ความสุขในการปฏิบัติงานของครูที่ส่งผลต่อความผูกพันในองค์กร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 3

Main Article Content

จิราภรณ์ สิงหา
ปรัชญา ธงพานิช
สุมาลี ศรีพุทธรินทร์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาและเปรียบเทียบความสุขในการปฏิบัติงานของครู จำแนกตามสถานภาพและขนาดของสถานศึกษา 2) ศึกษาและเปรียบเทียบความผูกพันในองค์กร จำแนกตามสถานภาพและขนาดของสถานศึกษา 3) ศึกษาความสัมพันธ์ความสุขในการปฏิบัติงานของครูกับความผูกพันในองค์กร และ 4) ศึกษาอำนาจพยากรณ์ของความสุขในการปฏิบัติงานที่ส่งผลต่อความผูกพันในองค์กรสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 3 โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยผู้บริหารสถานศึกษาและครู จำนวน 288 คน โดยสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ แบ่งเป็น 3 ตอน ได้แก่ ข้อมูลส่วนตัว ความสุขในการปฏิบัติงาน และความผูกพันในองค์กร ผลการวิจัยพบว่า ความสุขในการปฏิบัติงานและความผูกพันในองค์กรของครูอยู่ในระดับมาก และแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 เมื่อพิจารณาตามสถานภาพและขนาดของสถานศึกษา นอกจากนี้ ความสุขในการปฏิบัติงานมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับความผูกพันในองค์กรอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ พบว่า ตัวแปรที่ส่งผลต่อความผูกพันในองค์กรเรียงตามลำดับ ได้แก่ ด้านสุขภาพ ด้านครอบครัว ด้านการเงิน ด้านความเป็นมืออาชีพ และด้านการสร้างบรรยากาศและจัดสภาพแวดล้อม พยากรณ์ได้ร้อยละ 37 สามารถเขียนสมการได้ ดังนี้ รูปคะแนนดิบ Y' = 1.53 + .19 (ด้านสุขภาพ) + .15 (ด้านครอบครัว) + .13 (ด้านการเงิน) + .10 (ด้านความเป็นมืออาชีพ) + .08 (ด้านการสร้างบรรยากาศและจัดสภาพแวดล้อม) รูปคะแนนมาตรฐาน Zy' = .27 (ด้านสุขภาพ) + .23 (ด้านครอบครัว) + .17 (ด้านการเงิน) + .16 (ด้านการสร้างบรรยากาศและจัดสภาพแวดล้อม) + .15 (ด้านความเป็นมืออาชีพ)

Article Details

How to Cite
สิงหา จ. ., ธงพานิช ป. ., & ศรีพุทธรินทร์ ส. . (2025). ความสุขในการปฏิบัติงานของครูที่ส่งผลต่อความผูกพันในองค์กร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 3. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 12(2), 36–48. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JMND/article/view/284865
บท
บทความวิจัย

References

กฤตัชญ์ สุริยนต์ และคณะ. (2562). ความสัมพันธ์ระหว่างความสุขในการทำงานของครูกับประสิทธิผลของโรงเรียนในเครือสวนกุหลาบวิทยาลัย สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารสังคมศาสตร์วิจัย, 10(2), 1-17.

ชามา เทียนโสภา. (2566). รูปแบบการบริหารสถานศึกษาเอกชนเพื่อส่งเสริมการเป็นองค์กรแห่งความสุข. ใน วิทยานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยนเรศวร.

ณัฐชนนท์ คงอยู่. (2565). การใช้อำนาจของผู้บริหารกับความสุขในการทำงานของครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 2. ใน วิทยานิพนธ์การศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ณัฐพล หงส์คง. (2563). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษากับความสุขของครูผู้สอนในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี. วารสารบัณฑิตวิจัย, 11(1), 135-155.

ธนวุฒิ แก้วนุช. (2561). รูปแบบการพัฒนาสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสู่การเป็นองค์กรแห่งความสุข. ใน วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาการจัดการการศึกษา. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

นภาวรรณ ธนะแก้ว. (2562). สภาพและแนวทางการเสริมสร้างความผูกพันในองค์กรของครูตามทัศนะผู้บริหารสถานศึกษาและครูในอำเภอเชียงของ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 4. ใน การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยพะเยา.

นิกร แตงรอด. (2560). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความผูกพันต่อองค์กรของข้าราชการสังกัดหน่วยงานราชการแห่งหนึ่ง. ใน วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการ. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

บงกช ตั้งจิระศิลป์. (2564). ความสัมพันธ์ระหว่างความผูกพันต่อองค์การ ความจงรักภักดีต่อองค์การและผลการปฏิบัติงานของนักบัญชีในจังหวัดระยอง. วารสารบริหารธุรกิจอุตสาหกรรม, 3(2), 55-70.

บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น ฉบับปรับปรุงใหม่. (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาสน์.

ปรัชญา ธงพานิช และคณะ. (2566). การพัฒนาตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง. Journal of Roi Kaensarn Academi, 8(9), 560-576.

ปิยะธิดา ปัญญา และไพศาล วรคำ. (2560). ความสุขในการปฏิบัติงานของบุคลากรมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. ใน วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิจัยและประเมินผลการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (ฉบับที่ 13). (2566). ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 138 ตอนพิเศษ 258 ง หน้า 121 (1 ตุลาคม 2565).

ยุพา กิจส่งเสริมกุล และดวงใจ ชนะสิทธิ์. (2561). ความผูกพันต่อองค์การของครูและผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 2. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, 10(1), 321-336.

รณชัย ทองงามขำ และคณะ. (2566). พฤติกรรมของผู้บริหารที่ส่งผลต่อความผูกพันของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 1. วารสารสิรินธรปริทรรศน์, 24(2), 156-168.

เรวดี ศิริภาพ. (2562). รูปแบบการพัฒนาสุขภาวะเชิงพุทธบูรณาการของพนักงานบริษัท. ใน วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

วรวัจน์ สารถวิล. (2564). ปัจจัยคัดสรรที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์การของครูในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุราษฎร์ธานี ชุมพร. วารสารสถาบันวิจัยพิมลธรรม, 9(2), 173-180.

Policy Watch. (2567). ความสุขคนไทยลดปัญหาสุขภาพจิตสูงขึ้น. เรียกใช้เมื่อ 11 มิถุนายน 2567 จาก https://policywatch.thaipbs.or.th/article/life-16.