ภาพลักษณ์ของพระพุทธศาสนาในมุมมองของพุทธศาสนิกชนชาวไทย

Main Article Content

สุรัตน์ พักน้อย
อินทกะ พิริยะกุล

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาภาพลักษณ์ของพุทธศาสนาในมุมมองของพุทธศาสนิกชนชาวไทย 2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของปัจจัยภาพลักษณ์ที่มีผลต่อความจงรักภักดีของพุทธศาสนิกชนชาวไทย และนำข้อมูลที่ได้ไปใช้ในการวางแนวทาง และบริหารจัดการภายในองค์กรพระพุทธศาสนา ให้ตรงตามความต้องการของพุทธศาสนิกชนได้ การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณเก็บรวบรวมข้อมูล โดยสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม และคำนวณขนาดตัวอย่างตามสูตรของ Yamane ได้ตัวอย่าง จํานวน 400 ตัวอย่าง โดยใช้สถิติค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน CHAID (Chi-square Automatic Interaction Detector) และสถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ถดถอยอย่างง่าย


 


          ผลการศึกษาพบว่า


  1. ภาพลักษณ์ของพระพุทธศาสนาโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (มีค่าเฉลี่ย 3.56) เมื่อจำแนกเป็นรายด้าน เห็นว่าภาพลักษณ์ของศาสนบุคคลหรือพระสงฆ์ (มีค่าเฉลี่ย 3.44) และภาพลักษณ์ของศาสนวัตถุหรือสิ่งปลูกสร้างภายในวัด อยู่ในระดับมาก (มีค่าเฉลี่ย 3.69)

  2. จากการศึกษาความสัมพันธ์ของภาพลักษณ์ที่มีต่อความจงรักภักดีของพุทธศาสนิกชนในประเทศไทย พบว่า ภาพลักษณ์มีความสัมพันธ์กับความจงรักภักดีของพุทธศาสนิกชน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยมีอำนาจในการทำนายหรือพยากรณ์ตัวแปรตาม ได้ 38.3%

  3. แนวทางการบริหารจัดการภายในองค์กรพระพุทธศาสนา ให้สอดคล้องกับความต้องการของพุทธศาสนิกชน มีดังนี้

                   3.1 มีการจัดธรรมะเคลื่อนที่เพื่อบรรยายหลักธรรมคำสอนในพระพุทธศาสนาทั้งในหน่วยงานภาครัฐ เอกชน และองค์กรภาคประชาชนเพิ่มมากขึ้น ตลอดจนจัดทำสื่อเผยแพร่ธรรมะในช่องทางที่หลากหลายมากขึ้น


                   3.2 มีการบูรณาการความร่วมมือทั้งภาครัฐและเอกชนในการบูรณปฏิสังขรณ์ศาสนสถานภายในวัดต่าง ๆ เพื่อให้มีความคงทนถาวร มีความสวยงาม และดำรงอยู่คู่สังคมไทย

Article Details

How to Cite
พักน้อย ส., & พิริยะกุล อ. (2018). ภาพลักษณ์ของพระพุทธศาสนาในมุมมองของพุทธศาสนิกชนชาวไทย. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 5(3), 636–653. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JMND/article/view/154136
บท
บทความวิจัย

References

กรมการศาสนา. (2525). ประวัติพระพุทธศาสนาแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี ภาค 2. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์กรมการศาสนา.

กรองกาญจน์ ทองสุข. (2554). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานที่ส่งผลต่อความจงรักภักดีของบุคลากรในวิทยาลัยการอาชีพร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด. กรุงเทพมหานคร: การค้นคว้าอิสระ ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

กระทรวงสาธารณสุข. (2557). คู่มือการจัดบริการสุขภาพ “กลุ่มวัยทำงาน” แบบบูรณาการ 2558. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.

จันทิมา พูลทรัพย์ . (2558). ปัจจัยการตัดสินใจในการทำบุญของพุทธศาสนิกชน วัดจำปา เขตตลิ่งชัน กรุงเทพมหานคร . กรุงเทพมหานคร: วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ .

นิธิ เอียวศรีวงศ์. (2554). ปาฐกถา 60 ปี เศรษฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: โอเพ่นบุ๊กส์.

ผ่องพรรณ ตรัยมงคลกูล และคณะ. (2545). การออกแบบการวิจัย. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

พระไพศาล วิสาโล. (2542). พระธรรมปิฎกกับอนาคตของพระพุทธศาสนา. กรุงเทพมหานคร: กองทุนวุฒิธรรม.

พระราชปัญญารังษี. (2553). บทบาทที่คาดหวังและที่เป็นจริงของพระสงฆ์ไทย. วารสารเผยแพร่ความรู้ทางวิชาการและงานวิจัยปีที่ 17.

รัชนี วงศ์สุมิตร. (2547). หลักการประชาสัมพันธ์. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.

เสถียร โพธินันทะ. (2513). ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา.

อนันต์ วิริยะพินิจ. (2529). บทบาทของพระสงฆ์กับการพัฒนาชุมชน. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

Elkin, Frederick . (1989). The Child and Society. New York : MaGrew-Hill Inc.

Robinson and Barlow. (1959). Image public relations. Public Relations Journal, 15, 10-13.