การเสริมสร้างความเห็นอกเห็นใจของนักเรียนประถมศึกษาตอนปลาย โดยใช้กิจกรรมแนะแนว

Main Article Content

พรพิมล เจริญอักษรกุล
มณฑิรา จารุเพ็ง
พัชราภรณ์ ศรีสวัสดิ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบความเห็นอกเห็นใจของนักเรียนประถมศึกษาตอนปลายก่อนและหลังการเข้าร่วมกิจกรรมแนะแนว และ 2) เปรียบเทียบความเห็นอกเห็นใจของนักเรียนประถมศึกษาตอนปลายระหว่างกลุ่มทดลองที่เข้าร่วมกิจกรรมแนะแนวและกลุ่มควบคุม การวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2567 ของโรงเรียนเอกชนแห่งหนึ่ง ซึ่งได้มาจากการเลือกแบบเฉพาะเจาะจง เกณฑ์ในการคัดเลือก คือ นักเรียนมีคะแนนความเห็นอกเห็นใจตั้งแต่เปอร์เซ็นไทล์ที่ 50 ลงมา นักเรียนมีความสมัครใจเข้าร่วมการทดลองและนักเรียนได้รับความยินยอมจากผู้ปกครอง มีจำนวนทั้งสิ้น 20 คน จากนั้นใช้วิธีสุ่มอย่างง่ายเพื่อเป็นกลุ่มทดลอง จำนวน 10 คน และกลุ่มควบคุม จำนวน 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบวัดความเห็นอกเห็นใจของนักเรียนประถมศึกษาตอนปลาย มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .90 และกิจกรรมแนะแนวเพื่อเสริมสร้างความเห็นอกเห็นใจของนักเรียนประถมศึกษาตอนปลาย มีค่าคุณภาพของเครื่องมือเท่ากับ 1.00 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าทีแบบกลุ่มตัวอย่างที่ไม่เป็นอิสระต่อกันและเป็นอิสระต่อกัน ผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนกลุ่มทดลองหลังการเข้าร่วมกิจกรรมแนะแนว มีค่าเฉลี่ยความเห็นอกเห็นใจสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 และ 2) นักเรียนกลุ่มทดลองที่เข้าร่วมกิจกรรมแนะแนวเพื่อเสริมสร้างความเห็นอกเห็นใจมีค่าเฉลี่ยความเห็นอกเห็นใจสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

How to Cite
เจริญอักษรกุล พ. ., จารุเพ็ง ม. ., & ศรีสวัสดิ์ พ. . (2025). การเสริมสร้างความเห็นอกเห็นใจของนักเรียนประถมศึกษาตอนปลาย โดยใช้กิจกรรมแนะแนว. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 12(1), 100–111. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JMND/article/view/283693
บท
บทความวิจัย

References

กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. (2566). กรม สบส. เผยผลสำรวจเด็กและเยาวชนเคยถูกบูลลี่ร้อยละ 44.2 ชวนยุว อสม. แกนนำนักเรียนร่วมกันเฝ้าระวังการบูลลี่ในระดับพื้นที่. เรียกใช้เมื่อ 3 ธันวาคม 2567 จาก https://hss.moph.go.th/show_topic.php?id=5747

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 - 2579. กรุงเทพมหานคร: บริษัทพริกหวานกราฟฟิค จำกัด.

กฤตวรรณ คำสม. (2559). บริการแนะแนวในโรงเรียน: ความสำคัญและความจำเป็น. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

วิจารณ์ พานิช. (2556). การสร้างการเรียนรู้สู่ศตวรรษที่ 21. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิสยามกัมมาจล.

วิเชียร เกตุสิงห์. (2538). ค่าเฉลี่ยกับการแปลความหมาย: เรื่องง่าย ๆ ที่บางครั้งก็พลาดได้. วารสารข่าวสารการวิจัยการศึกษา, 18(3), 8-10.

สมาคมแนะแนวแห่งประเทศไทย. (2559). เทคนิคการแสดงบทบาทสมมติในกิจกรรมแนะแนว. กรุงเทพมหานคร: สมาคมแนะแนวแห่งประเทศไทย.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2559). การจัดการเรียนรู้กิจกรรมแนะแนว. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2556). แนวทางการแก้ปัญหาความรุนแรงในสถานศึกษา. กรุงเทพมหานคร: บริษัทพริกหวานกราฟฟิค จำกัด.

อาดัม นีละไพจิตร. (2557). การพัฒนาทักษะทางสังคมในวัยเด็กตอนปลาย. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Bandura, A. (1986). Social foundations of thought and action: A social cognitive theory. USA: Prentice-Hall.

Cotton, K. (1992). Developing empathy in children and youth. School Improvement Research, 7(1), 25-40.

Damon, W. (2004). What is positive youth development?. The ANNALS of The American Academy of Political and Social Science, 591(1), 13-24.

Davis, M. H. (1983). Measuring individual differences in empathy: Evidence for a multidimensional approach. Journal of Personality and Social Psychology, 44(1), 113-126.

Eisenberg, N. (2006). Empathy-related responding and prosocial behavior. Novartis Foundation Symposium, 278(1), 71-80.

Erikson, E. H. (1959). Identity and the Life Cycle. New York: International Universities Press.

Goleman, D. (2020). Emotional intelligence: Why it can matter more than IQ. (25th ed.). London: Bloomsbury Publishing Plc.

Greenberg, M. T. et al. (2003). Enhancing school-based prevention and youth development through coordinated social, emotional, and academic learning. American Psychologist, 58(6-7), 466-474.

Hikmat, R. et al. (2024). Empathy’s Crucial Role: Unraveling Impact on Students Bullying Behavior-A Scoping Review. Journal of Multidisciplinary Healthcare, 17(1), 3483-3495.

Likert, R. (1967). The Method of Constructing and Attitude Scale, in Attitude Theory and Measurement. New York: Wiley & Son.

Lohr, S. L. (2019). Sampling: Design and analysis. (2nd ed.). Boca Raton: CRC Press Taylor & Francis Group.

Oberle, E. & Schonert-Reichl, K. A. (2017). Social and emotional learning: recent research and practical strategies for promoting children’s social and emotional competence in schools. New York: Springer International Publishing AG.

Scott, K. E. & Graham, J. A. (2015). Service-learning: Implications for empathy and community engagement in elementary school children. Journal of Experiential Education, 38(4), 354-372.

Seligman, M. E. & Csikszentmihalyi, M. (2000). Positive psychology: An introduction. American Psychological Association, 55(1), 5-14.

Thai Life Channel. (2014). Thai life insurance: unsung hero. Retrieved July 30, 2024, from https://www.youtube.com/watch?v=oujqv98ZsZM

Vivvi. (2022). Direct guidance vs. indirect guidance examples. Retrieved November 8, 2024, from https://vivvi.com/blog/articles/indirect-vs-direct-guidance-examples

Vygotsky, L. S. (1978). Mind in society: The development of higher psychological processes. Massachusetts: Harvard University Press.

World Health Organization. (1997). Life skills education for children and adolescents in schools. Retrieved December 15, 2023, from https://iris.who.int/bitstream/handle/10665/63552/WHO_MNH_PSF_93.7A_Rev.2.pdf?sequence=1&isAllowed=y