การส่งเสริมความร่วมมือในการใช้ยาของผู้ป่วยโรคลมชัก
Main Article Content
บทคัดย่อ
โรคลมชักเป็นโรคเรื้อรังทางระบบประสาทที่มีการรักษาหลัก คือ การใช้ยากันชัก หากแต่พฤติกรรมการใช้ยาของผู้ป่วยมักเป็นความร่วมมือในการใช้ยากันชักที่ไม่ดี นั่นคือ การใช้ยามากกว่าที่กำหนด การใช้ยาน้อยกว่าที่กำหนด การใช้ยาในเวลาที่ไม่เหมาะสม การใช้ยาผิดเทคนิคของการบริหารยา การใช้ยาผิดวัตถุประสงค์ การใช้ยาเสื่อมคุณภาพ และการใช้ยาอื่นนอกเหนือจากที่แพทย์สั่ง ซึ่งสาเหตุของการเกิดความร่วมมือในการใช้ยากันชักที่ไม่ดีเกิดได้จากหลายสาเหตุทั้งที่เกิดจากตัวผู้ป่วยเอง จากโรค จากยากันชัก หรือจากสาเหตุอื่น ๆ สำหรับการเลือกใช้เครื่องมือในการประเมินความร่วมมือในการใช้ยาต้องเหมาะสมกับโรคของผู้ป่วย ในการนี้พยาบาลมีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมความร่วมมือในการใช้ยา โดยเริ่มจากการสร้างสัมพันธภาพที่ดีกับผู้ป่วย การให้แนวทางการป้องกันการลืมรับประทานยากันชัก การให้ความรู้เกี่ยวกับโรค ยากันชัก และอาการข้างเคียงจากการใช้ยา ที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตของผู้ป่วยและครอบครัวเป็นสำคัญ
Article Details
References
จันทิมา ช่วยชุม และชนกพร จิตปัญญา. (2556). ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ การรับรู้สมรรถนะแห่งตน อาการไม่พึงประสงค์ของยากันชัก การรับรู้ตราบาป ภาวะซึมเศร้าและความร่วมมือในการใช้ยาของผู้ป่วยโรคลมชัก. วารสารพยาบาลตำรวจ, 5(2), 106-119.
ชุติมาภรณ์ กังวาฬ และคณะ. (2560). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการรับประทานยาอย่างสม่ำเสมอของเด็กโรคลมชัก. Rama Nurse Journal, 23 (1), 44 -59.
ประดิษฐ์ ชัยชนะ. (2548). ภาวะซึมเศร้าในผู้ที่เป็นโรคลมชักที่มารับการรักษาแผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลสวนปรุง. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาสุขภาพจิตและการพยาบาลจิตเวชคณะพยาบาลศาสตร์. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
พธูจิต วังสโรจน์. (2552). ปัจจัยที่สัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคลมชักภาคใต้. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
โยธิน ชินวลัญช์. (2554). เดจาวู จาเมวูบ่อย ๆ ระวังโรคลมชัก. Health & cuisine, 11(126), กรกฎาคม, 26-27.
สุณี เลิศสินอุดม และคณะ. (2551). การศึกษาสาเหตุของความไม่ร่วมมือในการใช้ยาของผู้ป่วยโรคลมชัก. วารสารอายุรศาสตร์อีสาน, 7(1), 37-45.
เสริมสุข จันทร์ใต้. (2546). การติดตามการเกิดอันตรกิริยาต่อกันระหว่างยาในคลินิกโรคลมชักสถาบันประสาทวิทยา. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาเภสัชกรรมคลินิก. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อุไรวรรณ ตระการกิจวิชิต. (2545). ผลของการให้คำปรึกษาด้านยาแก่ผู้ป่วยในต่อความร่วมมือในการใช้ยาตามสั่งของผู้ป่วยโรคหืดหรือหลอดลมอุดกั้นเรื้อรัง ณ โรงพยาบาลสมุทรปราการ. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาเภสัชกรรมคลินิก. มหาวิทยาลัยศิลปากร.
Asawavichienjinda, T. et al. (2003). Compliance with treatment of Adult epileptics in a rural district of Thailand. J Med Assoc Thai, 86 , 46-51.
Buck, D. et al. (1997). Factors influencingcompliance with antiepileptic drug regimes. Seizure, 6, 87-93.
Cramer, J.A. (1995). Relationship between medication compliance and medication outcome. Am J Hosp Pharm, 52(Suppl3), S27-S29.
Dracup, K.A. and Melies, A.I. (1982). Compliance : An interactionist approach. Nursing Research, 31, 31-35.
Farmer, K.C. (1999). Methods for measuring and monitoring medication regimen adherence in clinical trails and clinical practice. Clinical Therapeutics, 21(6),1074-1090.
Faught, E. (2012). Adherence to antiepilepsy drug therapy. Epilepsy & Behavior, 25, 297-302.
Gomes, M.D.M. and Filho, H.D.S.M. (1998). Medication-taking behavior and drug self regulation in people with epilepsy. Arq Neuro-Psiquiatria, 56, 714-719.
Jones, R.M. et al. (2006). Adherence to treatment in patients with epilepsy : Associations with seizure control and illness beliefs. Seizure, 15, 504-508.
Kripalani et al. (2009). Development and Evaluation of the Adherence to Refills and Medication Scale (ARMS) among Low-Literacy Patients with Chronic Disease. Value in Health, 12, 118-123.
Morris, L.S. and Schulz, R.M. (1992). Patient compliance-an overview. Journal of Clinical Pharmacy and Therapeutics, 17(5), 283-295.
Osterberg, L. and Blaschke, T. (2005). Drug therapy Adherence to Medication. The New England Journal of Medicine, 353(5), 487-497.
Sweileh, W.M. et al. (2011). Self-reported medication adherence and treatment satisfaction in patients with epilepsy. Epilepsy & Behavior, 21, 301-305.
World Health Organization. (2003). Adherence to Long-Term Therapies : Evidence for action. Geneva : World Health Organization.