ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อคุณลักษณะครูพระสอนศีลธรรมในโรงเรียน มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีธรรมาโศกราช จังหวัดนครศรีธรรมราช

Main Article Content

พระมหาวิชาญ กนฺตสีโล
พระครูบวรชัยวัฒน์ .
บุญส่ง ทองเอียง
พระครูสมุห์รณสิทธิ์ วิมโล
เดชชาติ ตรีทรัพย์

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อคุณลักษณะครูพระสอนศีลธรรมในโรงเรียนมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีธรรมาโศกราช จังหวัดนครศรีธรรมราช 2) เพื่อเปรียบเทียบความพึงพอใจที่มีต่อคุณลักษณะครูพระสอนศีลธรรมในโรงเรียนมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีธรรมาโศกราช จังหวัดนครศรีธรรมราช ของนักเรียนที่มีเพศ ระดับชั้นปี เกรดเฉลี่ย ระดับการศึกษาผู้ปกครอง และอาชีพผู้ปกครอง ต่างกัน 3) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะเกี่ยวกับปัญหาและแนวทางการแก้ปัญหาคุณลักษณะครูพระสอนศีลธรรมในโรงเรียนมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีธรรมาโศกราช จังหวัดนครศรีธรรมราช ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนที่เรียนศีลธรรมที่มีครูพระสอนศีลธรรมในโรงเรียน มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีธรรมาโศกราช จังหวัดนครศรีธรรมราช จำนวน 6,500 คน กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตาราง Krejcie และ Morgan ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 381 คน เก็บข้อมูลโดยการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) โดยการจับฉลาก ใช้สถิติการบรรยาย คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติ อนุมาน คือ การทดสอบค่าที (t - test) การทดสอบความแปรปรวนแบบทางเดียว (One Way ANOVA) และทดสอบความแตกต่างของค่าคะแนนเฉลี่ยเป็นรายคู่ โดยวิธี LSD (Least Significant Difference)


          ผลการวิจัยพบว่า


          นักเรียน ที่เป็นกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ เป็นเพศหญิง มีจำนวนทั้งสิ้น 266 คน คิดเป็นร้อยละ 69.82 อยู่ระดับประถมศึกษา 4-6 มีจำนวนทั้งสิ้น 163 คน คิดเป็นร้อยละ 42.78 มีเกรดเฉลี่ยตั้งแต่ 2.00-3.00 มีจำนวนทั้งสิ้น 170 คน คิดเป็นร้อยละ 44.62 ผู้ปกครองศึกษาระดับมัธยมศึกษาหรือเทียบเท่า มีจำนวนทั้งสิ้น 126 คน คิดเป็นร้อยละ 33.07 ผู้ปกครองมีอาชีพเกษตรกรรมหรือรับจ้าง มีจำนวนทั้งสิ้น 163 คน คิดเป็นร้อยละ 42.78 เมื่อพิจารณาแยกตามปัจจัยสนับสนุน และตัวแปรตาม พบว่า


  1. นักเรียน มีความพึงพอใจต่อคุณลักษณะครูพระสอนศีลธรรมในโรงเรียนมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีธรรมาโศกราช จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยรวมทั้ง 7 ด้าน อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านการวัดผลและประเมินผล ( gif.latex?\bar{x}= 4.12, S.D. gif.latex?\bar{x}= 0.62) มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมาคือ ด้านสื่อการเรียนการสอน (  gif.latex?\bar{x}= 4.10, S.D. = 0.68) และ ด้านบุคลิกภาพความเป็นครูและจรรยาบรรณในวิชาชีพครู     ( gif.latex?\bar{x} = 3.99, S.D. = 0.61) ด้านการพัฒนาพฤติกรรมทางศีลธรรมและวัฒนธรรม (  gif.latex?\bar{x}= 3.99, S.D. gif.latex?\bar{x}= 0.49) มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด

  2. นักเรียน ที่มีเกรดเฉลี่ย ระดับการศึกษาผู้ปกครอง และอาชีพผู้ปกครองต่างกัน มีความพึงพอใจต่อคุณลักษณะครูพระสอนศีลธรรมในโรงเรียนมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีธรรมาโศกราช จังหวัดนครศรีธรรมราช แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001ส่วนนักเรียน ที่มีเพศและระดับชั้นปีต่างกัน มีความพึงพอใจต่อคุณลักษณะครูพระสอนศีลธรรมในโรงเรียนมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีธรรมาโศกราช จังหวัดนครศรีธรรมราช ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

          3. นักเรียน ได้เสนอปัญหาคุณลักษณะครูพระสอนศีลธรรมในโรงเรียนมหาวิทยาลัย มหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีธรรมาโศกราช จังหวัดนครศรีธรรมราช มากที่สุดคือ ด้านการพัฒนาพฤติกรรมทางศีลธรรมและวัฒนธรรม ได้แก่ ครูพระบางรูปมาสอนสายบ่อย ๆ ครูพระบางรูปจัดอบรมศีลธรรมไม่ค่อยถูกต้อง ควรมีแนวทางแก้ไขปัญหา คือ ครูพระควรต้องปรับการมาสอนให้ทันเวลาเสมอ ครูพระควรแสวงหาความรู้ในการจัดอบรมศีลธรรมด้วยแบบอย่างที่ถูกต้อง ครูพระควรพัฒนาพฤติกรรมของตนเองให้เป็นแบบอย่างที่ดี

Article Details

How to Cite
กนฺตสีโล พ., . พ., ทองเอียง บ., วิมโล พ., & ตรีทรัพย์ เ. (2019). ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อคุณลักษณะครูพระสอนศีลธรรมในโรงเรียน มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีธรรมาโศกราช จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 6(2), 1032–1058. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JMND/article/view/182663
บท
บทความวิจัย

References

พระมหาทองดี ปญฺญาวชิโร. (2547). ความพึงพอใจการสอนของครูพระช่วยสอนวิชาพระพุทธศาสนาตามทรรศนะของนักเรียนระดับประถมศึกษาโรงเรียนวัดเทพลีลา เขตบางกะปิ สังกัดกรุงเทพมหานคร. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต.

พระมหาปัญญา จอมนาสวน. (2549). ความคิดเห็นของผู้บริหาร ครู และนักเรียนเกี่ยวกับบทบาทที่เป็นจริงและบทบาทที่คาดหวังของครูพระสอนศีลธรรมในการพัฒนาจริยธรรมสำหรับนักเรียนโรงเรียนในโครงการจริยศึกษาศูนย์เผยแผ่ธรรม จังหวัดเชียงใหม่. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.

พระมหาภูเมศร์ ชาเหลา. (2550). การจัดการเรียนการสอนวิชาพระพุทธศาสนาในโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดสำนักงานการประถมศึกษาอำเภออากาศอำนวย จังหวัดสกลนคร. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

พระราชวรมุนี (ประยูร ธมฺมจิตฺโต). (2543). เอกสารการบรรยายกรมวิชาการ. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์คุรุสภา.

พระสมจิตต์ ขนฺติธมฺโม. (2553). ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อคุณลักษณะที่ดีของครูพระสอนศีลธรรมในโรงเรียนวัดโบสถ์ อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช. นครศรีธรรมราช: มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.