ย้อนพิเคราะห์ความมั่นคงที่เปลี่ยนไปของรัฐไทยกับ กอ.รมน

Main Article Content

พงษ์มนัส ดีอด

บทคัดย่อ

          บทความวิชาการฉบับนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาความมั่นคงของรัฐผ่านหน่วยงาน กอ.รมน ซึ่งทำหน้าที่ในการดูแลความมั่นคง เมื่อความมั่นคงของรัฐนับว่าเป็นสิ่งที่ทุกรัฐจะต้องรักษาไว้เพื่อให้สามารถสร้างความคงคั่ง เป็นปึกแผ่นในแผ่นดิน การทำลายความมั่นคง นับแต่อดีตถึงปัจจุบันได้มีรูปแบบที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมโดยในอดีตนั้น จะเน้นรูปแบบการใช้กองกำลังทหารหรืออาวุธเพื่อให้เกิดการแตกแยกของรัฐ หรือทำให้เกิดความวุ่นวายในสังคมนับว่าเป็นภัยต่อความมั่นคงอย่างยิ่ง อย่างไรก็ตามในปัจจุบันรูปแบบของการทำลายความมั่นคงของรัฐนั้น มีลักษณะการโจมตีด้าน เศรษฐกิจ การเมือง และสังคม ไม่ว่าจะเกิดจากคนในสังคมหรือเกิดจากต่างประเทศ เพื่อทำให้ประชาชนในสังคมเกิดความสับสนหรือเกิดความกลัว


          อย่างไรก็ตามประเทศไทย ได้มีการจัดตั้งกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) เพื่อทำหน้าที่ดูแลรักษาความมั่นคงของรัฐ โดยแบ่งลักษณะของงานออกเป็นด้านการป้องกัน ซึ่งจะเน้นการให้ความรู้ประชาชนตั้งแต่ช่วงวัยเด็กจนถึงผู้สูงอายุให้สำนึกในชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และอีกงานด้านหนึ่งของ กอ.รมน. เป็นงานลักษณะด้านการปราบปราม โดยมีกฎหมายบัญญัติมอบอำนาจให้ กอ.รมน สามารถที่จะจับกุมผู้ที่กระทำความผิดหรือคาดหมายได้ว่าจะกระทำความผิดที่มีลักษณะเป็นภัยต่อความมั่นของชาติได้แม้ประเทศไทยจะมี กอ.รมน ทำหน้าที่ในการดูแลรักษาความมั่นคงของประเทศแต่หากมองอีกในแง่หนึ่งหน่วยงานดังกล่าวอาจเป็นร่างทรงของกองทัพเพื่อทำหน้าที่ในการต่อรองอำนาจกับรัฐบาลพลเรือนได้

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

เดลินิวส์. (2562). กอ.รมน. - กสทช.เพิ่มช่องทางลงทะเบียนซิมการ์ดชายแดนใต้. เรียกใช้เมื่อ 19 ตุลาคม 2562 จาก https://www.msn.com/th-th/news/national/ar-AAGB dy1

เบนเนดิก แอลเดอร์สัน. (2559). บ้านเมืองของเราลงแดง: แง่มุมทางสังคมและวัฒนธรรมของการรัฐประหาร 6 ตุลาคม. กรุงเทพมหานคร: มติชน.

โสภณ ศิริงาม. (2562). ผลประโยชน์แห่งชาติ. NDC security review, 4(1), 1-23.

ไทยรัฐออนไลน์. (2560). กอ.รมน.จับมือ มศว รับนิสิต โครงการเพชรในตม. เรียกใช้เมื่อ 2 กันยายน 2562 จาก https://www.thairath.co.th/content/396831

กระทรวงวัฒนธรรม. (2559). 99 พระบรมราโชวาท น้อมนำราษฎร์ร่มเย็นเป็นสุขศานต์. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานปลัดกระทรวงวัฒนธรรม.

กฤษฎา ศุภวรรธนะกุล. (2563). วรเจตน์ ภาคีรัตน์: กฎหมายกับความยุติธรรมและสิ่งที่เป็นอยู่ในสังคมไทย. เรียกใช้เมื่อ 19 กุมภาพันธ์ 2563 จาก https://prachatai.com/ journal/2020/02/86193

กอ.รมน. (2562). กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค. เรียกใช้เมื่อ 19 ตุลาคม 2562 จาก https://www.isoc.go.th/?page_id=545

กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร. (2560). มวลชนขยายผลเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อการดำเนินชีวิต. เรียกใช้เมื่อ 23 กันยายน 2562 จาก https://www. isoc.go.th/?p=2858

การแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร. (2560). ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 134 ตอนพิเศษ 285 ง หน้า 13 (22 พฤศจิกายน 2560).

ครอบครัวข่าว 3. (2558). กอ.รมน.ห่วง กระแสแอนตี้ ปีเตอร์ ทำคนไม่ไปดูหนัง ละติจูดที่ 6. เรียกใช้เมื่อ 19 สิงหาคม 2562 จาก https://morning-news.bectero.com/enter tainment/2015-07-17/47521

ชนัญชิดา บุญเหาะ และน้ำผึ้ง ปัทมะลางคุล. (2561). กลวิธีการเสนอความคิดเรื่องความรักชาติในนิราศรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว. Humanities Journal, 25(2), 322-351.

ชัยอนันต์ สมุทวณิช. (2525). ยังเติร์กกับทหารประชาธิปไตย: การวิเคราะห์บทบาททหารในการเมืองไทย. กรุงเทพมหานคร: บรรณกุล.

นัชชา ตันติวิทยาพิทักษ์. (2561). กอ.รมน.มาดนิ่ม กอ.รมน.วัยทีน. เรียกใช้เมื่อ 19 กันยายน 2562 จาก https://prachatai.com/journal/2018/03/75734

พระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร. (2551). ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 125 ตอนที่ 39 ก หน้า 33-44 (27 กุมภาพันธ์ 2551).

พวงทอง ภวัครพันธุ์. (2562). กิจการพลเรือนของทหารในยุคประชาธิปไตยแบบการเลือกตั้ง: พัฒนาการและ ความชอบธรรม. วารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 15(1), 217-247.

ภาณุวัฒน์ พันธุ์ประเสริฐ. (2556). ทหารไทยกับการพัฒนาประชาธิปไตยหลัง 14 ตุลา. วารสารรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์, 4(1), 89-123.

มติชนออนไลน์. (2559). ผ้าห่มผืนสุดท้าย’ ละครเวทีที่ ‘กอ.รมน.’ ร่วมสร้าง เพื่อเข้าใจ ทหาร. เรียกใช้เมื่อ 2 ตุลาคม 2562 จาก https://www.matichon.co.th/news/ 22776

มติชนออนไลน์. (2562). กอ.รมน. เตรียมรับไม้ คสช. ดูแลความสงบ บอกใช้ พ.ร.บ.มั่นคงสานงานต่อได้. เรียกใช้เมื่อ 19 มกราคม 2563 จาก https://www.matichon.co.th/ politics/news_1544700

มวลชน กอ.รมน. (2559). การปลูกจิตสำนึกเทิดทูนชาติ ศาสน์ กษัตริย์ และคุณธรรมจริยธรรม. เรียกใช้เมื่อ 22 กันยายน 2561 จาก https://www.massisoc.com/7_image_act/ 1_web_page/2559/4_59_directory_image_act.html

รุ่งโรจน์ ณ นคร. (2539). จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์. นนทบุรี: อนุรักษ์.

สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7. (2560). กอ.รมน.จัดทำบทเพลงเทิดพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช. เรียกใช้เมื่อ 5 ตุลาคม 2562 จาก https://news.ch7.com/detail/251812

สำนักข่าว กรมประชาสัมพันธ์. (2561). กองทัพ จับมือ กศน.อุดรธานี ติวเข้มครูแกนนำกับหลักสูตร วิทยากรประวัติศาสตร์ชาติไทย. เรียกใช้เมื่อ 28 กันยายน 2562 จาก https://thainews.prd.go.th/website_th/news/print_news/WNSOC6101180010110

สำนักข่าวกรมประชาสัมพันธ์. (2562). ผอ.สมท.กอ.รมน.และ คณะ ตรวจเยี่ยมการดำเนินงานศูนย์อำนวยการประสานงานโครงการพัฒนาเพื่อความมั่นคงพื้นที่ อ.นาแห้ว จ.เลย. เรียกใช้เมื่อ 19 มกราคม 2563 จาก https://thainews.prd.go.th/th/news/ print_news/TCATG190227105512877

สำนักประชาสัมพันธ์เขต 3 เชียงใหม่. (2558). กอ.รมน.ภาค 3 จัดการฝึกอบรมสมาชิกไทยอาสาป้องกันชาติ สร้างแกนนำเครือข่าย จัดตั้งกำลังเสริมทดแทน สมาชิกที่สูงอายุและเสียชีวิต. เรียกใช้เมื่อ 22 กันยายน 2562 จาก https://region3.prd.go.th/ct/news/ viewnews.php?ID=150512

สุรชาติ บำรุงสุข. (2560). บทบาทที่ไม่หายไปของ กอ.รมน. และการเกิดขึ้นของอุดมการณ์ต่อต้านการเมือง. เรียกใช้เมื่อ 19 ตุลาคม 2562 จาก https://prachatai.com/ journal/2017/11/74148

Fjäder, C. (2014). The nation-state national security and resilience in the age of globalisation. Resilience, 2(2), 114-129.

Raskin, M. G. (2016). Essays of a Citizen: From National Security State to Democracy. Routledge.

Ripsman, N. M. & Paul, T. V. (2010). Globalization and the national security state. Oxford: Oxford University Press.

Smith, W. G. P. (1909). Hobbes Leviathan. Oxford: Clarendon Press.