ผลกระทบของบล็อกเชนที่มีต่อความปลอดภัยข้อมูลบัญชี

Main Article Content

ฐิตาภรณ์ สินจรูญศักดิ์
อิศรา นาคะวิสุทธิ์

บทคัดย่อ

การประยุกต์เทคโนโลยีออนไลน์กับงานบัญชีมีการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง เริ่มเห็นได้ชัดเจนมากขึ้น เมื่อมีการนำระบบเทคโนโลยีออนไลน์มาใช้ เช่น การนำระบบคลาวด์มาประยุกต์ใช้กับระบบบัญชี ทำให้สะดวกรวดเร็ว การจัดทำงบการเงิน ประกอบด้วย งบแสดงฐานะการเงิน งบกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ งบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของผู้ถือหุ้น งบกระแสเงินสดและหมายเหตุประกอบงบการเงิน การประยุกต์เทคโนโลยีออนไลน์กับงานบัญชีเป็นสิ่งจำเป็นและทำให้เกิดประโยชน์ เช่น การทำธุรกรรมและบันทึกข้อมูลได้แบบ Real Time เพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงาน ช่วยลดต้นทุนระบบงาน Back Office อย่างไรก็ตามผลเสียของการใช้เทคโนโลยีคลาวด์กับงานบัญชี เช่น ข้อมูลบัญชีเป็นข้อมูลสาธารณะสามารถนำไปใช้   โดยผู้ไม่ประสงค์ดี สร้างความเสียหายให้กับผู้ประกอบการ เทคโนโลยีบล็อกเชนเป็นเทคโนโลยีนำมาซึ่งความปลอดภัยของข้อมูล การทำธุรกรรมออนไลน์สามารถทำได้อย่างสะดวก รวดเร็ว บล็อกเชนเป็นระบบการจัดการฐานข้อมูล มีความเชื่อมโยงกันกับงานบัญชี ทั้งการยืนยันตัวตน การจัดทำธุรกรรม การบันทึกความเป็นเจ้าของในสินทรัพย์ ความปลอดภัยของข้อมูลบัญชีมีความสำคัญ ซึ่งการนำเทคโนโลยีบล็อกเชนมาใช้ร่วมกับเทคโนโลยีคลาวด์ ช่วยสร้างความมั่นใจให้กับผู้ใช้งานข้อมูลบัญชีว่าจะถูกเก็บเป็นความลับและปลอดภัย สร้างความน่าเชื่อถือ โปร่งใส ถูกต้อง สร้างระบบตรวจสอบการทำธุรกรรม สร้างเครือข่ายในการตรวจสอบได้ทั่วโลก ลดเวลาในการทำธุรกรรมการตรวจสอบ ข้อมูลผิดพลาดลดลง ไม่มีความเสี่ยงจากการปลอมแปลงเอกสาร ลดการทุจริตเพราะไม่สามารถลบหรือกลับไปแก้ไขรายการบัญชีได้ ช่วยสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้ใช้งบการเงินโดยเฉพาะนักลงทุนที่นำข้อมูลไปใช้ในการตัดสินใจลงทุน

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

Foroglou, G. & Tsilidou, A. L. (2015). Further Applications of the Blockchain. In Student Conference of Management Science and Technology. University of Macedonia.

Johnson, D. et al. (2017). The Elliptic Curve Digital Signature Algorithm (ecdsa). International Journal of Information Security, 1(1), 36–63.

Kosba, A. et al. (2019). Hawk:The blockchain Model of Cryptography and Privacy - Preserving Smar Contracts. In Proceedings of IEEE Symposium on Security and Privacy(SP). Proceedings of the IEEE.

Kwon, J. (2018). Tendermint: Consensus without mining. Retrieved March 28, 2020, from https://tendermint.com/static/docs/tendermint.pdf

Lamport, L. et al. (2018). The Byzantine Generals Problem. ACM Transactions on Programming Languages and Systems (TOPLAS), 4(3), 382–401.

MacKenzie, G. (2018). A New World Ahead: International Challenges for Information Management. Informational Management Journal, 33(2), 24-34.

Mazieres, D. (2018). The Stellar Consensus Protocol: A Federated Model for Internet-Level Consensus. Retrieved March 28, 2020, from http://www.scs. stanford.edu/17au-cs244b/notes/scp.pdf

Miguel, C. & Barbara, L. (2017). Practical byzantine fault tolerance. Retrieved March 28, 2020, from http://pmg.csail.mit.edu/papers/osdi99.pdf

Schwartz, D. et al. (2019). The Ripple Protocol Consensus Algorithm. Retrieved March 28, 2020, from https://ripple.com/files/ripple_consensus _white paper.pdf

Sharples, M. & Domingue, J. (2018). The Blockchain and Kudos: A Distributed System for Educational Record, Reputation and Reward. Retrieved March 28, 2020, from http://oro.open.ac.uk/46663/