การพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการเพื่อยกระดับคุณภาพผู้เรียน โรงเรียนการกุศลของวัดในพระพุทธศาสนาในเขตจังหวัดภาคใต้

Main Article Content

ธริศร เทียบปาน
นิรันดร์ จุลทรัพย์
วันชัย ธรรมสัจการ

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่องการพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการเพื่อยกระดับคุณภาพผู้เรียน มีวัตถุประสงค์ของการศึกษาวิจัยเพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันของรูปแบบ สร้างรูปแบบ ตรวจสอบรูปแบบ และการนำเสนอรูปแบบการบริหารงานวิชาการเพื่อยกระดับคุณภาพผู้เรียนโรงเรียนการกุศลของวัดในพระพุทธศาสนาในเขตจังหวัดภาคใต้


          การศึกษาใช้วิธีการวิจัยแบบผสมผสานโดยการศึกษาเชิงคุณภาพใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกจาก สถานศึกษาที่มีคุณภาพ ประสบความสำเร็จและเป็นแบบอย่าง 5 โรงเรียน จำนวน 20 คน เพื่อสร้างองค์ประกอบของรูปแบบการบริหารวิชาการที่มีคุณภาพ และการศึกษาเชิงปริมาณ โดยใช้แบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่างที่ได้จากการสุ่มอย่างอย่างง่าย จำนวน 13 โรงเรียน จากผู้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการ รองผู้อำนวยการ หัวหน้างานวิชาการ และหัวหน้ากลุ่มสาระ รวมทั้งสิ้น 52 คน แล้วนำผลที่ได้ไปจัดสนทนากลุ่ม เพื่อตรวจสอบรูปแบบการบริหารวิชาการที่มีคุณภาพ จากนั้น นำรูปแบบที่ได้ไปทดลองใช้จริงในโรงเรียน ทำการประเมินผล ปรับปรุง พัฒนารูปแบบก่อนนำไปใช้ต่อไป


 


 


          ผลการวิจัยพบว่า


  1. ตัวแปรตำแหน่งอำนวยการกับระดับปฏิบัติงานวิชาการมีความแตกต่างของค่าเฉลี่ยการดำเนินงานของโรงเรียน หัวข้อการกระจายอำนาจให้บุคลากรระดับต่าง ๆ เพื่อให้เกิดความคล่องตัว ในการบริหารงานวิชาการ

  2. การสร้างรูปแบบการบริหารงานวิชาการ ผู้วิจัยได้นำเสนอคู่มือการทดลองใช้เป็นรูปแบบการบริหารวิชาการที่มีคุณภาพผู้เรียน โรงเรียนการกุศลของวัดในพระพุทธศาสนาในเขตจังหวัดภาคใต้ ประกอบด้วย คำชี้แจงการใช้คู่มือ ลักษณะของคู่มือ วัตถุประสงค์ของคู่มือ การวัดและประเมินผล ส่วนการดำเนินงานตามขอบข่ายการบริหารงานวิชาการ มี 5 ด้าน คือ 1) ด้านภาวะผู้นำทางวิชาการ 2) ด้านการมีส่วนร่วมในการบริหารงานวิชาการ 3) ด้านการพัฒนาทีมงานวิชาการ 4) ด้านกระบวนการบริหารงานวิชาการตามแนวคิดดุลยภาพ และ 5) ด้านขอบข่ายการบริหารงานวิชาการ

  3. การตรวจสอบรูปแบบการบริหารวิชาการ การตรวจสอบรูปแบบกระทำโดยการนำคู่มือรูปแบบการบริหารงานวิชาการไปทดลองใช้กับโรงเรียนแจ้งวิทยา ได้ผลการประเมินคุณภาพการทดลองใช้รูปแบบการบริหารงานวิชาการ มีตัวบ่งชี้รายการประเมินทุกองค์ประกอบ อยู่ในระดับคุณภาพดีและดีมาก มีเพียงประเด็นเดียวที่อยู่ในระดับพอใช้ คือ การเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ งานวิจัย หรือพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนกับโรงเรียน หน่วยงานและสถาบันอื่น นั่นแสดงว่า ผู้บริหารจะต้องให้ความสำคัญกับการพัฒนางานวิจัย สร้างผลงานทางวิชาการของครูให้มากขึ้น

          4. การศึกษาแนวทางนำเสนอรูปแบบการบริหารงานวิชาการ ได้แนวทางการนำเสนอรูปแบบการบริหารงานวิชาการ โดยการระดมความคิดเห็นของผู้สอนแต่ละกลุ่มสาระ การเรียนรู้ และการบูรณาการการสอนความรู้คู่คุณธรรม มีการนำแนวทางรูปแบบการบริหารงานวิชาการไปใช้ในแต่ละสถานศึกษาก็จะมีความแตกต่างกันตามบริบทของแต่ละสถานศึกษานั้น ๆ มีการวัดและประเมินผล เพื่อนำผลมาปรับปรุงในกระบวนการต่าง ๆ ทุกครั้งอย่างต่อเนื่อง

Article Details

How to Cite
เทียบปาน ธ., จุลทรัพย์ น., & ธรรมสัจการ ว. (2018). การพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการเพื่อยกระดับคุณภาพผู้เรียน โรงเรียนการกุศลของวัดในพระพุทธศาสนาในเขตจังหวัดภาคใต้. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 5(3), 672–688. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JMND/article/view/140115
บท
บทความวิจัย

References

กาญจนา เรืองมนตรี และธรินธร นามวรรณ. (2554). การบริหารวิชาการและนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้. มหาสารคาม: อภิชาติการพิมพ์.

ธีระ รุญเจริญ. (2553). ความเป็นมืออาชีพในการวิเคราะห์และบริหารการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: ข้าวฟ่าง.

บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสวนดุสิต. (2560). วารสารวิชาการบัณฑิตวิทยาลัยสวนดุสิต, ปีที่ 13 ฉบับที่ 3. (กันยายน-ธันวาคม 2560).

ปรีชา ช้างขวัญยืน และคณะ. (2542). เทคนิคการเรียนและผลิตตำรา. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์ . (2553). การบริหารงานวิชาการ. กรุงเทพกรุงเทพ: ศูนย์สื่อเสริม.

สัมมา ธรนิตย์. (2556). หลักทฤษฎีและปฏิบัติการบริหารการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: ข้าวฟ่าง.

สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ. (2554). การศึกษานำร่องการใช้รูปแบบการบริหารจัดการการศึกษา เพื่อพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนในสถานศึกษา. โรงพิมพ์ สกสค. ลาดพร้าว.

โสภา วงศ์นาคเพ็ชร์. (2553). การบริหารงานวิชาการกับประสิทธิผลของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุพรรณบุรี เขต 2. ใน วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย (หน้า 30). มหาวิทยาลัยศิลปากร.

Bill Gibby. (ม.ป.ป.). Methods of Assessment, Theory And Practice of Curriculum Studies. Routledge: London and New York.