การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตามเกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ

Main Article Content

สันติ แสงระวี
วีระยุทธ ชาตะกาญจน์
จำเริญ ชูช่วยสุวรรณ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์สภาพปัจจุบันและความต้องการการบริหารจัดการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตามเกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ 2) พัฒนารูปแบบการบริหารจัดการฯ และ3) ตรวจสอบและประเมินรูปแบบการบริหารจัดการฯ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา จำนวน 125 คน ผู้ทรงคุณวุฒิ ด้านการบริหารการศึกษา จำนวน 3 คน และผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับการบริหารภาครัฐ จำนวน 9 คน ประกอบด้วยนักวิชาการที่มีความรู้ความเข้าใจหรือมีผลงานเกี่ยวกับการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐในระหว่างปี พ.ศ. 2556-2558 จำนวน 3 คน นักบริหารการศึกษาระดับสูงของกระทรวงศึกษาธิการ จำนวน 3 คน และผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาที่ประสบความสำเร็จด้านการบริหารจัดการ จำนวน 3 คน วิเคราะห์ข้อมูล โดยการใช้สถิติได้แก่ ค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) การวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) และดัชนีจัดเรียงลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็น (Modified Priority Needs Index: PNImodified)


  ผลการวิจัยพบว่า


  1. สภาพปัจจุบันการบริหารจัดการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตามเกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ โดยรวมทั้ง 7 หมวด อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายหมวด พบว่า หมวดที่ 1 การนำองค์การ และหมวดที่ 2 การวางแผนเชิงยุทธศาสตร์ มีค่าเฉลี่ยสูงสุด (ค่าเฉลี่ย 4.05 เท่ากัน) รองลงมาคือ หมวดที่ 7 ผลลัพธ์การดำเนินการ (ค่าเฉลี่ย 4.00) และหมวดที่ 6 การมุ่งเน้นระบบปฏิบัติการ มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด (ค่าเฉลี่ย 3.89) ส่วนความต้องการการบริหารจัดการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตามเกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ โดยรวมทั้ง 7 หมวด อยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายหมวด พบว่า หมวดที่ 1 การนำองค์การ มีค่าเฉลี่ยสูงสุด (ค่าเฉลี่ย 4.63) รองลงมาคือ หมวดที่ 2 การวางแผนเชิงยุทธศาสตร์ และหมวดที่ 4 การวัด การวิเคราะห์และการจัดการความรู้ (ค่าเฉลี่ย 4.61 เท่ากัน) และหมวดที่ 6 การมุ่งเน้นระบบปฏิบัติการ มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด (ค่าเฉลี่ย 4.57) ผลสภาพปัจจุบันและความต้องการการบริหารจัดการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตามเกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ ค่าเฉลี่ยความต้องการการบริหารจัดการตามเกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ มีค่าเฉลี่ย สูงกว่าค่าเฉลี่ยสภาพปัจจุบันการบริหารจัดการตามเกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ ทั้ง 7 หมวด และผลการทดสอบค่าดัชนีจัดเรียงลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็น (Modified Priority Needs Index: PNImodified) พบว่า หมวดที่ 6 หมวดการมุ่งเน้นระบบปฏิบัติการได้ค่า PNImodified สูงสุด (เท่ากับ 0.26) รองลงมาคือ หมวดที่ 4 หมวดการวัด วิเคราะห์ และการจัดการความรู้ ได้ค่า PNImodified เท่ากับ 0.17 และหมวดที่ 2 หมวดการวางแผนเชิงยุทธศาสตร์ได้ค่า PNImodified ต่ำสุด เท่ากับ 0.13  

  2. 2. รูปแบบการบริหารจัดการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตามเกณฑ์      คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ ประกอบด้วยขั้นตอนในการบริหารจัดการตามแนวคิดทฤษฎีระบบเป็น 3 ขั้นตอน คือ 1. ปัจจัยนำเข้า (Input) 2. กระบวนการ (Process) 3. ผลผลิต (Output) และผลลัพธ์ (Outcome) พร้อมกับข้อมูลย้อนกลับ (Feedback) ของรูปแบบ ซึ่งปัจจัยนำเข้า (Input) ประกอบด้วยบุคลากร (Man) งบประมาณ (Money) วัสดุอุปกรณ์ (Materials) การบริหารจัดการ (Management) และแรงจูงใจ (Motivations) ที่เป็นจุดเริ่มต้นและเป็นตัวจักรสำคัญในการปฏิบัติงานขององค์การ กระบวนการ (Process) ประกอบด้วย การบริหารจัดการตามเกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ ได้แก่ 1) การนำองค์การ 2) การวางแผนเชิงยุทธศาสตร์ 3) การให้ความสำคัญกับผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย 4) การวัด การวิเคราะห์ และการจัดการความรู้ 5) การมุ่งเน้นทรัพยากรบุคคล 6) การจัดการกระบวนการ 7) ผลการขับเคลื่อนนโยบายและยุทธศาสตร์ของกระทรวงศึกษาธิการสู่การปฏิบัติ ผลผลิต (Output) คือ ประสิทธิผล และผลลัพธ์ (Outcome)        คือ คุณภาพของการบริหารจัดการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา โดยมีข้อมูลย้อนกลับ (Feedback) เป็นข้อมูลและสารสนเทศสำหรับใช้ในการพัฒนาคุณภาพของหน่วยงานในรอบปีต่อ ๆ ไป

          3. รูปแบบการบริหารจัดการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตามเกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐมีความเหมาะสมและมีความเป็นไปได้ในการนำสู่การปฏิบัติ

Article Details

How to Cite
แสงระวี ส., ชาตะกาญจน์ ว., & ชูช่วยสุวรรณ จ. (2019). การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตามเกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 6(7), 3552–3571. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JMND/article/view/201275
บท
บทความวิจัย

References

จำเริญ รัตนบุรี. (2557). การบริหารจัดการระบบคุณภาพตามเกณฑ์ PMQA โรงเรียนมาตรฐานสากล สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 12 . ใน รายงานการศึกษาส่วนบุคคล หลักสูตรพัฒนานักบริหารระดับสูง รุ่นที่ 4 สถาบันพัฒนาครู คณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษา. สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ.

ชไมพร เทือกสุบรรณ. (2553). ประสิทธิผลของการนำนโยบายการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีไปปฏิบัติในกรมที่ดิน : กรณีการนำตัวชี้วัดการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ (PMQA) มาปฏิบัติ. ใน รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาบริหารจัดการสาธารณะ . มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ชัยยุทธ์ เหลืองบุศราคัม. (2552). ความพึงพอใจต่อการดำเนินงานพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐของบุคลากร สำนักงานกรมปศุสัตว์ จังหวัดนครนายก. นครนายก: สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดนครนายก.

ธงชัย สันติวงษ์. (2541). ทฤษฏีองค์การและการออกแบบองค์การ. กรุงเทพมหานคร: ไทยวัฒนาพานิช.

ธนษณุ รอดรักษา. (2553). คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกรณีศึกษา เทศบาลนครสมุทรสาคร. วารสารวิทยบริการ, 21(3), 92-106.

นครชัย ชาญอุไร. (2554). การพัฒนารูปแบบการใช้ผลการประเมินคุณภาพภายนอกเพื่อพัฒนาคุณภาพโรงเรียนขนาดเล็กในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. ใน ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาการบริหารและพัฒนาการศึกษา. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

บุญเชิด ชำนิศาสตร์. (2556). การพัฒนารูปแบบการบริหารวิชาการในการจัดการศึกษาปฐมวัยของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรี. ใน ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาการศึกษา. มหาวิทยาลัยสยาม.

เบญจา ยอดดำเนิน แอ็ตติกจ์ และกาญจนา ตั้งชลทิพย์. (2552). การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ : การจัดการข้อมูล การตีความและการหาความหมาย. นครปฐม: สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล.

มะยม โพธิสุวรรณ. (2556). การพัฒนาคุณภาพการบริหารสำนักงาน ก.ค.ศ. ตามเกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ (PMQA) การศึกษาส่วนบุคคล การพัฒนาหลักสูตรพัฒนานักบริหารระดับสูง กระทรวงศึกษาธิการ (นบส.ศธ.) รุ่นที่ 3. สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงศึกษาธิการ.

เรขา ศรีวิชัย. (2554). รูปแบบการบริหารงานสถานศึกษาเอกชนระดับปฐมวัยที่มีประสิทธิผลในจังหวัดนนทบุรี. ใน ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

วรรณศรี แววงาม. (2555). เกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการ (PMQA) วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธรตามทัศนะของบุคลากร. ใน สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาสาธารณสุข. มหาวิทยาลัยบูรพา.

สมหมาย เทียนสมใจ. (2556). รูปแบบการบริหารงานที่มีประสิทธิผลของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา. ใน ปรัชญาาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สิทธิชัย เจริญพิวัฒพงษ์. (2552). การพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในตามแนวทางการบริหารงานแบบมุ่งคุณภาพทั้งองค์การสำหรับโรงเรียนอนุบาลเอกชน. ใน ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาบริหารการศึกษา. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุดารัตน์ เลศงาม. (2553). ความคิดเห็นของบุคลากรต่อการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ : ศึกษาเฉพาะกรณี จังหวัดสมุทรสงคราม. ใน รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

สุวิมล ว่องวาณิช. (2550). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อรวลัญช์ ณรงค์เดชา. (2554). ความพร้อมของบุคลากรของกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการเพื่อเข้าสู่เกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐระดับก้าวหน้า. ใน สังคมสงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารและนโยบายสวัสดิการสังคม. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

Cronbach, L. J. (1990). Essentials of Psychological Testing. (5thedition). New York: Harper Collins.

Keeves, J. P. (1988). Model and Model Building Educational Research Methodology and Measurement : An international Handbook. Oxford: Pergamon Press.

Lunenburg Fred C. and Orinstein Allan C. (2008). Education administration: concept and pratices 5th ed. Wardsworth: Cengage Learning.

Steiner, L. (1988). Organizational Dilemmas as Barriers to Learning. The Learning.