การปรับตัวของสถานศึกษา และแนวทางการจัดการเรียนรู้ ภายหลังการระบาดใหญ่ไวรัสโควิด 19 กรณีศึกษาโรงเรียนระดับประถมศึกษาเอกชนแห่งหนึ่งในจังหวัดนราธิวาส
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการปรับตัวของสถานศึกษา และแนวทางการจัดการเรียนรู้หลังการระบาดของโควิด - 19 กรณีศึกษาโรงเรียนระดับประถมศึกษาเอกชนแห่งหนึ่งในจังหวัดนราธิวาส โดยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก (In - depth Interview) ผู้ให้ข้อมูลสำคัญมาจากบุคคล 4 กลุ่ม จำนวน 21 คน ประกอบด้วย 1) กลุ่มผู้ปกครอง 6 คน 2) กลุ่มนักเรียน 6 คน เลือกจากกลุ่มนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 3) กลุ่มครูผู้สอน 6 คน ต้องมีประสบการณ์ทำงานภายในโรงเรียน
ไม่น้อยกว่า 2 ปี และ 4) กลุ่มผู้บริหาร 3 คน มีความเกี่ยวข้องกับการบริหารโรงเรียน มีประสบการณ์การบริหารสถานศึกษาไม่น้อยกว่า 2 ปี วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา นำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูล
ในรูปแบบรายงานเชิงพรรณนาวิเคราะห์ ผลการวิจัยพบว่า การปรับตัวของสถานศึกษามีการปรับตัว 3 ด้าน ประกอบด้วย 1) การบริหารสถานศึกษา มี 3 องค์ประกอบด้วยกัน ได้แก่ การบริหารบุคคล การบริหารงบประมาณ และการบริหารเทคโนโลยี 2) การจัดการเรียนรู้ ภายหลังการระบาดโควิด 19 การจัดการเรียนรู้จำเป็นต้องมี
การปรับตัวให้มีความยืดหยุ่น และมีความทันสมัย 3) การพัฒนาสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ เป็นส่วนสำคัญของ
การสร้างความน่าเชื่อถือของโรงเรียน คือ การมีสภาพแวดล้อมที่สนับสนุนการพัฒนาในด้านวิชาการ และด้านร่างกายของผู้เรียน แนวทางการจัดการเรียนรู้ที่สำคัญ 3 แนวทาง ประกอบด้วย 1) การผนวกรวมเทคโนโลยี เพื่อให้การศึกษามีความยืดหยุ่น และสอดคล้องกับบริบทสังคมที่มีการเปลี่ยนแปลง 2) การพัฒนาทักษะด้านดิจิทัล เป็นทักษะที่มีความสำคัญจำเป็นต้องมีการอบรม และถ่ายทอดความรู้ให้แก่ครูผู้สอน เพื่อนำมาเป็นเครื่องมือใน
การสอนที่มีความสร้างสรรค์ 3) การเลือก และออกแบบเนื้อหาการเรียนรู้ โดยผ่านความร่วมมือของสถานศึกษา ครู นักเรียน ผู้ปกครอง และชุมชน
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กรมประชาสัมพันธ์. (2564). กระทรวงศึกษาธิการกำหนด 5 รูปแบบการเรียนการสอนรองรับการเปิดภาคเรียนให้เหมาะสมแต่ละภูมิภาคของประเทศ. เรียกใช้เมื่อ 16 ธันวาคม 2566 จาก https://www.prd.go.th /th/content/category/detail/id/9/iid/19133
กระทรวงสาธารณสุข. (2562). คำแนะนําและมาตรการในการป้องกันควบคุมโรคไข้หวัดใหญ่สำหรับโรงเรียนและสถานศึกษา. เรียกใช้เมื่อ 16 ธันวาคม 2566 จาก https://ddc. moph.go.th/o dpc7/news.php? news=11064&deptcode=
เตชินี ทิมเจริญ และชรินทร์ มั่งคั่ง. (2565). การจัดการเรียนรู้โดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือเพื่อส่งเสริมทักษะการทำงานเป็นทีมสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรมสำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น. วารสารการวิจัยกาสะลองคำ, 16(1), 97-107.
ธีร์ ภวังคนันท์. (2564). การบริหารการศึกษาในสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 ในยุคฐานวิถีชีวิตใหม่. วารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์, 2(2), 25-32.
ภริมา วินิธาสถิตกุล และชนินันท์ แย้มขวัญยืน. (2565). การเรียนรู้เชิงรุก: แนวทางการเรียนการสอนที่เป็นเลิศในศตวรรษที่ 21: มหาวิทยาลัยสวนดุสิต. วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย, 6(3), 922-933.
มัณฑนา ศรีพุทธา. (2564). ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพที่ส่งผลต่อทักษะของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21. จันทบุรี: มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.
โรจกร ลือมงคล. (2565). ความเครียดในการเรียนออนไลน์ ช่วงการระบาดของโรคโควิด - 19 :กรณีศึกษาในนักเรียนมัธยมศึกษาของโรงเรียนคอนสวรรค์ อำเภอคอนสวรรค์ จังหวัดชัยภูมิ. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9, 16(3), 772-783.
ศราวุฒิ ขันคำหมื่น และรัตนา กาญจนพันธุ์. (2566). คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้บริหารสถานศึกษาประเทศไทย 4.0 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาบุรีรัมย์. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์, 18(1), 57-71.
ศรีสุดา ไชยวิจารณ์ และคณะ. (2558). การจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ด้วยตนเองของนักศึกษาในมหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช. วารสารนาคบุตรปริทรรศน์, 10(1), 60-72.
ศุภวรรณ การุญญะวีร์. (2564). การเรียนการสอนสำหรับนักเรียนในสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด - 19. วารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์, 2(2), 48-55.
สมพร รุ่งเรืองกลกิจ และคณะ. (2562). การเรียนรู้ผ่านประสบการณ์: พื้นที่ปลอดภัยในการเรียนรู้. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 12(1), 89-110.
Chelong, A. (2022). Future studies and the development of student activities in Thai higher education post – COVID - 19 pandemic. Journal of Organizational Innovation & Culture, 12(2), 7-17.
Colaizzi, P. (1978). Psychological Research as the Phenomenologist views it. In Existential - Phenomenological Alternatives for Psychology (Valle R. & King M. eds). New York: Oxford University Press.
George, A. L. & Bennett, A. (2005). Case Studies and Theory Development in the Social Science. Cambridge, MA: MIT Press.
Reid, A. J. (1996). What we want: Qualitative research. Canadian Family Physician, 42(1), 387-400.
WHO. (2024). COVID - 19 dashboard “Number of COVID-19 cases reported. Retrieved December 8 , 2023, from https://data.who.int/dashboards/covid19/cases?n=c