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรมหาวิทยาลัย.

สุจิต บุญบงการ. (2545). ระบบอุปถัมภ์. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬามหาวิทยาลัย.

อมรา พงศาพิชญ์ และปรีชา คุวินทร์พันธุ์. (2554). ระบบอุปถัมภ์. กรุงเทพมหานคร: วิญญู.

Huntington, S.P. (1986). Political order in changing societies. London: Yale University Press.

La Palombara, J., and Weiner, M. (1986). Political parties and political development. New Jersey: Princeton University Press.

Lande, E. (1996). Social Change. New York: The Macmillan Company.