การเมืองภาคพลเมืองกับการมีส่วนร่วมทางการเมืองในสังคมไทย

Main Article Content

ไพรัตน์ ฉิมหาด
บัญญัติ แพรกปาน
สามิตร อ่อนคง

บทคัดย่อ

การเมืองภาคพลเมืองกับการมีส่วนร่วมทางการเมือง เป็นสถานการณ์ที่ประชาชนมีสิทธิและเสรีภาพในการเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการทางนโยบาย มีการกระจายอำนาจให้ประชาชนสามารถกำหนดวิถีชีวิตของตนเองโดยไม่ละเมิดสิทธิของผู้อื่น ภายใต้กรอบของกฎหมาย โดยเนื้อหาจะกล่าวถึงกิจกรรมที่เกิดขี้นจากนโยบายของรัฐที่อาจเกิดผลกระทบต่อประชาชน ประชาชนจะต้องเข้ามามีส่วนร่วม และประชาชนสามารถดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ทางการเมืองได้ด้วยตนเอง ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ได้มีเจตนารมณ์สำคัญในการเปลี่ยนการเมืองของนักการเมืองเป็นการเมืองของพลเมืองโดยส่งเสริมสิทธิและเสรีภาพของประชาชน อีกทั้งประชาชนมีส่วนร่วมในการเมืองพลเมืองที่ควบคู่ไปกับการดำเนินกิจกรรมทางการเมือง อีกทั้งการส่งเสริมการเมืองภาคพลเมืองให้มีประสิทธิผล ต้องมีการสนับสนุนการติดตามและตรวจสอบกระบวนการปฏิรูปการเมือง การเกิดองค์กรประชาชน การรณรงค์เพื่อการเรียนรู้ประชาธิปไตยของประชาชน การสร้างสำนึกพลเมือง เพื่อเสริมสร้างวัฒนธรรมประชาธิปไตย การให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการตรวจสอบการเลือกตั้งและการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ ทั้งนี้ ต้องมีการสนับสนุนที่เป็นรูปธรรมเช่น กฎหมายที่ส่งเสริมและสนับสนุนการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนหรือการเมืองภาคพลเมืองเพื่อให้ประชาชนสามารถทำกิจกรรมการเมืองภาคพลเมืองได้อย่างเต็มที่ เข้มแข็ง ต่อเนื่อง อิสระ มีต้นทุนต่ำ และไม่เป็นภาระแก่ตนเองมากเกินจำเป็น ซึ่งสรุปได้ว่าการมีส่วนร่วมทางการเมืองในการกำหนดนโยบายของรัฐบาล และเป็นกระบวนการชี้วัดพัฒนาการทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตยของแต่ละประเทศ ดังนั้นประเทศ ที่พัฒนาการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอยู่ในระดับที่ดีแล้ว มักจะกำหนดให้ประชาชนทุกระดับ มีสิทธิในการมีส่วนร่วมทางการเมืองตามกฎหมาย และมีผลในทางปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

คณะกรรมการปฏิรูปการเมือง. (2538). รายงานผลการทำงานของคณะกรรมการปฏิรูปการเมือง (คปก). กรุงเทพมหานคร: ม.ป.ท.

เชาวนะ ไตรมาศ. (2548). การเสริมสร้างพลังประชาชนกับการสร้างฐานรากประชาธิปไตยแบบส่วนรวมในศูนย์ประชุมสหประชาชาติ. กรุงเทพมหานคร: ส.เจริญการพิมพ์.

ปริญญา เทวานฤมิตรกุล. (2555). การศึกษาเพื่อสร้างพลเมือง. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิสร้างเสริมสุขภาพ.

เรืองวิทย์ เกษสุวรรณ. (2550). ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับรัฐประศาสนศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: บริษัท บพิธีการพิมพ์.

วสันต์ สุวรรณ. (2547). การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในองค์การบริหารส่วนตำบล: ศึกษาเฉพาะกรณีตำบลหนองจ๊อม อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่. ใน วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการเมืองและการปกครอง. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

วิศาล ศรีมหาวโร. (2556). สังคมวิทยาการเมืองการปกครอง. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: โอเอส.พริ้นติ้ง เฮ้าส์.

ศรัญยุ หมั้นทรัพย์. (2550). การศึกษาเพื่อสร้างพลเมือง: รากฐานของการเมืองภาคพลเมือง. กรุงเทพมหานคร: สถาบันพระปกเกล้า.

สํานักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. (2554). การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน. กรุงเทพมหานคร: สํานักการพิมพ์สํานักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.

สำนักงานเลขาธิการและวุฒิสภา. (2554). รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2550. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานเลขาธิการและวุฒิสภา.

สุพรรณี สายแก้ว. (2548). การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในเขตเทศบาลตำบลเลาขวัญ อำเภอเลาขวัญ จังหวัดกาญจนบุรี. ใน วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการเมืองการปกครอง. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

อนุชาติ พวงสำลี และกฤติยา อาชาวนิจกลุ. (2552). ขบวนการประชาสังคมไทย: การเคลื่อนไหวภาคพลเมือง. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

Etzioni, A. (1975). A comparative analysis of complex organizations: On power, involvement, and their correlates. New York: Free Press.