ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำแบบใฝ่ใจบริการ กับประสิทธิผลของระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 12

Main Article Content

ยุทธนา เพชรเชนทร์
อรรครา ธรรมาธิกุล
ธีระพงษ์ สมเขาใหญ่

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาภาวะผู้นำแบบใฝ่ใจบริการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 12 2) เพื่อศึกษาประสิทธิผลของระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 12 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำแบบใฝ่ใจบริการกับประสิทธิผลของระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 12 4) เพื่อสร้างสมการพยากรณ์ประสิทธิผลของระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนของสถานศึกษาโดยใช้ภาวะผู้นำแบบใฝ่ใจบริการเป็นตัวพยากรณ์ กลุ่มตัวอย่าง คือ ข้าราชการครู จำนวน  357  คน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐาน คือ การหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน


ผลการวิจัยพบว่า 1) ภาวะผู้นำแบบใฝ่ใจบริการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 12 โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านการมุ่งมั่นพัฒนาบุคคล มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมา คือ การตระหนักรู้ การมองการณ์ไกล การสร้างชุมชนและการเข้าใจผู้อื่น เรียงตามลำดับ 2) ประสิทธิผลของระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 12 โดยรวมและรายด้าน อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ด้านการส่งเสริมและพัฒนานักเรียน มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมา คือ การรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล การป้องกันและแก้ไขปัญหา การส่งต่อนักเรียนและการคัดกรองนักเรียน เรียงตามลำดับ 3) ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำแบบใฝ่ใจบริการกับประสิทธิผลของระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 12 โดยภาพรวม อยู่ในระดับปานกลาง ( r = 0.544 ) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01


4) สมการพยากรณ์ที่ได้คือ สมการพยากรณ์ที่ได้คือ  = 1.775 ( Constant ) + .146     


( SA )  - .354 ( SF ) + .146(SE) + .546 ( SBC ) + .093( SCGP )

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จิณณาภักดิ์ ชูหนู . (2555). ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงกับการบริหารระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา, วิทยานิพนธ์. สงขลา: มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา.

เฉลิมศรี ชุติธรรมวงศ์. (2554). การวิเคราะห์เครือข่ายทางสังคมของผู้เกี่ยวข้องในระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน : การวิจัยแบบผสมวิธี วิทยานิพนธ์ ค.ด . กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ดุษฎี ศรีจำปา. (2557). ไดศึกษาพฤติกรรมผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการดำเนินงานระบบดูแล ช่วยเหลือนักเรียนในสถานศึกษา. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.

ทองอินทร์ อุบลชัย. (2556). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำแบบผู้รับใช้ของผู้บริหารสถานศึกษากับการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียน. สาขาการบริหารการศึกษาบัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.

ธงชาติ วงศ์สวรรค. (2553). การพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนมัธยมศึกษาโดยใช้การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม วิทยานิพนธ์ กศ.ม. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบรูพา.

ภัทราพร เกษสังข์. (2549). การวิจัยทางการศึกษา. เลย: มหาวิทยาลัยราชภัฎเลย.

วิระเวก สุขสุคนธ์. (2555). การสร้างรูปแบบภาวะผู้นำแบบผู้รับใช้ของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, คณะศึกษาศาสตร์: มหาวิทยาลัยบูรพา.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 12. (2559). อัตรากำลังข้าราชการครู ปีการศึกษา 2561. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 12: กลุ่มบริหารงานบุคคล.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2559). คู่มือครูที่ปรึกษาระบบ การดูแลช่วยเหลือนักเรียน. กรุงเทพมหานคร: องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ (ร.ส.พ.).

สุทธาทิพ เจริญนิพนธ์วานิช. (2556). ปัจจัยที่ส่งผลต่อภาวะผู้นำแบบให้บริการของผู้บริหาร สถานศึกษาเอกชนประเภทสามัญศึกษาในกรุงเทพมหานคร. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement.

Likert, Rensis. (1967). “The Method of Constructing and Attitude Scale” In Reading in Fishbeic, M (Ed.), Attitude Theory and Measurement. New York: Wiley & Son.

Livovich, M.P. Jr. (1999). An investigation of Servant Leadership in public school superintendents in the state of Indiana. Indiana: Graduate School Indiana State University.