การพัฒนาชุดการสอนโดยใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ วิชาการพัฒนาหลักสูตร สำหรับนักศึกษาหลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน วิทยาลัยพิชญบัณฑิต
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาชุดการสอนโดยใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) ศึกษาความก้าวหน้าทางการเรียนของนักศึกษาหลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต วิทยาลัยพิชญบัณฑิตที่เรียนด้วยชุดการสอนโดยใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ 3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาหลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต วิทยาลัยพิชญบัณฑิตระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยชุดการสอนโดยใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ และ 4) ศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาหลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต วิทยาลัยพิชญบัณฑิตที่มีต่อการเรียนด้วยชุดการสอนโดยใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ โดยใช้รูปแบบการศึกษากลุ่มเดียววัดสองครั้ง กลุ่มตัวอย่างคือ นักศึกษาจำนวน 33 คน ได้มาจากการสุ่มแบบเป็นกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ชุดการสอนโดยใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและแบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการวิจัยพบว่า 1) ชุดการสอนโดยใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือมีประสิทธิภาพ 82.13/85.10 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ 80/80 2) นักศึกษาที่เรียนด้วยชุดการสอนโดยใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ 10 เนื้อหา มีความก้าวหน้าทางการเรียน อยู่ในระดับปานกลาง 5 เนื้อหา และอยู่ในระดับสูง 5 เนื้อหา 3) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาหลังเรียนด้วยชุดการสอนโดยใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 4) ความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการเรียนด้วยชุดการสอนโดยใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ ทั้งโดยรวมและทุกเนื้อหาอยู่ในระดับมาก
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กรธวัฒน์ สกลคฤหเดช และคณะ. (2562). รูปแบบกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาของนักศึกษาบริหารธุรกิจ. จันทรเกษมสาร, 25(2), 1-14.
กาญจนา ยลสิริธัม. (2557). ผลการจัดการเรียนแบบใฝ่รู้ด้วยเทคนิคการเรียนแบบร่วมมือที่มีผลต่อพฤติกรรมการเรียนรู้ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และความพึงพอใจในการเรียนรายวิชาคอมพิวเตอร์ สำหรับวิทยาศาสตร์ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 6(6): 53-58.
คณะศึกษาศาสตร์. (2562). หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอนหลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2562. หนองบัวลำภู: วิทยาลัยพิชญบัณฑิต.
งานทะเบียนและประมวลผล. (2563). รายงานผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ปีการศึกษา 2563. หนองบัวลำภู: วิทยาลัยพิชญบัณฑิต.
งานทะเบียนและประมวลผล. (2564). ข้อมูลจำนวนนักศึกษา ปีการศึกษา 2564. หนองบัวลำภู: วิทยาลัยพิชญบัณฑิต.
ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2551). การสร้างชุดการสอน: ชุดการสอน 2. เรียกใช้เมื่อ 9 กุมภาพันธ์ 2564 จาก https: //www.Ino-sawake. Blogsport.com
ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2556). การทดสอบประสิทธิภาพสื่อหรือชุดการสอน. วารสารศิลปากร ศึกษาศาสตร์, 5(3), 7-20.
ธีรภัทร์ สุขสบาย. (2561). การพัฒนาชุดการสอนรายวิชาการสอนการเรียนภาษาไทยสำหรับนิสิตปริญญาตรีชั้นปีที่ 4 คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา. วารสารบัณฑิตวิทยาลัยพิชญทรรศน์, 13(2), 115-125.
ธีระเดช จิราธนทัต. (2562). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและพฤติกรรมการตั้งใจเรียนของนักศึกษาโดยใช้ชุดการสอนที่เน้นวิธีการสอนแบบให้ฝึกปฏิบัติวิชาหลักการศึกษาและปรัชญาการศึกษา. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 13(2), 161-172.
บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาสน์.
พิมพันธ์ เตชะคุปต์. (2544). การเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ. กรุงเทพมหานคร: เดอะมาสเตอร์กรุ๊ฟแมเนจเม้นท์.
โยธิน ป้อมปราการ. (2558). รายงานผลการพัฒนาชุดการสอนวิชาอุปกรณ์และการออกแบบสำหรับนักศึกษา คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. วารสารชุมชนวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา, 9(2), 79-88.
วรรณี แกมเกตุ. (2551). วิธีวิทยาการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุรางค์ โคว้ตระกูล. (2553). จิตวิทยาการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Arends, R. I. (1994). Learning to teach. 3rded. New York: McGraw - Hill.
Bloom. (1976). Human Characteristics and school learning. New York: McGraw Hill. P.
Creamers, B. P. M. (1997). Toward a Theory of Education Effectiveness. Organizational Effectiveness and Improvement in Education. Wilshire: Redwood Books.
Hake, R. R. (1998). Interactive-engagement vs. traditional methods: A six – thousand – student survey of mechanics test data for introductory physics course. Am.J.Phys, 66( 1): 64-74.
Hergenhahn & Olson. (1993). A taxonomy of the psychomotor domain: A guide for developing behavioral objectives. New York: Longman.
Johnson, D. W. et al. (1994). The Nuts and Bolts of Cooperative Learning. Mines: Interaction Book Company.