พฤติกรรมการสอนของครูกับการเรียนรู้ของผู้เรียน

Main Article Content

จินดา ลาโพธิ์

บทคัดย่อ

บทความนี้มีความมุ่งหมายที่จะสะท้อนให้เห็นถึงความสำคัญของพฤติกรรมการสอนของครูที่มีต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน การจัดการเรียนการสอน แม้จะได้ดำเนินการกันมาอย่างเป็นระบบ มีขั้นตอน และมีรูปแบบที่หลากหลายต่อเนื่องกันมาหลายทศวรรษแล้วก็ตามแต่ผลสัมฤทธิ์ก็ยังไม่สามารถตอบโจทย์ของสังคมที่ต้องการผลผลิตที่เป็นทั้งคนดี และคนเก่งได้ครูหรือผู้สอนจึงมีความจำเป็นที่จะต้องพัฒนาพฤติกรรมการสอนของตนอยู่เสมอ การที่ผู้สอนสามารถสร้างศรัทธาให้เกิดขึ้นกับผู้เรียนได้ ย่อมง่ายแก่การปลูกฝังทั้งด้านองค์ความรู้ ความสามารถในเนื้อหาสาระวิชา และคุณธรรม จริยธรรม ดังนั้นครูหรือผู้สอนจึงต้องมีจิตวิญญาณความเป็นครูอย่างแท้จริง เพราะคุณสมบัติดังกล่าวจะสะท้อนออกมาในพฤติกรรมการสอนของครู ตลอดจนในทุกอิริยาบถของการปฏิบัติตัวของครูด้วย พฤติกรรมการสอนของครูที่บ่งบอกถึงความเป็นผู้มีจิตวิญญาณความเป็นครูสามารถพิจารณาได้จากประเด็นหลัก ๆ 3 ประเด็น ได้แก่ บุคลิกภาพของครู ความรอบรู้ในศาสตร์ที่สอน และพฤติกรรมการสอน


          การศึกษาแนวคิด ทฤษฎีเกี่ยวกับพฤติกรรมการสอนที่นักการศึกษาและนักวิชาการได้นำเสนอไว้ จะเป็นแนวทางในการนำมาปรับใช้ในการพัฒนาพฤติกรรมการสอนเพื่อให้ครูมีศักยภาพของความเป็นผู้มีจิตวิญญาณความเป็นครูอันจะยังผลให้การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนมีความทันสมัยเท่าทันกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลกในยุคศตวรรษที่ 21 ได้ นอกจากนั้น การนำเอาแนวคิดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานผสมผสานกับแนวคิดกลวิธีซินเนคติคส์ก็เป็นอีกแนวทางหนึ่งที่สามารถพัฒนาผู้เรียนให้เป็นคนดี และเป็นคนเก่งได้เช่นเดียวกัน ทั้งนี้ผู้เขียนได้ศึกษาและนำไปทดลองแล้วพบว่าผลสัมฤทธิ์ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนบรรลุตามวัตถุประสงค์อย่างน่าพึงพอใจ

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

จินดา ลาโพธิ์. (2560). วาทการสำหรับครู. สกลนคร: โรงพิมพ์สกลนครการพิมพ์.

จินดา ลาโพธิ์. (2562). การพัฒนารูปแบบการสอนรายวิชาการสอนเขียนเชิงสร้างสรรค์สำหรับครูภาษาไทยตามแนวคิดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานผสมผสานกลวิธีซินเนคติคส์ สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาวิชาภาษาไทย. ใน ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิจัยหลักสูตรและการสอน. มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

ทิพาพร สุจารี. (2553). การพัฒนารูปแบบการสอนภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจโดยใช้ยุทธศาสตร์การเสริมต่อการเรียนรู้ประสบการณ์การอ่านสำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏ. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม: ว. มรม, 4(3). 67-77.
ทิศนา แขมมณี. (2558). ศาสตร์การสอน. (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นวลจิตต์ เชาวกีรติพงศ์. (2542). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนที่เน้นทักษะปฏิบัติสำหรับครูวิชาชีพ. ใน ดุษฎีนิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ประยูร บุญใช้. (2549). เอกสารประกอบการสอนวิชา การเรียนการสอนเพื่อพัฒนาความคิด 1025305. สกลนคร: มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

ปริชมน กาลพัฒน์. (2558). การพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ เพื่อเสริมสร้างทักษะทางภาษาแบบองค์รวม สำหรับเด็กปฐมวัย. ใน ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชานวัตกรรมหลักสูตรและการเรียนรู้. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

พรพิไล เลิศวิชา. (2552). การสอนภาษาไทยตามแนวคิด Brain Based Learning. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2556). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พุทธศักราช 2554. กรุงเทพมหานคร: นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่นส์.

วัลนิกา ฉลากบาง. (2559). จิตวิญญาณความเป็นครู: คุณลักษณะสำาคัญของครูมืออาชีพ. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม, 6(2), 123-128.

วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิสดศรี - สฤษดิ์วงศ์.

อดิพันธุ์ ประสิทธิ์. (2559). การพัฒนาการจัดการเรียนการเรียนรู้พลศึกษาโดยใช้สมองเป็นฐานเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น. ใน ดุษฎีนิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาสุขศึกษาและพลศึกษา. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

Jensen, Eric P. (2008). Brain-based Learning: the new paradigmof teaching 2nd ed. California: Corwin Press.

Mayer, Tim. (2015). One Simple Word: From Creative Writing to Creative Writing Studies. College English, 71(3), 217-228.

Ozden, M. & Gultekin, M. . (2008). The Effects of Brain-based Learning on Academic Achievement and Retention of Knowledge in Science Course. Electronic Journal of Science Education, 12(1), 1-17.