การประยุกต์ใช้หลักภาวนา 4 ในการดำเนินชีวิตของชุมชนบ้านละโพ๊ะ ตำบลป่าไร่ อำเภอแม่ลาน จังหวัดปัตตานี
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาเกี่ยวกับแนวคิดการดำเนินชีวิตของชุมชนบ้านละโพ๊ะ ตำบลป่าไร่ อำเภอแม่ลาน จังหวัดปัตตานี 2) เพื่อศึกษาหลักภาวนา 4 ที่ปรากฏในคัมภีร์พระพุทธศาสนา เถรวาท และ 3) เพื่อประยุกต์ใช้หลักภาวนา 4 ในการดำเนินชีวิตของชุมชนบ้านละโพ๊ะ ตำบลป่าไร่ อำเภอแม่ลาน จังหวัดปัตตานี เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เน้นการศึกษาเอกสาร และการสัมภาษณ์เชิงลึก โดยใช้แบบสัมภาษณ์จากผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 20 รูป/คน และนำเสนอในรูปแบบการเขียนบรรยายเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า 1) แนวคิดการดำเนินชีวิตของชุมชนบ้านละโพ๊ะ ตำบลป่าไร่ อำเภอแม่ลาน จังหวัดปัตตานี พบว่า ชุมชนบ้านละโพ๊ะเป็นชุมชนที่มีหลายวัฒนธรรมเนื่องจากมีผู้ที่นับถือศาสนาพุทธและศาสนาอิสลามอาศัยอยู่ร่วมกัน โดยมีการดำเนินชีวิตด้วยการประกอบอาชีพที่หลากหลาย 2) หลักภาวนา 4 ที่ปรากฏในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท พบว่า ภาวนา 4 เป็นหลักพุทธธรรมที่สามารถช่วยให้สัตว์โลกได้พัฒนาเพื่อให้พบกับความสงบสุขได้ ด้วยการมีส่วนร่วมกับครอบครัว ชุมชน และสังคม การมีระเบียบ การมีวินัย การให้ความเคารพให้เกียรติ การทำตามกฎของสังคม การมีจิตใจที่มีความมั่นคงต่อคุณธรรม และการแก้ไขปัญหาโดยใช้ปัญญาชี้นำ ซึ่งในอนาคตย่อมพบแต่ความเจริญและความสงบสุข 3) การประยุกต์ใช้หลักภาวนา 4 ในการดำเนินชีวิตของชุมชนบ้านละโพ๊ะ ตำบลป่าไร่ อำเภอแม่ลาน จังหวัดปัตตานี พบว่า การประยุกต์ใช้หลักภาวนา 4 ในการดำเนินชีวิตทำให้เกิดการพัฒนา หรือมีพัฒนาการที่ดีขึ้น ทั้งในด้านครอบครัวและในด้านสังคม ทำให้ชุมชนเกิดการพัฒนาไปในทางที่ดีและสงบสุข
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
เฉลิมพล ตันสกุล. (2541). พฤติกรรมศาสตร์สาธารณสุข. กรุงเทพมหานคร: สามัญนิติบุคคลสหประชาพาณิชย์.
พยูน สุขรัตนสกุล. (6 พฤษภาคม 2565). การประยุกต์ใช้หลักภาวนา 4 ในการดำเนินชีวิตของชุมชนบ้านละโพ๊ ตำบลป่าไร่ อำเภอแม่ลาน จังหวัดปัตตานี. (พระอธิการคติ กตปุญฺโญ, ผู้สัมภาษณ์)
พระกองสี ญาณธโร (พรมโพธิ์). (2560). ศึกษาวิเคราะห์การดำเนินชีวิตตามหลักภาวนา 4 ในพระพุทธศาสนา. วารสาร มจร อุบลปริทรรศน์, 2(1), 88-101.
พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). (2539). จะพัฒนาคนกันอย่างไร. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิพุทธธรรม.
พระไพศาล วิสาโล. (2553). สุขแท้ด้วยปัญญา. กรุงเทพมหานคร: ขุมทองอุตสาหกรรมและการพิมพ์.
พระมหาพรสวรรค์ กิตฺติวโร (จันโปรด). (2554). ศึกษาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตามหลักกุศลกรรมบถ 10 ประการ. ใน วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระรณฤทธิ์ สุจิตโต. (4 พฤษภาคม 2565). การประยุกต์ใช้หลักภาวนา 4 ในการดำเนินชีวิตของชุมชนบ้านละโพ๊ ตำบลป่าไร่ อำเภอแม่ลาน จังหวัดปัตตานี. (พระอธิการคติ กตปุญฺโญ, ผู้สัมภาษณ์)
พระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ. (2550). ธรรมนูญชีวิต: ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 124 ตอนที่ 16 ก หน้า 1 (19 มีนาคม 2550).
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
วนิดา แพเพชรทอง และคณะ. (2563). รูปแบบการส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยตามหลักภาวนา 4 ของโรงเรียน ใน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 3. พุทธธรรม (ฉบับเดิม). (หน้า 371). กรุงเทพมหานคร: ดวงแก้ว.
วันเพ็ญ บุญประกอบ. (2564). จิตวิทยาพัฒนาการเด็กและวัยรุ่น ใน สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน. (หน้า 227). กรุงเทพมหานคร: โครงการสารานุกรมไทย.
สงวน สุทธิเลิศอรุณ และคณะ. (2522). จิตวิทยาสังคม. กรุงเทพมหานคร: ชัยศิริการพิมพ์.
สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป. อ. ปยุตฺโต). (2556). การพัฒนาที่ยั่งยืน. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิโกมลคีมทอง.