การพัฒนารูปแบบการบริหารโรงเรียนผู้สูงอายุในสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อเสริมสร้างภาวะพฤฒพลัง
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพพึงประสงค์การบริหารโรงเรียนผู้สูงอายุสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อเสริมสร้างภาวะพฤฒพลัง 2) ศึกษาปฏิบัติการที่เป็นเลิศการบริหารโรงเรียนผู้สูงอายุฯ 3) พัฒนาและตรวจสอบรูปแบบและคู่มือการใช้รูปแบบการบริหารโรงเรียนผู้สูงอายุฯ และ 4) ประเมินรูปแบบและคู่มือการใช้รูปแบบการบริหารโรงเรียนผู้สูงอายุฯ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักวิชาการผู้ทำงานด้านผู้สูงอายุ และผู้เกี่ยวข้องร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อยืนยันองค์ประกอบรูปแบบการเสริมสร้างภาวะพฤฒพลัง จำนวน 5 คน ตรวจสอบรูปแบบและคู่มือการใช้ จำนวน 9 คน ประเมินรูปแบบและคู่มือการใช้ จำนวน 18 คน แสดงความเห็นในแบบสอบถาม จำนวน 150 คน ด้วยสูตรคำนวณของ Taro Yamane เครื่องมือการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม แบบสังเคราะห์องค์ประกอบ แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง แบบประเมินความเหมาะสมประมาณค่า 5 ระดับ เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามที่สร้างขึ้น สถิติวิจัย ได้แก่ ความถี่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า สภาพปัจจุบันโดยรวมอยู่ในระดับมาก สภาพพึงประสงค์โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด องค์ประกอบการเสริมสร้างพฤฒพลังฯ 3 ลำดับแรกตรงกับแนวคิดขององค์การอนามัยโลก มีสุขภาพแข็งแรง การมีส่วนร่วม และความมั่นคง ขณะที่ การเรียนรู้ตลอดชีวิต สภาพที่เอื้อต่อภาวะพฤฒพลัง และปัจจัยเสริมสร้างสุขภาวะอยู่ในลำดับที่ 4 ถึง 6 ตามลำดับ การปฏิบัติเป็นเลิศมีกลุ่ม กรรมการ กติกา กิจกรรม และกองทุน การพัฒนาและตรวจสอบรูปแบบและคู่มือการใช้ฯ “เพลิน” (P-LE-A-R-N) มีผลการตรวจสอบความถูกต้องและความเหมาะสม คิดเป็นร้อยละ 100 การประเมินรูปแบบและคู่มือการใช้ฯ ผลการประเมินความเป็นไปได้อยู่ในระดับมากที่สุด และความเป็นประโยชน์อยู่ในระดับมากที่สุด
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กรมกิจการผู้สูงอายุ. (2560). คู่มือโรงเรียนผู้สูงอายุ. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์.
ฐาณญา สมภู่ และคณิต เขียววิชัย. (2562). การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมภาวะพฤฒพลังของชมรมผู้สูงอายุไทย. วารสารวิชาการศิลปะศาสตร์ประยุกต์, 12(1), 35-45.
ณัฐธินี ศุภนิมิตศิริ. (2563). องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในโรงเรียนผู้สูงอายุ: กรณีศึกษาโรงเรียนผู้สูงอายุตำบลยายชา อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม. ใน วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการเมืองการปกครอง. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ไทยพับลิก้า. (2567). เมื่อไทยเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์ Aged Society ผู้สูงอายุไทยได้รับสวัสดิการอะไรบ้าง. เรียกใช้เมื่อ 10 กุมภาพันธ์ 2567 จาก https://thaipublica.org/2024/02/thailand-becomes-aged-society/
นรินทร์ หมื่นแสน และสุชาดา ไกรพิบูลย์. (2557). การมีส่วนร่วมของชุมชนในการสร้างเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุหมู่บ้านทุ่งหลุก อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่. พยาบาลสาร, 41(1), 1-12.
นิลภา จิระรัตนวรรณะ และคณะ. (2562). การมีส่วนร่วมของชุมชนในการสร้างเสริมสุขภาพ. วารสารมหาจุฬาวิชาการ, 6(ฉบับพิเศษ), 365-381.
รัตนะ บัวสนธ์. (2562). การวิจัยและพัฒนานวัตกรรมทางการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วรดา รุ่งเรือง. (2562). การพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในโรงเรียนผู้สูงอายุสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเขตภาคกลางของประเทศไทย. วารสารสหวิทยาการวิจัย, 8(2), 249-258.
วิญญ์ทัญญู บุญทัน. (2561). การวิจัยและพัฒนารูปแบบการส่งเสริมพฤฒพลังตามแนวคิดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานและการเรียนรู้บนความท้าทาย. ใน ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการวิจัยและพัฒนาศักยภาพมนุษย์. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
วีรชน บัวพันธ์. (2561). การพัฒนารูปแบบการบริหารโรงเรียนสู่ความเป็นเลิศด้านการจัดการเรียนการสอนหุ่นยนต์สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. ใน ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยบูรพา.
เวหา เกษมสุข. (2562). แนวทางการส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตในโรงเรียนผู้สูงอายุ. วารสารพยาบาลตำรวจ, 11(2), 261-271.
ศศิพัฒน์ ยอดเพชร. (2559). เตรียมพร้อมประชากรรับมือสังคมสูงวัยเต็มรูปแบบหรือยัง? เรียกใช้เมื่อ 5 กุมภาพันธ์ 2567 จาก https://thaitgri.org/?wpdmpro=เอกสารประกอบงานเสวนาวิ-2
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. (2560). สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย. เรียกใช้เมื่อ 13 มกราคม 2568 จาก https://www.thaihealth.or.th/?p=182771
สำนักงานแรงงานจังหวัดเชียงใหม่. (2567). สถานการณ์แรงงานจังหวัดเชียงใหม่ 2566. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงแรงงาน.
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2560). ดัชนีพฤฒพลังผู้สูงอายุไทย (Active Aging Index of Thai Elderly). กรุงเทพมหานคร: บริษัท เท็กซ์ แอนด์ เจอร์นัลพับลิเคชั่น จำกัด.
สำนักศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ. (2559). ท้องถิ่นรวมใจ ดูแลผู้สูงวัยในชุมชน. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.).
สุธีรา บัวทอง และคณะ. (2558). ผู้สูงอายุกับเหตุผลในการเรียนรู้วิธีการเรียนรู้และสิ่งที่ต้องการเรียนรู้. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 12(1,2), 6-17.
อาชัญญา รัตนอุบล และคณะ. (2554). การศึกษาและการเรียนรู้ตลอดชีวิตของผู้สูงอายุไทย. ใน รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.
อุบล หลิมสกุล. (2555). องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกับการเตรียมความพร้อมสู่สังคมผู้สูงอายุ. เรียกใช้เมื่อ 5 กุมภาพันธ์ 2567 จาก https://www.dla.go.th/upload/ebook/column/2012/6/2010_5036.pdf
CDC. (2022). Well-Being Concepts. Retrieved December 12, 2024, from https://www.cdc.gov/hrqol/wellbeing.htm#seven
Friebe, J. & Schmidt-Hertha, B. (2013). Activities and barriers to education for elderly people. Journal of Contemporary Education Studies, 1(2013), 10-26.
Jin, B. (2017). The Impact of Participation in Education Programs on Elderly’s Life Satisfaction. Retrieved February 2, 2025, from https://newprairiepress.org/cgi/viewcontent.cgi?article=3895&context=aerc
Pipatpen, M. (2017). Education for the Elderly: A New Educational Dimension for the Learning Society of Thailand. International Journal of Behavioral Science, 12(1), 43-54.
Plácido, A. et al. (2022). Health and Wellbeing in Aging. Retrieved December 12, 2024, from https://pmc.ncbi.nlm.nih.gov/articles/PMC9323310/
Punyakaew, A. et al. (2019). Active Ageing Level and Time Use of Elderly Persons in a Thai Suburban Community. Retrieved December 12, 2024, from https://onlinelibrary.wiley.com/doi/10.1155/2019/7092695
Sheng, Y. et al. (2019). Lifelong Learning and Ageing: Evidence from Singapore. Civil Service Collage Singapore. Retrieved February 2, 2025, from https://knowledge.csc.gov.sg/ethos-issue-20/lifelong-learning-and-ageing-evidence-from-singapore/
Thang, L. et al. (2012). Lifelong Learning Among Older Adults in Singapore. Council for the Third Age (C3A). Choa Chu Kang: Fei Yue Community Services.
Vyasamoorthy, P. (2018). Lifelong Learning for the Elderly (Paper based on a presentation made at 18th AISCCON National Conference, Hyderabad 29th-30th Nov 2018). Retrieved February 2, 2025, from http://researchgate.net/publication/330440512
WHO. (2002). Active Ageing: A Policy Framework. Geneva: World Health Organization.
Zhang, K. et al. (2022). The Promotion of active aging through older adult education in the context of population aging. Retrieved February 1, 2015, from https://pmc.ncbi.nlm.nih.gov/articles/PMC9589353/