แนวทางการสร้างโฆษณาแฝงบนยูทูบที่เข้าถึงผู้บริโภคชาวญี่ปุ่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Main Article Content

วรวรรณ องค์ครุฑรักษา
นิดา ลาภศรีสวัสดิ์

บทคัดย่อ

ยูทูบเป็นเว็บไซต์วิดีโอที่ได้รับความนิยมอย่างมากในประเทศญี่ปุ่น การโฆษณาบนยูทูบรูปแบบการโฆษณาแฝงโดยสอดแทรกเนื้อหาหรือวางสินค้าให้เป็นส่วนหนึ่งของวิดีโอเป็นวิธีที่ประสบความสำเร็จ งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อเปรียบเทียบการเปิดรับ ทัศนคติและพฤติกรรมตอบสนองต่อโฆษณาแฝงบนยูทูบของชาวญี่ปุ่นตามลักษณะประชากร 2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการเปิดรับ ทัศนคติ และพฤติกรรมการตอบสนองต่อการโฆษณาแฝงบนยูทูบของชาวญี่ปุ่น เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างเป็นชาวญี่ปุ่น จำนวน 200 คน วิเคราะห์ทางสถิติด้วยวิธี T-test เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างตามลักษณะทางประชากร หาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรด้วยค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มอายุ 40 - 59 ปี มีพฤติกรรมตอบสนองต่อโฆษณาแฝงบนยูทูบมากกว่ากลุ่มอายุ 20 - 39 ปี โดยกลุ่มผู้ที่มีสถานภาพสมรสอื่น ๆ (เช่น แต่งงานและมีบุตร) มีความตั้งใจใช้งานและความตั้งใจซื้อมากกว่าสถานภาพโสดหรือไม่มีบุตร ในขณะที่ความสัมพันธ์ระหว่างการเปิดรับ ทัศนคติ และพฤติกรรมการตอบสนองต่อการโฆษณาแฝงบนยูทูบของกลุ่มตัวอย่างนั้นมีความสัมพันธ์กันในเชิงบวกในระดับปานกลางที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 โดยพบว่า การเปิดรับมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมตอบสนองต่อโฆษณาแฝงบนยูทูบมากที่สุด โดยคลิปที่มีสินค้าวางประกอบฉากเท่านั้น ทำให้เกิดการเปิดรับที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมตอบสนอง ทั้งนี้ ผลการวิจัยนี้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการโฆษณาแฝงบนยูทูบที่มีกลุ่มเป้าหมายเป็นผู้บริโภคชาวญี่ปุ่นได้ด้วยการวางโฆษณาอย่างแนบเนียน โดยไม่ยัดเยียดการขาย รวมถึงใช้ความเข้าใจในวัฒนธรรมโดยผสมผสานให้สอดคล้องกับพฤติกรรมของผู้บริโภคชาวญี่ปุ่นอย่างเหมาะสม

Article Details

How to Cite
องค์ครุฑรักษา ว. ., & ลาภศรีสวัสดิ์ น. . (2024). แนวทางการสร้างโฆษณาแฝงบนยูทูบที่เข้าถึงผู้บริโภคชาวญี่ปุ่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 11(12), 270–279. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JMND/article/view/283691
บท
บทความวิจัย

References

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2550). การวิเคราะห์สถิติ: สถิติสําหรับบริหารและวิจัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

กิตติกันตพงศ์ สุเมธานุภาพ. (2565). ความเข้าใจพฤติกรรมเชิงลึกของผู้ชมรายการ The Golden Song เวทีเพลงเพราะของกลุ่ม เบบี้บูมเมอร์ และเจเนอเรชั่นเอ็กซ์ ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. วารสารวิชาการวิทยาลัยสันตพล, 8(1), 69-80.

ฉันธะ จันทะเสนา และคณะ. (2560). การศึกษาความพึงพอใจในคุณภาพการบริการทางอิเล็กทรอนิกส์. วารสารบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 40(153), 45-63.

บุหงา ชัยสุวรรณ. (2558). การจัดกลุ่มและหาคุณลักษณะของกลุ่มดิจิทัลอิมมิแกรนท์ตามพฤติกรรมการสื่อสารในบริบทออนไลน์และปัญหาทางความสัมพันธ์กับสังคม. วารสารพัฒนบริหารศาสตร์, 58(1), 54-73.

ยุบล เบ็ญจรงค์กิจ. (2553). การตอบสนองของกลุ่มผู้บริโภคเป้าหมายต่อการประชาสัมพันธ์ทางสื่อใหม่: (Target Audience Responses to Public Relations through New Media). ใน รายงานการวิจัยกองทุนเพื่อการวิจัย. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วรวรรณ องค์ครุฑรักษา. (2564). อิทธิพลของการสื่อสารการตลาดในยูทูบที่มีต่อพฤติกรรมผู้บริโภคเจเนเรชั่น Z และ Y. วารสารการประชาสัมพันธ์และการโฆษณา, 14(1). 1-12.

วรวรรณ องค์ครุฑรักษา. (2566ก). การโฆษณาแฝงบนยูทูบไทยและญี่ปุ่น: จุดสมดุลของการขายสินค้า และการให้ข้อมูล การรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 10(12), 151-162.

วรวรรณ องค์ครุฑรักษา. (2566ข). การเปรียบเทียบทัศนคติต่อยูทูบเบอร์เสมือนจริงและพฤติกรรมตอบสนองต่อโฆษณาแฝงของผู้บริโภคชาวไทยและชาวญี่ปุ่น. วารสารการประชาสัมพันธ์และการโฆษณา, 16(2), 15-28.

วรวรรณ องค์ครุฑรักษา. (2566ค). การสำรวจการเปิดรับ ทัศนคติ และพฤติกรรมตอบสนองของผู้บริโภคต่อโฆษณาแฝงในยูทูบในช่วงการระบาดของโควิด 19. วารสารการสื่อสารและการจัดการ นิด้า, 9(1), 18-34.

วรวรรณ องค์ครุฑรักษา. (2567ข). อิทธิพลของอัตนิยมเชิงวัฒนธรรมและความเป็นสากลที่มีผลต่อพฤติกรรมตอบสนองต่อโฆษณาแฝงบนยูทูบของผู้บริโภคชาวญี่ปุ่น อิทธิพลของอัตนิยมเชิงวัฒนธรรมและความเป็นสากลที่มีผลต่อพฤติกรรมตอบสนองต่อโฆษณาแฝงบนยูทูบของผู้บริโภคชาวญี่ปุ่น. วารสารนิเทศศาสตรปริทัศน์, 28(2), 163-178.

Crespo, C. F. et al. (2023). The influence of storytelling on the consumer–brand relationship experience. Journal of Marketing Analytics, 11(1), 41-56.

JapanBuzz, T. (2024). Top 10 Popular YouTubers in Japan-Updated 2024. Retrieved January 17, 2024, from https://www.japanbuzz.info/youtubers-in-japan/

Kimura, Y. et al. (2023). Digital Media Consumption Trends in Family Households. Journal of Japanese Media Studies, 15(2), 45-60.

Kit, L. C. & Qui, E. L. (2014). The Effectiveness of Product Placement: The Influence of Product Placement towards Consumer Behavior of the Millennial Generation. International Journal of Social Science and Humanity, 4(2), 138-142.

LineShopping. (2022). เจาะลึกการตลาดแบบญี่ปุ่น ทำไมถึงครองใจคนซื้อทั่วโลก. Retrieved January 17, 2024, from https://lineshoppingseller.com/market-trend/japanese-marketing

Nextplora. (2023). The Evolution of Product Placement: Traditional Advertising vs. Native Integration. Retrieved January 17, 2024, from https://business.nextplora.com/the-evolution-of-product-placement-traditional-advertising-vs-native-integration/

Ongkrutraksa, W. (2022). Exploring Young Consumers’ Exposure, Attitude, and Behavioral Response to YouTube Video Game Streaming’s Product Placement. International Journal of Electronic Commerce Studies, 13(3), 45-68.

Principle. (2020). YouTube Trends in Japan and Everything Marketers Should Know. Retrieved January 17, 2024, from https://us.principle-c.com/blog/apac/youtube-trends-in-japan-and-everything-marketers-should-know/

Sproutsocial. (2022). YouTube Statistics to Power Your Marketing Strategy in 2022. Retrieved January 17, 2024, from https://sproutsocial.com/insights/youtube-stats/