ประสิทธิผลโครงการพัฒนาทักษะทางดนตรีของกรุงเทพมหานคร

Main Article Content

นิวัฒน์ รังสร้อย

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่อง “ประสิทธิผลโครงการพัฒนาทักษะทางดนตรีของกรุงเทพมหานคร” ในการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาประสิทธิผลโครงการพัฒนาทักษะทางดนตรีของกรุงเทพมหานคร 2) เพื่อศึกษาสภาพการดำเนินการโครงการพัฒนาทักษะทางดนตรีของกรุงเทพมหานคร และ 3) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิผลโครงการพัฒนาทักษะทางดนตรีของกรุงเทพมหานคร ดำเนินการวิจัยเชิงคุณภาพโดยการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกจากกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 33 คน ได้แก่ ผู้บริหารและข้าราชการที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับโครงการพัฒนาทักษะทางดนตรีของกรุงเทพมหานคร ด้วยการวิเคราะห์ อ่านผล ตีความ และหาข้อสรุป ซึ่งมีผลการวิจัยพบว่า


  1. ประสิทธิผลโครงการพัฒนาทักษะทางดนตรีของกรุงเทพมหานคร จากนโยบายที่จะพัฒนาการศึกษาของนักเรียนในสังกัดให้มีคุณภาพและมีมาตรฐานอยู่ในระดับแนวหน้าของประเทศ ซึ่งกรุงเทพมหานครโดยสำนักการศึกษาได้เล็งเห็นว่าโครงการพัฒนาทักษะทางดนตรีในโรงเรียนสังกัดกทม. เป็นโครงการหนึ่งที่จะช่วยพัฒนานักเรียนของกทม.ด้านดนตรีสากล ให้ได้มาตรฐาน ช่วยขัดเกลาให้นักเรียนเป็นผู้มีจิตใจอ่อนโยนและสามารถช่วยลดปัญหาความรุนแรงของเด็กและวัยรุ่นได้ นอกจากนี้นักเรียนที่เข้าร่วมโครงการฯนี้ ยังจะรับได้ประสบการณ์จากการแข่งขันประกวดดนตรี จากหน่วยงานต่างๆ โอกาสในการศึกษาต่อในวิชาเฉพาะด้านดนตรีและการก้าวเป็นนักดนตรีมืออาชีพต่อไปในอนาคตต่อไป

  2. ข้อค้นพบจาก สภาพการดำเนินการโครงการพัฒนาทักษะทางดนตรีของกรุงเทพมหานคร ซึ่งสรุปว่า 1) โครงการพัฒนาทักษะทางดนตรีในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร จากการประเมินผลโครงการพบว่าเป็นโครงการที่ส่งเสริมศักยภาพนักเรียนด้านดนตรีได้ถูกต้องตามมาตรฐานสากล 2) นักเรียนสามารถแสดงออกต่อสาธารณชนได้เป็นอย่างดี โดยโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการทั้งหมด จะได้รับเครื่องดนตรีและอุปกรณ์ส่งเสริมการเรียนดนตรี 3) ครูผู้สอนดนตรีได้รับการอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาทักษะทางดนตรี ตามชนิดเครื่องดนตรี คือหลักสูตรเปียโนและคีย์บอร์ด กีต้าร์อคูสติก กีต้าร์ไฟฟ้า กลองชุด การขับร้องและบทเรียนสื่อประสมอีเลิร์นนิ่ง โดยวิทยากรผู้เชี่ยวชาญและมีชื่อเสียงทางด้านดนตรี 4) มีทบทวนความรู้ด้านดนตรีและร่วมกันแก้ปัญหาพร้อมพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้ทำให้ครูได้รับความรู้ทางดนตรีที่ถูกต้องตามมาตรฐานสากลและสามารถนำกลับไปถ่ายทอดให้กับนักเรียนได้เรียนรู้การปฏิบัติเครื่องดนตรีสากล และสามารถอ่านโน้ตสากลและขับร้องเพลงได้อย่างมีประสิทธิภาพสู่ความยั่งยืนต่อไป

  3. ข้อเสนอแนะการวิจัยครั้งนี้ ควรมีการเพิ่มประสิทธิภาพครูและบุคลากรที่เกี่ยวข้องให้ได้รับการอบรม สัมมนา ศึกษาดูงานให้ได้รับการพัฒนาวิชาชีพเฉพาะทาง เป็นต้น พร้อมทั้งมาตรการและกลยุทธ์ที่มีส่วนผลักดันโครงการพัฒนาทักษะทางดนตรีของกรุงเทพมหานครให้เกิดผลสำเร็จ ทั้งในส่วนอุปสรรคและจุดอ่อน ที่จะต้องอำนวยการการจัดการศึกษาได้อย่างเต็มที่และเพียงพอต่อไป

Article Details

How to Cite
รังสร้อย น. (2018). ประสิทธิผลโครงการพัฒนาทักษะทางดนตรีของกรุงเทพมหานคร. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 5(3), 859–871. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JMND/article/view/143955
บท
บทความวิจัย

References

อุดม เพรชสังหาร. (ปีที่ 9 ฉบับที่ 11 2548). กิจกรรมดนตรีเพื่อการพัฒนาเด็กเพลงดนตรี. 26-27.

Arnstien, S.R. (Vol.35 No 4 1969). A Ladder of Citizen Participation. Journal of the American Institue of Planners, 216-224.

Cross, I. (2001). Music cognition culture and evaluation. Annals of the New York: Academy of Sciences.

Gulick Luther, Lindon Urwick. (1937). Paper on the Science of Administration. Clifton: Augustus M. Kelley.

Hoy, W.K., & Miskel, C.G. . (2001). Educational administration: Theory,research, and practice. Singapore: The McGraw-Hill Inc.

Steers, R. M. (Vol. 22 1977). Antecedents and outcomes of organizational commitment. Administrative Science Quarterly, 46-56.