ผลของโปรแกรมโยคะต่อความเครียดของนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ ที่ฝึกปฏิบัติทำคลอดเป็นครั้งแรก

Main Article Content

รุจา แก้วเมืองฝาง
อัญญา ปลดเปลื้อง

บทคัดย่อ

การทำคลอดถือเป็นทักษะที่จำเป็นและมีความสำคัญ การฝึกปฏิบัติทำคลอดในสถานการณ์จริง อาจต้องเผชิญกับสภาวะวิกฤตหรือสถานการณ์ฉุกเฉินทางสูติศาสตร์ นักศึกษาที่ยังไม่เคยปฏิบัติงานหรือฝึกปฏิบัติเป็นครั้งแรกอาจเกิดความกังวลและเครียดได้ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบสองกลุ่มวัดผลก่อนและหลังการทดลอง  มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมโยคะต่อการลดความเครียดของนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ที่ฝึกทำคลอดเป็นครั้งแรก กลุ่มตัวอย่างคือนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ชั้นปีที่ 3 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จักรีรัชจำนวน 62 คน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงแบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมกลุ่มละ 31 คน กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมโยคะสัปดาห์ละ 3 วัน วันละ 20 นาที รวมเป็นเวลา 8 สัปดาห์ และได้รับคู่มือการฝึกโยคะเพื่อไปปฏิบัติเพิ่มเติม กลุ่มควบคุมไม่ได้รับโปรแกรมโยคะและฝึกปฏิบัติงานตามปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคลและแบบวัดการรับรู้ความเครียด ซึ่งผู้วิจัยนำแบบวัดการรับรู้ความเครียดไปทดลองใช้กับนักศึกษาที่มีคุณสมบัติคล้ายคลึงกับกลุ่มตัวอย่างจำนวน 40 ราย ได้ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .90 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติ t-test ผลการวิจัยพบว่า ค่าเฉลี่ยคะแนนความเครียดในกลุ่มทดลองภายหลังการทดลอง ต่ำกว่าก่อนการทดลอง (t29 = -4.10, p < .01) และต่ำกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t58 = 4.50, p < .01 ) ผลการวิจัยครั้งนี้มีข้อเสนอแนะว่า  โปรแกรมโยคะ เป็นการลดความเครียดได้ดีวิธีหนึ่ง และหากนักศึกษาฝึกเป็นประจำทุกสัปดาห์ สัปดาห์ละอย่างน้อย 3 วัน จะช่วยให้สุขภาพจิตดี ลดความตึงเครียดจากการฝีกปฏิบัติงาน ความเครียดลดลงส่งผลให้การฝึกงานมีประสิทธิภาพ


 

Article Details

How to Cite
แก้วเมืองฝาง ร., & ปลดเปลื้อง อ. (2019). ผลของโปรแกรมโยคะต่อความเครียดของนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ ที่ฝึกปฏิบัติทำคลอดเป็นครั้งแรก. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 6(2), 642–657. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JMND/article/view/183810
บท
บทความวิจัย

References

Chris, G., et. al. (2010). Stress, coping and satisfaction in nursing students. Journal of Advanced Nursing, 67(3), 621-632.

Cohen, S., Kamarck, T., & Mermelstein, R. (1983). A global measure of perceived stress. Journal of Health and Social Behavior, 24(4), 385-396.

Lazarus, R. S., & Folkman, S. (1984). Stress, appraisal and coping. New York: Springer.

Norman, G. R., & Streiner, D. L. (2008). Biostatistics: The bare essentials (3rd ed.). Hamilton: Canada: B. C. Decker.

Polit, D. F., & Beck, C. T. (2004). Nursing research: Principles and methods (7th ed.). Philadelphia: Lippincott Williams & Wilkins.

กลิ่นชบา สุวรรณรงค์, พวงเพชร เกษรสมุทร, นภวัลย์ กัมพลาศิริ, วรรณา คงสุริยะนาวิน และกาญจนา ครองธรรมชาติ. (2556). ผลของโปรแกรมการฝึกโยคะต่อความสุข การเห็นคุณค่าในตนเองและอาการ ซึมเศร้าในนักศึกษาพยาบาล. Journal of Nursing Science, 31(4),66-78.

ปฐมพร โพธิ์ถาวร, อำไพอร เพ็ญสุวรรณ และสาวิตรี วงศ์ประดิษฐ์. (2557). การฝึกปฏิบัติสมาธิด้วยการหายใจ และระดับความเครียดของนักศึกษาพยาบาล ที่ฝึกปฏิบัติงานในห้องคลอด. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้, 1(2),49-59.

รุจา แก้วเมืองฝาง. (2560). ผลของการฝึกโยคะต่อการลดความเครียดของหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นครรภ์แรก. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการผดุงครรภ์ขั้นสูง คณะพยาบาลศาสตร์: มหาวิทยาลัยบูรพา.

วราภรณ์ มานะวงศ์ และประยุทธ ไทยธานี. (2556). ผลของโปรแกรมการฝึกโยคะที่มีต่อความตั้งใจในการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 โรงเรียนบ้านสร้างแสน จังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารการประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติและนานาชาติประจำปี 2556, 215-223.

สาลี่ สุภาภรณ์. (2551). คู่มือการฝึกตันเถียน-สาลี่โยคะ. กรุงเทพมหานคร: สามลดา.

สาลี่ สุภาภรณ์. (2554). ตันเถียน-สาลี่โยคะ. กรุงเทพมหานคร: สามลดา.

สิริสุดา ซาวคำเขต. (2541). การสนับสนุนทางสังคมของครอบครัวกับความเครียดของผู้สูงอายุที่กระดูกสะโพกหัก. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลผู้สูงอายุ บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

สืบตระกูล ตันตลานุกุล และปราโมทย์ วงศ์สวัสดิ์. (2560). ความเครียดและการจัดการความเครียดของนักศึกษาพยาบาล. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์, 9(1),81-92.

อาภรณ์ ภู่พัทธยากร และดวงใจ พิชัยรัตน์. (2554). ผลของการฝึกโยคะพื้นฐานต่อสมรรถภาพทางกายและความเครียด ของนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีตรัง. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์, 3(2),15-28.