การศึกษาการดำเนินงานวิชาการของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 3

Main Article Content

ไผ่ทอง ธรรมชาติ
บุญเลิศ ธานีรัตน์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการดำเนินงานวิชาการของโรงเรียนตามการรับรู้ของครู 2) เพื่อเปรียบเทียบการดำเนินงานวิชาการของโรงเรียนตามการรับรู้ของครู ตามตัวแปรเพศ ระดับการศึกษา วิทยฐานะ ประสบการณ์การทำงาน ขนาดของโรงเรียน เพศของผู้บริหาร และวิทยฐานะของผู้บริหาร และ 3) เพื่อศึกษาปัญหาและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการดำเนินงานวิชาการของโรงเรียน การศึกษาวิจัยนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบสำรวจ ประชากร คือ ครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 3 จำนวน 1,515 คน กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 287 คน โดยใช้วิธีสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิสัดส่วนตามขนาดของโรงเรียน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ค่าความสอดคล้อง (IOC) อยู่ระหว่าง .80 - 1.00 และค่าสัมประสิทธิ์ทั้งฉบับ เท่ากับ .986 สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และเปรียบเทียบพหูคูณด้วยวิธี LSD ผลการวิจัยพบว่า 1) การดำเนินงานวิชาการของโรงเรียนตามการรับรู้ของครู โดยภาพรวมอยู่ในระดับดี (equation = 4.43, S.D. = 0.40) 2) ผลการเปรียบเทียบการดำเนินงานวิชาการของโรงเรียนตามการรับรู้ของครู ตามตัวแปรเพศ ระดับการศึกษา และวิทยฐานะของผู้บริหาร โดยภาพรวมไม่แตกต่างกัน ส่วนตัวแปรวิทยฐานะและขนาดของโรงเรียน โดยภาพรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ตัวแปรประสบการณ์การทำงาน โดยภาพรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และตัวแปรเพศของผู้บริหาร โดยภาพรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 และ 3) ปัญหา พบว่า ผู้บริหารบางส่วนขาดความชำนาญในเรื่องการพัฒนาหลักสูตร การพัฒนากระบวนการเรียนรู้ และการพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายใน

Article Details

How to Cite
ธรรมชาติ ไ. ., & ธานีรัตน์ บ. . (2025). การศึกษาการดำเนินงานวิชาการของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 3. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 12(2), 82–93. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JMND/article/view/285192
บท
บทความวิจัย

References

กมลรัตน์ ประทีป ณ ถลาง. (2565). การบริหารงานวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนตามทัศนะของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาภูเก็ต. ใน วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. วิทยาลัยเทคโนโลยีภาคใต้.

ชญานนท์ สายนาค และศิริรัตน์ ทองมีศรี. (2564). การมีส่วนร่วมของครูในการบริหารสถานศึกษาในสหวิทยาเขตเกาะหลักสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 10 จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. ใน วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา วิทยาลัยการฝึกหัดครู. มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร.

พงษ์นาค แซ่เลียบ. (2566). ประสิทธิภาพการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนเอกชน สังกัดสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนครศรีธรรมราช. ใน สารนิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. วิทยาลัยเทคโนโลยีภาคใต้.

พรรณี ลีกิจวัฒนะ. (2558). วิธีการวิจัยทางการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพมหานคร: สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.

พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545. (2550). ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 124 ตอนที่ 24 ก หน้า 29-36 (16 พฤษภาคม 2550).

พิชชาพร ชัยบุญมา. (2562). การมีส่วนร่วมในการบริหารงานวิชาการของครูในโรงเรียนสังกัดเทศบาลเมืองตาก จังหวัดตาก. ใน การศึกษาค้นคว้าอิสระศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาศึกษาศาสตร์. มหาวิทยาลัย สุโขทัยธรรมาธิราช.

พิมพ์ใจ พุฒจัตุรัส. (2562). การบริหารงานวิชาการของโรงเรียน สังกัดสำนักงานศึกษาธิการภาค 1. ใน วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์. จังหวัดปทุมธานี.

มยุรี รินศรี. (2564). การบริหารงานวิชาการของโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำปาง เขต 3. ใน การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยพะเยา.

ยุพา พรมแย้ม. (2562). การบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาในอำเภอบางบัวทอง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 2. ใน วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

ศิวพร ละหารเพชร. (2562). ประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการสถานศึกษาขนาดเล็กตามความคิดเห็นของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 2. ใน วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 3. (2566). ข้อมูลสารสนเทศทางการศึกษา สพป. นครศรีธรรมราช เขต 3. เรียกใช้เมื่อ 10 มิถุนายน 2566 จาก http://www.nst3.go.th/?page_id=782.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2553). แนวทางการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2556). คู่มือการบริหารโรงเรียนในโครงการพัฒนาการบริหารรูปแบบนิติบุคคล. กรุงเทพมหานคร: กลุ่มวิจัยและพัฒนานโยบาย สำนักนโยบายและแผนการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

สุภาวดี ใจภักดี และอัจฉรา วัฒนาณรงค์. (2563). การมีส่วนร่วมของครูผู้สอนในการบริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1. ใน การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา วิทยาลัยการจัดการ. มหาวิทยาลัยพะเยา.

สุวิมล สีแซก. (2565). ประสิทธิภาพการดำเนินงานวิชาการของโรงเรียนตามทัศนะของครู ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชุมพร เขต 2. ใน วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. วิทยาลัยเทคโนโลยีภาคใต้.

อนุสรา โสพรรณรัตน์. (2566). บทบาททางวิชาการของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครศรีธรรมราช. ใน สารนิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษาวิทยาลัย. เทคโนโลยีภาคใต้.

Cronbach, L. J. (1990). Essential of psychological testing. (5th ed.). New York: Harper Collins.

Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational. and Psychological Measurement, 30(3), 607-609.

Likert, R. (1967). The human organization: Is management and value. New York: McGraw-Hill.