พุทธจิตวิทยากับการวิเคราะห์ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการตั้งใจซื้อเครื่องสำอางสำหรับตกแต่งใบหน้า (Makeup) ผ่านทางสื่อสังคมออนไลน์ ของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร

Main Article Content

พินิตศรี จีนชัยภูมิ
สุมาลี สว่าง

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความสัมพันธ์เชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการตั้งใจซื้อเครื่องสำอางสำหรับตกแต่งใบหน้า (Makeup) ผ่านทางสื่อสังคมออนไลน์ของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร โดยเพิ่มเติมหลักพุทธจิตวิทยาในการศึกษา เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้บริโภคที่อาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร มีจำนวน 5,686,646 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง 400 คน จากการสุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่มแบบอาศัยความน่าจะเป็น แบบหลายขั้นตอน ได้แก่ แบบชั้นภูมิ และแบบเฉพาะเจาะจง ผู้ที่ตัดสินใจซื้อเครื่องสำอางสำหรับตกแต่งใบหน้า (Makeup) ผ่านทางสื่อสังคมออนไลน์ การวิเคราะห์สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์สถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ แบบจำลองสมการโครงสร้าง ส่วนพุทธจิตวิทยากับการวิเคราะห์ใช้การทบทวนเอกสารนำเสนอแบบเชิงพรรณนา


          ผลการวิจัยพบว่า


  1. ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุที่มีอิทธิต่อพฤติกรรมการตั้งใจซื้อเครื่องสำอางสำหรับตกแต่งใบหน้า (makeup) ผ่านทางสื่อสังคมออนไลน์ของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานครตามหลักพุทธจิตวิทยาคือการสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการ ซึ่งประกอบไปด้วยการรับรู้ความง่ายต่อการใช้งาน การรับรู้ถึงประโยชน์ และทัศนคติ ผลการวิจัยพบว่า การสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการมีอิทธิพลทางบวกโดยตรงต่อการรับรู้ความง่ายต่อการใช้งาน การรับรู้ถึงประโยชน์ และทัศนคติ ในการซื้อเครื่องสำอางสำหรับตกแต่งใบหน้า (Makeup) ผ่านทางสื่อสังคมออนไลน์ของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร และมีอิทธิพลทางอ้อมต่อพฤติกรรมการตั้งใจซื้อโดยอ้อมผ่านการรับรู้ถึงประโยชน์ การรับรู้ความง่ายต่อการใช้งานและทัศนคติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และวัตถุประสงค์ข้อที่ 2. เพื่อทดสอบความสอดคล้องกลมกลืนของแบบจำลองความสัมพันธ์เชิงสาเหตุที่มีอิทธิต่อพฤติกรรมการตั้งใจซื้อเครื่องสำอางสำหรับตกแต่งใบหน้า (makeup) ผ่านทางสื่อสังคมออนไลน์ของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานครตามหลักพุทธจิตวิทยา เช่น การรับรู้ความง่ายต่อการใช้งาน การรับรู้ถึงประโยชน์ และทัศนคติ

Article Details

How to Cite
จีนชัยภูมิ พ., & สว่าง ส. (2019). พุทธจิตวิทยากับการวิเคราะห์ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการตั้งใจซื้อเครื่องสำอางสำหรับตกแต่งใบหน้า (Makeup) ผ่านทางสื่อสังคมออนไลน์ ของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 6(7), 3626–3643. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JMND/article/view/204863
บท
บทความวิจัย

References

เกียรติรัตน์ จินดามณี. (2559). 5 ขั้นตอนเริ่มต้นธุรกิจออนไลน์ ควบคู่ไปกับการตลาดออฟไลน์. เรียกใช้เมื่อ 20 ธันวาคม 2561 จาก https://taokaemai.com

ทวีศักดิ์ ใหม่ประยูร. (2560). การปฏิบัติการพุทธจิตวิทยาเพื่อการเผยแผ่พระพุทธศาสนา. วารสารศรีปทุมปริทัศน์ ฉบับมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 17(2), 18-26.

บริษัทกันตาร์ เวิร์ลดพาแนล. (2560). ภาพรวมของตลาดเครื่องสำอาง. เรียกใช้เมื่อ 2 ธันวาคม 2561 จาก https://mgronline.com/business/detail/9610000039913

วริศรา สอนจิตร. (2559). ความตั้งใจซื้อสินค้าหรือบริการออนไลน์ผ่านสมาร์ทโฟน. วารสารชุมชนวิจัย, 10(1), 45-52.

วริษฐา สุริยไพฑูรย์. (2560). อิทธิพลของการรับรู้ความมีประโยชน์และความง่ายในการใช้งานที่ส่งผลต่อ ทัศนคติและความตั้งใจซื้อสินค้าแฟชั่นของผู้บริโภคผ่านระบบพาณิชย์บนโทรศัพท์เคลื่อนที่. ใน วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

ศิริลักษณ์ ชูจิตร. (2560). ปัจจัยการสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ของ บริษัท คาร์มาร์ท จํากัด (มหาชน) ในร้านบิวเทรี่ยม สาขาสยามสแควร์. ใน การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัย ระดับบัณฑิตศึกษา ครั้งที่ 2. มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

ศุวรัญญา วิริยา. (2558). พฤติกรรมของเจเนเรชั่นวายในอำเภอเมืองเชียงใหม่ต่อการซื้อบัตรโดยสารเครื่องบินผ่านอินเทอร์เน็ต. วารสารบริหารธุรกิจมหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 1(4), 291-300.

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (2561). ตลาดเครื่องสำอางไทย. เรียกใช้เมื่อ 3 มกราคม 2562 จาก https://www.kasikornbank.com/th/business/sme/KSMEKnowledge/article/KSMEAn…………….alysis/.Documents/Beauty-Business_Trend.pdf

ศูนย์วิจัยธนาคารไทยพาณิชย์. (2559). รายงานความยั่งยืนปี 2559. เรียกใช้เมื่อ 3 มกราคม 2562 จาก https://www.scb.co.th.

สมาคมผู้ผลิตเครื่องสำอางไทย. (2560). ตลาดบิวตี้ยังแจ๋ว เกาะเทรนด์ธุรกิจทำเงิน. เรียกใช้เมื่อ 3 มกราคม 2562 จาก https://www.thaicosmetic.org/

สำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย. (2561). จำนวนประชากรที่อาศัยในกรุงเทพมหานคร. เรียกใช้เมื่อ 4 มกราคม 2562 จาก http://stat.bora.dopa .go.th/sumyear.html

BLT Bangkok. (2018). ตลาดสินค้าความงาม Retrieved September5. เรียกใช้เมื่อ 3 มกราคม 2562 จาก http://www.bltbangkok.com

Hair, J., Black, W., Babin, B., & Anderson, E. (2010). Multivariate Data Analysis (7th ed.). London: Pearson Education Limited.