การธำรงในคุณค่าของศิลปวัฒนธรรมไทยบนฐานพระพุทธศาสนา
Main Article Content
บทคัดย่อ
ทุนวัฒนธรรม เป็นทรัพย์สินทางปัญญาที่สั่งสมมาในอดีต มีคุณค่าต่อมนุษย์และความต้องการของสังคม นอกเหนือจากการให้คุณค่าทางเศรษฐกิจเป็นทุนที่ใช้ในการผลิตสินค้าและบริการที่มีนัยทางวัฒนธรรม ซึ่งก็คือ ทุนการเงิน ทุนบริการในระบบทุนนิยม โลกปัจจุบันที่มีความเชื่อมโยงกับอุตสาหกรรมที่สื่อถึงนัยทางวัฒนธรรมที่เรียกว่า อุตสาหกรรมสินค้า วัฒนธรรมที่ผลิตสินค้าวัฒนธรรมและบริการที่มีวัฒนธรรมฝังตัวอยู่ในสินค้าและบริการนั้น วัฒนธรรมช่วยสร้างระเบียบให้กับสังคม โดยเป็นตัวกำหนดแบบแผนพฤติกรรมของสมาชิกในสังคม รวมถึงการสร้างแบบแผนของความคิด ความเชื่อ และค่านิยมของสมาชิกให้อยู่ในรูปแบบเดียวกัน ช่วยให้เกิดความสามัคคี สังคมที่มีวัฒนธรรมเดียวกันจะมีความรู้สึกผูกพัน เกิดความเป็นปึกแผ่น อุทิศตนให้กับสังคม วัฒนธรรมเป็นตัวกำหนดรูปแบบของสถาบันครอบครัว เป็นเครื่องแสดงเอกลักษณ์ของชาติ ชาติที่มีวัฒนธรรมสูง ย่อมได้รับการยกย่องและเป็นหลักประกันความมั่นคงของชาติ ช่วยให้ประเทศชาติเจริญก้าวหน้า หากสังคมใดมีวัฒนธรรมที่ดีงามเหมาะสม เช่น ความมีระเบียบวินัย ขยัน อดทน เห็นประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าส่วนตน สังคมย่อมจะเจริญก้าวหน้าได้ ดังนั้นคุณค่าการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมทางพระพุทธศาสนาของสังคมไทยในปัจจุบันต้องมีการธำรงรักษา โดยคำนึงถึงการมีส่วนร่วมของชุมชนในการธำรงรักษาและการพัฒนาศิลปของวัด ศิลปกรรมในพระพุทธศาสนานั้นมักจะสร้างขึ้นในวัด ทั้งนี้เพราะวัดเป็นจุดศูนย์กลางของพุทธศาสนิกชน ถ่ายทอดศิลปะและธรรมะ ชักชวนให้เข้าวัด เป็นสื่อนำในการรับรู้เข้าใจในหลักธรรม ให้มีจิตใจเป็นบุญ เป็นกุศล เสียสละ บริจาคทาน งานพุทธศิลปกรรมก่อให้เกิดผลอันเป็นคุณค่าทางจิตใจ แก่ผู้ที่สนใจในด้านศิลปวัฒนธรรม
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กรมศิลปกร. (2544). คู่มือถวายความรู้แด่พระสังฆาธิการในการดูแลรักษามรดกทางศิลปวัฒนธรรม. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร: บริษัทสมานพันธ์ จำกัด.
คณะกรรมการดำเนินงานและประสานงานวันอนุรักษ์มรดกไทย. (2541). แผนแม่บทวันอนุรักษ์มรดกไทย. เรียกใช้เมื่อ 16 เมษายน 2567 จาก https://www2.m-culture.go.th/
คณาจารย์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2551). วัฒนธรรมไทย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ประเวศ วะสี. (2544). การพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน. จุลสารการท่องเที่ยว, 20(3), 33-41.
ประเวศ อินทองปาน. (2560). การธำรงวัฒนธรรมไทยที่มีรากฐานจากพระพุทธศาสนา. วารสารมหาจุฬาวิชาการ, 3(1), 68-85.
เปี่ยม บุญยะโชติ. (2513). การสร้างโบสถ์และอานิสงส์การสร้างประมวลหลักโหราศาสตร์และมูลเหตุของศาสตร์และพิธีกรรมของโหร. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์เฟื่องอักษร.
ผจงจิตต์ อธิคมนันทะ. (2543). การเปลี่ยนแปลงสังคมและวัฒนธรรมไทย. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
พระธรรมวรนายก (โอภาส นิรุตฺติเมธี). (2546). การพัฒนาวัดให้เป็นศูนย์กลางของชุมชนในธรรมปริทัศน์ 46. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระยาอนุมานราชธน. (2533). เรื่องพระเจดีย์. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์พระจันทร์.
พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพระเจ้าจักรวรรดิพงศ์. (2533). (จาด) เล่ม 2. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์คุรุสภา.
ราชบัณฑิตยสถาน . (2530). พจนานุกรมศัพท์ศิลปกรรม อักษร ข-ฉ. กรุงเทพมหานคร: บริษัทเพื่อนพิมพ์.
วิจิตร สินสิริ และนิล เอี่ยมสำอาง. (2530). แบบฝึกหัดรวบยอด ส. 102 ประเทศของเรา สำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. กรุงเทพมหานคร: อักษรเจริญทัศน์.
สถาบันพระปกเกล้า. (2550). วัดระดับการบริหารจัดการที่ดี. (พิมพ์ครั้งที่ 3). นนทบุรี: บริษัท พิมพ์ดี จำกัด.
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ และสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชนุภาพ. (2551). สาส์นสมเด็จ (เล่ม 2). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์คุรุสภา.
สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส. (2531). วินัยมุข เล่ม 1 (พิมพ์ครั้งที่ 35). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย.
สำนักงานคณะกรรมการจัดระบบจราจรทางบก. (2541). เศรษฐกิจพอเพียงและประชาสังคมแนวทางพลิกฟื้นเศรษฐกิจสังคม. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์หมอชาวบ้าน.
สำนักงานคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ. (2530). การพัฒนาการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมศิลปกรรม. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์การศาสนา.
สำนักงานพระพุทธศาสนา. (2567). พระพุทธศาสนากับวัฒนธรรมไทย. เรียกใช้เมื่อ 7 เมษายน 2567 จาก https://www.mcu.ac.th/article/detail/405
สุรสวัสดิ์ สุขสวัสดิ์. (2542). การอนุรักษ์ศิลปกรรมเชียงใหม่. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.