การพัฒนารูปแบบการจัดการตนเองเพื่อส่งเสริมการควบคุมระดับน้ำตาลสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาและศึกษาผลการใช้รูปแบบการจัดการตนเองเพื่อส่งเสริมการควบคุมระดับน้ำตาลสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้ 2) เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมการจัดการตนเอง และค่าเฉลี่ยระดับน้ำตาลในเลือด เป็นรูปแบบการวิจัยและพัฒนา กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ 1) กลุ่มพยาบาลผู้ปฏิบัติงานดูแลผู้ป่วยเบาหวาน จำนวน 30 คน 2) กลุ่มผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมน้ำตาลไม่ได้ จำนวน 30 คน คัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจงตามคุณสมบัติที่กำหนด เครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินการวิจัย ได้แก่ รูปแบบการจัดการตนเองเพื่อส่งเสริมการควบคุมระดับน้ำตาลสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น แบบประเมินความพึงพอใจ แบบสอบถามพฤติกรรมการจัดการตนเองของผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมน้ำตาลไม่ได้ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา และวิเคราะห์เชิงปริมาณด้วยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติ ผลการวิจัยพบว่าหลังการใช้รูปแบบการจัดการตนเองเพื่อส่งเสริมการควบคุมระดับน้ำตาลสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้ กลุ่มพยาบาลมีคะแนนเฉลี่ยความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ( = 4.63, S.D. = 0.48 ) กลุ่มผู้ป่วยเบาหวานมีค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมการจัดการตนเองสูงกว่าก่อนใช้รูปแบบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และมีคะแนนเฉลี่ยความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ( = 4.39, S.D. = 0.52 ) ค่าเฉลี่ยระดับน้ำตาลในเลือดลดลง กว่าก่อนใช้รูปแบบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ข้อเสนอแนะพยาบาลผู้ดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวาน สามารถนำรูปแบบการจัดการตนเองเพื่อส่งเสริมการควบคุมระดับน้ำตาลสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้นี้ไปประยุกต์ใช้เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้เหมาะสม ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวาน และสามารถนำไปใช้กับผู้ป่วยกลุ่มอื่น ๆ ได้
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กนกวรรณ ด้วงกลัด และคณะ. (2562). โปรแกรมการส่งเสริมการจัดการตนเองในผู้ป่วยเบาหวาน ชนิดที่ 2 ที่ควบคุมไม่ได้. วารสารวิจัยคุณภาพและการพยาบาล, 36(1), 66-83.
จันจิรา วิทยาบำรุง. (2563). ผลของโปรแกรมการจัดการตนเองต่อความรู้พฤติกรรมการจัดการตนเองและระดับน้ำตาลสะสมในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้. วารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพ, 43(4), 36-47.
ไชยา ท่าแดง. (2563). ผลของโปรแกรมการจัดการตนเองต่อการรับรู้สมรผลของโปรแกรมการจัดการตนเองต่อการรับรู้สมรรถนะแห่งตนพฤติกรรมการจัดการตนเองระดับน้ำตาลในเลือดและระดับน้ำตาลสะสมเกาะเม็ดเลือดแดงของผู้ที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2. วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์, 40(4)(ตุลาคม – ธันวาคม), 61-73.
ณัฐภัสสร เดิมขุนทด และคณะ. (2565). ผลของการให้ความรู้และสนับสนุนการจัดการตนเองของผู้ป่วยเบาหวานในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมไม่ดี . วชิรสารการพยาบาล, 29(1), 1-23.
ธัสมน นามวงษ์ และคณะ. (2562). เรื่องการพัฒนารูปแบบการส่งเสริมการจัดการตนเองผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้. วารสารพยาบาลสาธารณสุข, 29(3), 179-193.
ปราณี ศรีสงคราม และคณะ. (2563). ผลของโปรแกรมการจัดการตนเองต่อพฤติกรรมการจัดการตนเองและระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน, 3(1)(มกราคม – เมษายน), 84-94.
สหพันธ์เบาหวานนานาชาติ. (2564). สถิติโรคเบาหวาน. เรียกใช้เมื่อ 24 กรกฏาคม 2565 จาก https://www.pptvhd36.com/health/news/2298
สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค. (2563). ข้อมูลโรคไม่ติดต่อ กองโรคไม่ติดต่อกรมควบคุมโรคกระทรวงสาธารณสุข. เรียกใช้เมื่อ 24 กรกฏาคม 2565 จาก http://www.thaincd.com/2016/mission3
อัมพรทิพย์ อุตทาโท. (2564). การพัฒนารูปแบบการจัดการตนเองในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านดอกคำใต้ ตำบลแม่ตีบอำเภองาว จังหวัดลำปาง. เชียงรายวารสาร, 13 (1), 136-151.
Glasgow, R. et al. (2002). Self-management aspects of the improving chronic illness care breakthrough series: Implementation with diabetes and heart failure teams. Annals of Behaviral Medicine, 24(2), 80-87.
Glasgow, R. et al. (2006). Assessing delivery of five “As” for patient –centered counselling. Health promotion International, 21(3), 245-255.