ผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ตัวแทนที่หลากหลาย(MULTIPLE REPRESENTATIONS) ที่มีต่อความสามารถในการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์ เรื่อง ระบบสมการสองตัวแปร ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์ เรื่อง ระบบสมการสองตัวแปร ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาที่ 3 ก่อนและหลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ตัวแทนที่หลากหลาย (MULTIPLE REPRESENTATIONS) 2) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์ เรื่อง ระบบสมการสองตัวแปร ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 หลังได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ตัวแทนที่หลากหลาย (MULTIPLE REPRESENTATIONS) กับเกณฑ์ร้อยละ 70 โดยใช้ระเบียบวิจัยแบบ One Group Pretest - Posttest Design กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน จำนวน 1 ห้องเรียน มีนักเรียน 48 คน ได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม การวิจัยครั้งนี้มีเครื่องมือวิจัย ได้แก่ แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ตัวแทนที่หลากหลาย จำนวน 10 แผน และแบบวัดความสามารถในการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์ เรื่อง ระบบสมการสองตัวแปร โดยมีค่าความยากง่าย (p) ตั้งแต่ 0.43 - 0.58 ค่าอำนาจจำแนก (r) ตั้งแต่ 0.51 - 0.78 และมีค่าความเชื่อมั่น 0.72 ทดสอบสมมุติฐานโดยใช้สถิติ t - test for Dependence Samples และ t - test for One Sample ผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ตัวแทนที่หลากหลาย มีคะแนนความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่อง ระบบสมการสองตัวแปร หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ความสามารถในการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์ เรื่อง ระบบสมการสองตัวแปร ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 หลังได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ตัวแทนที่หลากหลาย ได้ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 24.13 จากคะแนนเต็ม 30 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 80.43 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กมลทิพย์ เกตุศรี. (2564). การศึกษาความสามารถในการแก้ปัญหาและการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เรื่อง พื้นที่ผิวและปริมาตร โดยการสอนแนะให้รู้คิด (CGI) ร่วมกับการนึกภาพ (visualization) กับการสอนแบบปกติ. ใน วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาการมัธยมศึกษา. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
กรมวิชาการ. (2545). เอกสารประกอบหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544. กรุงเทพมหานคร: กรม.
กษิตธร ขวัญละมูล. (2565). การพัฒนาแอปพลิเคชันบนมือถือผ่านระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่อง ฟังก์ชัน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. ใน วิทยานิพนธ์การศึกษาดุษฏีบัณฑิต สาขาคณิตศาสตร์. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
กัลยา ทองสุ. (2545). การพัฒนาชุดกิจกรรมคณิตศาสตร์แบบสืบสวนสอบสวนเพื่อส่งเสริม การใช้ตัวแทน (Representation) เรื่องระบบสมการเชิงเส้นระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. ใน วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาการมัธยมศึกษา. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
โครงการ PISA ประเทศไทย. (2565). ผลการประเมิน PISA 2022 การอ่านคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์: บทสรุปเพื่อการบริหาร. เรียกใช้เมื่อ 3 มกราคม 2565 จาก https://pisathailand.ipst.ac.th/news-21/
จริยาวดี บรรทัดเที่ยง. (2547). ผลการใช้ชุดกิจกรรมที่ส่งเสริมทักษะ/กระบวนการทางคณิตศาสตร์ด้านการใช้ตัว แทนเรื่องคู่อันดับและกราฟ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. ใน สารนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาการมัธยมศึกษา. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ชมพูนุท ชาวบ้านเกาะ. (2554). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ตัวแทน (Representation) ที่มีต่อความสามารถในการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์เรื่องฟังก์ชัน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. ใน สารนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาการมัธยมศึกษา. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ปรีชา เนาว์เย็นผล. (2543). กิจกรรมการเรียนการสอนคณิตศาสตร์โดยใช้คำถามปลายเปิด. วารสารคณิตศาสตร์, 1(ฉบับพิเศษ), 28-30.
ปานทอง กุลนาถศิริ. (2543). ความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับ NCTM PRINCIPLES AND STANDARDS FOR SCHOOL MATHEMATICS ในปี ค.ศ.2000. กรุงเทพมหานาคร: สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.
ยุพิน พิพิธกุล. (2524). การเรียนการสอนคณิตศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: บพิธการพิมพ์.
สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน). (2564). ตารางค่าสถิติพื้นฐานของคะแนนการสอบ O-NET. เรียกใช้เมื่อ 2 มกราคม 2565 จาก http://www.newonetresult.niets.or.th/Announcement Web/Notice/FrBasicStat.aspx
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2555). การวัดผลประเมินผลคณิตศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: ซีเอ็ดยูเคชั่น.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2552). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลางกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพมหานคร: สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ.
อรชร ภูบุญเติม. (2550). การศึกษาความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์เรื่อง โจทย์สมการของนักเรียนระดับชนมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยการใช้ตัวแทน (Representation). ใน สารนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาการมัธยมศึกษา. มหาวิทยาลัยรีนครินทรวิโรฒ.
อัมพร ม้าคนอง. (2553). ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ : การพัฒนาเพื่อพัฒนาการ (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพมหานคร: ศูนย์ตำราและเอกสารทางวิชาการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อัมพร ม้าคนอง. (2559). ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ : การพัฒนาเพื่อพัฒนาการ (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร: ศูนย์ตำราและเอกสารทางวิชาการ คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Bruner, J. S. (1960). The process of education. Cambridge: Harvard University Press.
Krulik, S., & Reys, R. E. (1980). Problem solving in school mathematics: 1980 yearbook. Reston, VA: National Council of Teachers of Mathematics.
National Council of Teachers of Mathematics. (2000). Principles and standards for school mathematics. Reston. VA: National Council of Teachers of Mathematics.